บทบาทของดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก


การดูแลผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกในระยะเริ่มแรกที่อาการยังไม่หนักมาก ญาติจะต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และติดตามอาการที่สำคัญเพื่อที่จะสามารถวินิจฉัยโรคแทรกซ้อนได้ตั้งแต่เริ่มเป็น

อุปกรณ์หรือความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ดูแล

  1. ปรอทวัดไข้
  2. เครื่องวัดความดันโลหิต
  3. กระบอกสำหรับตรวงปัสสาวะ
  4. ผ้าสำหรับเช็ดตัวลดไข้
  5. น้ำผลไม้หรือน้ำซุปสำหรับผู้ป่วยที่รับประทานอาหารไม่ได้
  6. ความรู้เรื่องการวัดสัญญานชีพ
  7. ความรู้เรื่องการรั่วของพลาสม่า และอาการเริ่มต้อนของช็อก
  8. ตารางสำหรับติดตามการดำเนินของโรค

บทบาทของผู้ดูแลผู้ป่วย

  • เตรียมอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น
  • ให้การดูแลผู้ป่วยตามกล่าวข้างต้น
  • การบันทึกอาการของผู้ป่วย สัญญาณชีพ จำนวนปัสสาวะ ลงในแผนการติดตามผู้ป่วย
  • ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์
  • รายงานแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันทีหากเกิดอาการดังกล่าว
  • หากเกิดอาการต่อไปนี้ให้รายงานใน 1-8 ชั่วโมง

อาการที่ต้องรายงานทันที

  • มีการเปลี่ยนแปลงของการรู้สติ เช่นสับสน กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย พูดจาหยาบคาย
    ไม่รู้สึกตัว
  • มีอาการช็อก ได้แก่
    • ตัวเย็นชื้น เหงื่อออก เขียว สีผิวคล้ำลง ตัวลายๆ
    • ชีพจรเบา เร็ว หรือ > 130/นาทีในเด็กโต/ ผู้ใหญ่ หรือ > 140/ นาที ในเด็กทารก
    • Pulse pressure แคบ ≤ 20 มม.ปรอท
    • ความดันต่ำ (hypotension)
    • การตรวจระบบไหลเวียนของเส้นโลหิตฝอยที่บริเวณปลายมือปลายเท้าไม่ดี (การตรวจโดยใช้นิ้วกดบริเวณปลายนิ้วมือ / นิ้วเท้าแล้วปล่อยทันที ถ้าระบบไหลเวียนไม่ดี บริเวณปลายนิ้วมือ/นิ้วเท้าที่ถูกกดจะยังคงซีดขาวอยู่เป็นเวลานานกว่า 2 วินาที (capillary refill > 2 วินาที)
  • Oxygen saturation < 95%
  • มีเลือดออกมากประมาณ 10% ของ total blood volume (6-8 ซีซี/กก.)
  • ชัก
  • อาเจียน/ ปวดท้องมาก
  • IV fluid leak และไม่สามารถเปิดเส้นใหม่ได้
  • มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เช่น น้ำตาลต่ำ แคลเซี่ยมต่ำ โซเดียมต่ำ มี metabolic acidosis ฯลฯ.

อาการที่ต้องรายงานให้แพทย์ทราบ (ภายใน 1-8 ชม.)

  • อาเจียน/ ปวดท้อง/ รับประทานอาหารไม่ได้
  • มีภาวะขาดน้ำ เช่นริมฝีปากแห้ง ผิวหนังตั้ง (fair to poor skin turgor) อ่านเรื่องขาดน้ำ
  • หอบ
  • ปัสสาวะสีดำ หรือน้ำตาลเข้ม (hemoglobinuria)
  • ไม่ปัสสาวะภายใน 8 ชม. หรือปัสสาวะน้อยกว่า 0.5 ซีซี/กก./ชม.ในระยะวิกฤติ หรือปัสสาวะ > 1-2 ซีซี/กก./ชม. ในระยะวิกฤติและระยะฟื้นตัว
  • เกล็ดเลือด ≤ 100,000 เซล/ลบ.มม. หรือ Hct ≥ 45% หรือ Hct เพิ่มจากเดิม 10-20%
  • ผู้ป่วยมีอาการตาบวม ท้องอืดมาก
  • ปัญหาด้านจิตใจของผู้ป่วย/ ญาติ

อาการที่เป็นสัญญาณที่ดีของโรคที่ต้องรายงานเพื่อปรับแผนในการรักษา

  • รับประทานอาหารได้มาก
  • มีผื่นขึ้นที่ขา แขน
  • คันขา แขน หรือบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า

ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtourniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง วิธีการดูแลผู้ป่วย การรับรู้อาการช็อกระยะเริ่มแรก