ยาสลายกรดยูริก (Uricase)

ยูริกเคส (uricase) เป็นเอนไซม์จำเพาะที่ทำหน้าที่ oxidize กรดยูริกให้กลายเป็น allantion ซึ่งสามารถละลายน้ำได้มากกว่ากรดยูริก 10 เท่า ทำให้สามารถขับออกทางไตได้ดีกว่า จากการที่พบว่ามนุษย์มีการขาดเอนไซม์นี้ จึงได้มีการพัฒนายาเพื่อใช้ในการรักษาโรคเกาต์ที่มีภาวะแทรกซ้อน และไม่สามารถรักษาด้วยยาต่าง ๆ ข้างต้นได้ ในระยะแรกได้มีการพัฒนายา rasburicase ที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (tumorlysis syndrome) จึงได้นำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเกาต์ แต่พบว่ายามี antigenicity ค่อนข้างสูง ทำให้เมื่อให้ยาหลาย ๆ ครั้งจะสูญเสียประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก จึงได้มีการพัฒนายาโดยทำเป็น polythyleneglycol conjugated เพื่อลดความเป็น antigenitic และมีระยะเวลาครึ่งชีวิตที่นานขึ้นถึง 2 สัปดาห์ เหมาะสำหรับการใช้ในทางคลินิก ซึ่งได้มีการศึกษาทางคลินิกที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของยา pegloticase และได้รับโดยองค์การอาหาร และยาของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ใช้ในการรักษาโรคเกาต์ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้นได้ผล พบว่ายามีประสิทธิภาพสูง ลดขนาดก้อนโทฟัสได้เร็ว แต่มีผลข้างเคียงได้บ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น เวียนศีรษะ และอาการปวดกล้ามเนื้อ และต้องระวังในการใช้ในผู้ป่วยที่ขาดเอนไซม์ G-6-PD