การระบาดในประเทศไทย


ไข้เลือดออกเริ่มระบาดในเอเซียเมื่อปี 1950 และระบาดมาตลอดจนเป็นโรคประจำท้องถิ่น ทำให้เกิดการเสียชีวิต และการนอนโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก จากสถิติที่แสดง จะพบว่าอัตราการเสียชีวิตของไข้เลือดออกได้ลดลงเป็นอย่างมาก แต่กลับล้มเหลวในแง่ของการควบคุมการระบาดของโรค จะเห็นได้ว่าโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดทุก 2 ปี ทั้งนี้อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน

  • ภาคประชาชนขาดการตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันไข้เลือดออก ทำให้ไม่ร่วมมือการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ของยุง
  • ภาคชุมชนขาดความร่วมมือในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง แหล่งน้ำขังต่างในฤดูฝน ท่อระบายน้ำ ภาชนะที่ทำให้เกิดการขังน้ำ
  • ภาครัฐ ยังไม่มีกฎหมายที่จะควบคุมสิ่งแวดล้อมในชุมชน และครัวเรือน
  • ขาดการดำเนินงานอย่างจริงจังในการรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก

ตารางแสดงการป่วยด้วยเรื่องไข้เลือดออก ตามปี

ปี จำนวนประชากร ป่วย ตาย อัตราป่วย อัตราตาย อัตราป่วยตาย
2555 63,878,267 78,075 81 122.22 0.13 0.10
2554 63,878,267 68,362 62 107.02 0.10 0.09
2553 63,525,062 112,992 139 177.87 0.22 0.12
2552 63,457,439 56,651 50 89.27 0.08 0.09
2551 63,038,247 89,626 102 142.18 0.16 0.11
2550 62,933,515 65,581 95 104.21 0.15 0.14

จากตารางจะพบว่าไข้เลือดออกมีจำนวนการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและอัตราการเสียชีวิต

ตารางแสดงการป่วยด้วยเรื่องไข้เลือดออก ภาคกลาง

ภาคกลาง จำนวนประชากร ป่วย ตาย อัตราป่วย อัตราตาย อัตราป่วยตาย
2555 21,623,488 32,437 31 150.01 0.14 0.10
2554 21,623,488 35,710 23 165.14 0.11 0.06
2553 21,445,124 35,781 33 166.85 0.15 0.09
2552 21,386,001 24,634 19 115.19 0.09 0.08
2551 21,125,835 43,883 54 207.72 0.26 0.12
2550 21,043,273 27,217 45 129.34 0.21 0.17

ภาคกลางจังหวัดที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่สุดได้แก่ กรุงเทพ โดยมีอัตราป่วย 181.01 จังหวัดที่มีการติดเชื้อไข้เลือดออกสูงในภาคกลางได้แก่ กรุงเทพ ลพบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ระยอง ตราด

ตารางแสดงการป่วยด้วยเรื่องไข้เลือดออก ภาคใต้

ภาคใต้ จำนวนประชากร ป่วย ตาย อัตราป่วย อัตราตาย อัตราป่วยตาย
2555 8,893,050 13002 16 146.20 0.18 0.12
2554 8,893,050 5520 8 62.07 0.09 0.14
2553 8,813,880 29838 60 338.53 0.68 0.20
2552 8,777,720 9666 11 110.12 0.13 0.11
2551 8,654,831 12446 15 143.80 0.17 0.12
2550 8,627,641 11903 22 137.96 0.25 0.18

ภาคใต้พบไข้เลือดออกที่ กระบี ชุมพร พัทลุง สงขลา ปี2553พบไขเลือดออกมากที่นครศรีธรรมราช

ตารางแสดงการป่วยด้วยเรื่องไข้เลือดออก ภาคอิสาน

ภาคอิสาน จำนวนประชากร ป่วย ตาย อัตราป่วย อัตราตาย อัตราป่วยตาย
2555 21,573,318 19,893 19 92.21 0.09 0.10
2554 21,573,318 14,961 14 69.35 0.06 0.09
2553 21,495,825 26,242 30 122.08 0.14 0.11
2552 21,469,269 12,079 8 56.26 0.04 0.07
2551 21,385,647 12,699 8 59.38 0.04 0.06
2550 21,381,249 17,758 19 83.05 0.09 0.11

สำหรับอิสานเป็นภาคที่พบไข้เลือดออกไม่มาก พบที่สุรินทร์ แต่ดูแนวโนมว่ามีปริมาณผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

ตารางแสดงการป่วยด้วยเรื่องไข้เลือดออกเหนือ

ภาคเหนือ จำนวนประชากร ป่วย ตาย อัตราป่วย อัตราตาย อัตราป่วยตาย
2555 11,788,411 12,743 15 108.10 0.13 0.12
2554 11,788,411 12171 17 103.25 0.14 0.14
2553 11,770,233 21,131 16 179.53 0.14 0.08
2552 11,824,449 10,272 12 86.87 0.10 0.12
2551 11,871,934 20,598 25 173.50 0.21 0.12
2550 11,881,352 8,703 9 73.25 0.08 0.10

ภาคเหนือปี2553 พบว่ามีการติดเชื้อมากที่แพร่ พิษณุโลก ตาก

ท่านสามารตรวจสอบว่าจังหวัดของท่านมีไข้เลือดออกมากหรือน้อยได้ที่นี่ คลิก

หากท่านอยู่ในพื้นที่มีไข้เลือดออกมากท่านต้องป้องกันการเกิดไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtourniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง การรับรู้อาการช็อกระยะเริ่มแรก วิธีการดูแลผู้ป่วย