การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกในระยะไข้สูง


การดูแลในระยะนี้ญาติอาจจะต้องดูแลเอง ถ้าแพทย์ยังไม่ได้รับตัวไว้ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยไข้เลือดออกร้อยละ 70จะมีไข้ 4-5 วัน ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะช็อกในวันที่ 5 ของไข้ แต่ก็มีบางคนร้อยละ 2-10จะมีไข้สูง2-3 วัน ดังนั้นวันที่ช็อกเร็วที่สุดคือ 3 วันนับจากวันที่มีไข้

  1. ให้ผู้ป่วยพักในที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี
  2. ระหว่างที่มีไข้สูงให้เช็ดตัวลดไข้ โดยใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบิดพอหมาดๆเช็ดบริเวณหน้า ลำตัว แขนขา ไข้และพักบริเวณรักแร้ แผ่นอก แผ่นหลัง ขาหนีบสลับกันไปมา ทำติดต่อกันอย่างน้อย 15 นาที ระหว่างเช็ดตัวหากมีอาการหนาวสั่นก็หยุดและห่มผ้าบางๆ ในเด็กเล็กเมื่อไข้สูงมากอาจจะเกิดอาการชักได้ โดยเฉพาะคนที่เคยมีประวัติชักตั้งแต่เด็ก
  3. ให้รับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้ ควรจะให้แต่ละครั้งไม่ควรน้อยกว่า 4 ชั่วโมง ห้ามให้ยาลดไข้อื่น เช่นแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิด ยาหัวสิงห์ ยาไอบรูเฤน เพราะอาจจะทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แอสไพรินยังทำให้เกิดโรค Reye syndrome ควรให้ยาลดไข้เฉพาะเมื่อเวลาไข้สูงเท่านั้นโดยให้ไข้ต่ำกว่า 39 องศา การให้ยาลดไข้มากไปอาจจะมีพิษต่อตับ การดื่มน้ำเกลือแร่อย่างเพียงพอก็ช่วยให้ไข้ต่ำลงได้บ้าง
  4. ห้ามฉีดยาเข้ากล้าม
  5. อาหารควรจะเป็นอาหารอ่อน ยอยง่าย ถ้าเบื่ออาหารหรือรับประทานได้น้อย แนะนำดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้าอาเจียนแนะนำให้ดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆ ควรงดรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสีดำหรือแดง
  6. ควรจะหลีกเลี่ยงยาอื่นโดยไม่จำเป็น
  • ถ้าอาเจียนมากอาจจะพิจารณาให้ยา domperidone แบ่งให้ 3 เวลาควรให้ช่วงสั้น
  • หากผู้ป่วยใช้ยากันชักก็ให้ใช้ต่อ
  • steroidไม่ควรให้
  • ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ
  1. จะต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ตรวจพบ และป้องกันภาวะช็อคได้ทันเวลา ช็อคมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับเวลาที่ไข้ลง ประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
  • มีอาการเลวลงเมื่อไข้ลง มีเลือดออก เช่นเลือดกำเดา อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
  • อาเจียนมากตลอดเวลา
  • ปวดท้องมาก
  • แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ต้องนั่ง
  • ผู้ป่วยซึมไม่ดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
  • กระหายน้ำตลอดเวลา
  • กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่นพูดไม่รู้เรื่อง
  • ตัวเย็น เหงื่ออก ตัวลาย
  • ไม่ปัสสาวะเป็นเวลานานเกิน 6 ชั่วโมง

ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรคแพทย์อาจจะนัดตรวจทุกวัน หรืออาจจะนัดตามความเหมาะสมจนกว่าไข้จะลง 24 ชั่วโมง หรือจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการปกติ

  1. เมื่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำ toumiquet test ทุกรายที่ไข้สูงน้อยกว่า 7 วัน และทำการตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด และนัดตรวจซ้ำเป็นระยะ เม็ดเลือดขาวต่ำลงพร้อมกับเกล็ดเลือดต่ำลง และมีความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้นแสดงว่ามีการรั่วของน้ำเหลืองออกจากกระแสเลือด และอาจจะช็อคได้
  2. โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลโดยเฉพาะในระยะแรกของการมีไข้ หากมีอาการดังกล่าวเบื้องต้นจึงรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก

การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพต้องประกอบไปด้วย บุคลากรที่ได้รับการอบรมเป็นอย่างดี การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย มียาและคลังโลหิตที่ทันสมัย การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มแรกจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่ออัตรารอดชีวิต ในการรักษาจะแบ่งคนไข้ออกเป็น 3 กลุ่ม

ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtourniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง วิธีการดูแลผู้ป่วย การรับรู้อาการช็อกระยะเริ่มแรก