การทำ tourniquet test


การทำ tourniquet testจะช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก ในระยะเริ่มแรกได้เป็นอย่างดี ต้องทำทุกรายที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อแดงกิ่วโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่พอเหมาะ

  1. วัดความดันโลหิตตัวบนหรือ systolic
  2. วัดความดันโลหิตตัวล่างหรือ diastolic
  3. บีบลูกยางให้ความดันอยู่ระหว่าง systolic และ diastolic
  4. รัดค้างไว้ 5 นาที หลังจากนั้นคลายความดัน
  5. ควรทิ้งไว้ 1 นาทีจึงอ่านผลทดสอบ ถ้าพบจุดเลือดออกใต้ผิวหนังมากกว่า 10 จุด/ตารางนิ้ว ถือว่าให้ผลบวก

ให้บันทึกผลเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว การตรวจนี้สามารถให้ผลบวกตั้งแต่วันที่2-3 ของไข้

ความไวแลความจำเพาะของการตรวจ tourniquet test

  ความไว Sensitivity ความจำเพาะ Specificity
วันที่1 ของโรค
53.3
75.8
วันที่2 ของโรค
90.6
77.8
วันที่3 ของโรค
98.7
74.2

การตรวจ tourniquet test อาจจะให้ผลลบลวงได้แก่

  • ผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อกหรือกำลังจะช็อก
  • ผู้ป่วยอ้วนมาก ความดันที่วัดอาจจะไม่กดทับเส้นเลือด เนื่องจากชั้นไขมันหน่ฃามาก
  • ผู้ป่วยผอมมาก ความดันที่วัดไม่กระชับวงแขน

ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtourniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง การรับรู้อาการช็อกระยะเริ่มแรก วิธีการดูแลผู้ป่วย