แรวทางการรักษาโรคเอดส์
สมัยก่อนผู้ที่ได้รับเชื้อHIV จะมีการดำเนินของโรคอย่างช้าทำลานระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และจะกลายเป็นโรคเอดส์ทุกรายภายใน10ปี
ปัจจุบันมีการพัฒนาแนวการรักษาโรคติดเชื้อHIV ทำให้เกิดการเปลี่ยนแนวความคิดที่ว่า รักษาไม่ได้เป็นโรคเรื้อรังที่สามารถควบคุมอาการ
การวินิจฉัยโรคเอดศ์
ประโยชน์ของการตรวจเลือดเพื่อทดสอบโรคติดเชื้อ HIV
- เพื่อค้นหาผู้ป่วยใหม่เพื่อที่จะได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น
- สำหรับผู้ที่ผลทดสอบแล้วไม่ติดเชื้อก็จะได้รับคำแนะนำป้องกันโรคติดเชื้อ HIV
- เป็นการติดตามการระบาด
- วางแผนป้องกันการระบาด
จุดประสงค์ในการตรวจวินิจฉัยคือ
- เพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอนสำหรับการวางแผนการรักษา
- ลดปัจจัยเสี่ยงหรือผลข้างเคียงจากการรักษา
- เพื่อคัดเลือกกลุ่มคนที่สมควรได้รับการรักษา
ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ที่ไปพบแพทย์มีกี่รูปแบบ
- ผู้ป่วยที่สัมผัสโรคแล้วไปพบแพทย์ทันที เช่นถูกเข็มตำ ร่วมเพศคนที่ไม่ทราบว่าติดเชื้อหรือไม่หรือร่วมเพศกับคนที่ติดเชื้อHIV
- ผู้ที่มีอาการติดเชื้อ HIVครั้งแรก primary HIV infectionโดยจะมีอาการไข้สูงปวดตามตัว อ่อนเพลีย เจ็บคอ น้ำหนักลด ครั้นเนื้อครั้นตัวคลื่นไส้ ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่นตามลำตัว
- ผู้ที่รู้ว่าติดเชื้อ HIVมานานแต่ยังไม่พร้อมที่จะปรึกษาแพทย์ และเปลี่ยนการตัดสินใจเพื่อรักษา
- ผู้ที่มาด้วยอาการของโรคเอดส์
ประโยชน์ที่ผู้ที่เชื้อ HIVไปพบแพทย์มีดังนี้
- ยืนยันการวินิจฉัยที่ผ่านมาว่าถูกต้อง
- ได้รับการสอนวิธีการที่จะได้รับเชื้อHIV และวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
- ค้นหาปัญหาที่ต้องรีบรักษา
- ค้นหาปัญหาเรื้อรังที่ต้องรักษา
- ค้นหาปัญหาที่ต้องส่งตัวไปรักษายังผู้เชี่ยวชาญ
- ประสภาวะว่าผู้ป่วยติดเชื้ออยู่ในระยะไหน
- ประเมินพยากรณ์ของโรค
- ตรวจร่างการเป็นพื้นฐานเพื่อไว้เปรียบเทียบกับอนาคต
- ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ในการรักษา
- ค้นหาภาวะที่ต้องให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อบางชนิด
- วางแผนการรักษาระยะยาว
ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ต้องเตรียมข้อมูลก่อนไปพบแพทย์อะไรบ้าง
ในการวางแผนการรักษาแพทย์ต้องทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยเพื่อที่จะทำการรักษาได้เหมาะสม
- โรคประจำตัวที่เป็นอยู่
- อาการของโรคที่เกิดใหม่
- วันที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ HIV ระยะเวลาที่เป็นโรค HIV ปกติผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV จะกลายเป็นโรคเอดส์ใช้เวลา9-11 ปี
- ปัจจุบันรับประทานยาอะไร
- ประวัติการป่วยเป็นวัณโรคโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตับอักเสบ การได้รับเลือดผู้ที่เคยเป็นวัณโรคหากไม่ได้รับยาป้องกัน อาจจะทำให้เป็นวัณโรคซ้ำ
- เคยได้รับการรักษาโรคเอดส์มาก่อนหรือไม่ ชื่อยาอะไร รักษาเมื่อไร นานแค่ไหนมีผลข้างเคียงอะไร
- ประวัติการฉีดวัคซีน เช่นป้องกันตับอักเสบ วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม
- ประวัติการแพ้ยา
- ประวัติพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่นการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน
- การทำงาน ฐานะ
- การตรวจเลือดทั่วไปอาจจะพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจางได้เล็กน้อย หากโลหิตจางมากต้องหาสาเหตุเพิ่มเติม นอกจากโลหิตจางยังพบว่าเม็ดเลือดขาวจะต่ำกว่าปกติส่วนใหญ่เม็ดเลือดขาวจะอยู่ระหว่าง 2,000 to 3,500 cells/mm3 และถ้าหากเม็ดเลือดขาวต่ำมากต้องตรวจหาว่ามีการติดเชื้อ มะเร็งหรือเกิดจากยา เกล็ดเลือดก็จะต่ำแต่มักจะไม่มีเลือดออกผิดปกติ
- การตรวจหาปริมาณเซลล์ CD4 T lymphocyte ก็มีประโยชน์ในการพยากรณ์โรค เนื่องจากเชื้อ HIVจะทำลายภูมิคุ้มกันโดยการทำลายเซลล์ CD4 T lymphocyte หากโรคเป็นมากเซลล์ CD4 T lymphocyte จะต่ำ หากรักษาได้ผล CD4 T lymphocyte จะสูงขึ้น
- การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัส viral load หรือที่เรียกว่า plasma HIV RNA เป็นการตรวจหาตัวเชื้อไม่ใช่ภูมิ การตรวจชนิดนี้จะให้ผลบวกก่อนที่ภูมิจะขึ้นการตรวจนี้จะมีประโยชน์อย่างมากดังนี้
- เป็นตัวบอกว่าโรคจะดำเนินไปเร็วแค่ไหน
- เป็นตัวที่จะบ่งชี้ว่าจะเริ่มต้นรักษาหรือเปลี่ยนแปลงการรักษา
- เป็นการตรวจการติดเชื้อ HIV ก่อนที่ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อHIV จะขึ้น
- การตรวจหาทั้งภูมิและเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีและ ซี เนื่องจากลักษณะการติดเชื้อคล้ายกัน การตรวจหาเชื้อและภูมิเพื่อจะได้แนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตัวเองและการติดเชื้อไปยังผู้อื่น ถ้าไม่มีภูมิหรือเชื้อก็แนะนำให้ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน
- การตรวจตับและไตก็เพื่อจะทราบข้อมูลพื้นฐานและเพื่อการปรับยาที่ใช้รักษา
- การทดสอบการติดเชื้อวัณโรคทางผิวหนังก็มีความจำเป็น ผู้ที่ให้ผลบวกตั้งแต่ 5 มม.ขึ้นไปควรจะได้รับการตรวจรังสีทรวงอก การตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรค และการต้องได้รับยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคได้แก่ยา INH วันละ 300 มิลิกรัมและวิตามิน บี 6เป็นเวลา 12 เดือน
ประเมินพยากรณ์ของโรคเอ็ดส์
การประเมินพยากรณ์หมายถึงการคาดการณ์ว่าโรคจะดำเนินเปลี่ยนแปลงเร็งแค่ไหน เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV หากไม่ได้รับการรักษาจะดำเนินเป็นโรคเรื้อรังโดยทั่วไปใช้เวลา 10 ปีตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งกลายเป็นโรคเอดส์ ตั้งแต่ได้รับเชื้อ HIV เชื้อก็จะเจริญแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา มีการกลายพันธ์และในที่สุดก็ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การที่เราต้องรู้ว่าขณะนี้ผู้ได้รับเชื้อเป็นโรคขั้นไหน และการคาดการณ์ว่าโรคจะดำเนินเร็วแค่ไหนก็เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจให้การรักษา และเพื่อที่จะได้ประเมินพยากรณ์ของโรค เครื่องบ่งชี้ว่าโรคจะดำเนินเร็วได้แก่
- อาการของโรค ผู้ที่มีอาการทั่วไปเช่น น้ำหนักลด อ่อนเพลียและมีอาการของโรคเอดส์เช่น เชื้อราในปาก เป็นงูสวัส ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือติดเชื้อฉวยโอกาส
- การที่ระดับเซลล์ CD4 ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นลดลงมากกว่า 100 cells/mm3 ใน 6 เดือน
การเจาะ CD4-T lymphocyte
ปกติเราจะมีเซลล์ CD4-T lymphocyte ประมาณ 500-13000 cells/mm3 ได้มีการใช้ปริมาณเซลล์CD4-T lymphocyte เป็นตัวบอกระยะของโรคแต่ต้องระวังเพราะปริมาณเซลล์ผันแปรตามเวลาที่เจาะ และการติดเชื้อรวมทั้งสุขภาพถ้าหากค่าสูงหรือต่ำไปต้องเจาะเลือดเพื่อยืนยันอีกครั้ง ปริมาณเซลล์ CD4-T lymphocyte ที่เจาะเป็นระยะจะมีประโยชน์มากกว่าการเจาะครั้งเดียวเพราะสามารถบอกการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเซลล์ได้ นอกจากจะใช้ปริมาณเซลล์แล้วยังใช้ %ของCD4-T lymphocyte แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ปริมาณเซลล์
ปัจจุบันเราใช้ปริมาณเซลล์ CD4-T lymphocyte และปริมาณเชื้อ viral load หรือ HIV RNA มาเป็นตัวบอกระยะและพยากรณ์ของโรค
- ผู้ที่มีปริมาณเซลล์ CD4-T lymphocyte มากว่า 500 cells/mm3จะมีโอกาสเสี่ยงต่ำ ในการเกิดโรคเอดส์และโรคแทรกซ้อนอื่นใน 3 ปี
- ผู้ที่มีปริมาณเซลล์ CD4-T lymphocyte 200-500 cells/mm3 จะมีความเสี่ยงปานกลาง
- ผู้ที่มีปริมาณเซลล์ CD4-T lymphocyte <200 cells/mm3 จะมีความเสี่ยงสูง
การเจาะตรวจ CD4-T lymphocyte ควรจะเจาะทุก 3-6 เดือนขึ้นกับสภาพของผู้ป่วย ผู้ที่เจาะได้เซลล์ปริมาณน้อยก็ต้องเจาะถี่ ส่วนผุ้ที่มีเซลล์มากก็เจาะทุก 6 เดือน
การตรวจหาปริมาณเชื้อ Viral Load (HIV RNA) Assays
เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มากที่สุดในการบอกระยะของโรคและการดำเนินของโรค สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV อาจจะมีปริมาณเชื้อ HIV RNA น้อยมากจนตรวจไม่พบหรืออาจจะมีมากเป็นล้าน โดยทั่วไปหากมีปริมาณเชื้อ 10000-50000 copies/ml จะบ่งบอกว่าโรคกำลังดำเนินโรคอย่างรวดเร็ว ถ้าหากกำลังรักษาด้วยยาแสดงว่ายานั้นรักษาไม่ได้ผล ปริมาณเชื้อน้อยกว่า 5000 copies/ml แสดงว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่ำและโรคจะยังไม่ลุกลามใน 5 ปี
HIV RNA สามารถตรวจพบก่อน แอนติเจนและก่อนภูมิคุ้มกัน(HIV antigen and HIV antibody)มักจะตรวจพบภายในสัปดาห์ การที่ตรวจไม่พบ HIV RNA ไม่ได้หมายความว่าหายเนื่องจากอาจจะมีปริมาณน้อยมาก และเชื้อ HIV ส่วนหนึ่งอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV อาจจะตรวจพบว่าค่า HIV RNA เพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อหวัด การเจาะเลือดตรวจควรจะเจาะเวลาเดียวกัน ใช้วิธีการตรวจเหมือนกัน
ข้อบ่งชี้ในการเจาะเลือดหาปริมาณเชื้อ Load (HIV RNA) Assays
ข้อบ่งชี้ในการเจาะเลือด | การประเมิน | จุดประสงค์ |
ผู้ป่วยที่สงสัยจะมีการติดเชื้อ HIV | ผู้ที่ตรวจไม่พบภูมิแต่สงสัยว่าจะติดเชื้อ HIV | เพื่อการวินิจฉัย |
ผู้ที่ติดเชื้อ HIV | เป็นค่าปริมาณไวรัส HIV ก่อนรักษา | เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจรักษา |
สำหรับผู้ที่ไม่ได้รักษาให้เจาะทุก 3-4 เดือน | เพื่อดูปริมาณการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเชื้อ | เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจรักษา |
2-8 สัปดาห์หลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัส | เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยา | เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ในการเปลี่ยนยารักษา |
3-4 เดือนหลังการรักษา | เพื่อประเมินผลดีสุดของยา | เพื่อเป็นข้อมูลในการรักษาต่อ |
ทุก 3-4 เดือนขณะรักษา | ดูประสิทธิภาพของยา | เพื่อเป็นข้อมูลในการรักษาต่อ |
เจาะเมื่อระดับ CD4 ลดลง | เพื่อดูปริมาณเชื้อ | เพื่อเป็นข้อมูลในการรักษาต่อ เปลี่ยนยา |
การดำเนินของโรค
การที่แพทย์จะบอกว่าผู้ที่ติดเชื้อ HIV จะมีการเปลี่ยนแปลงของโรคเร็วแค่ไหนแพทย์จะอาศัยประวัติ การตรวจร่างกายและผลเลือดตารางแสดงปริมาณเซลล์ CD4 และปริมาณเชื้อไวรัส viral load สัมพันธ์กับการดำเนินของโรค ระยะเวลาที่จะกลายเป็นโรคเอดส์
จำนวนเซลล์CD4+ T cells <350 Plasma viral load (copies/ml) | จำนวนผู้ป่วยที่จะกลายเป็น AIDS (%) (AIDS-defining complication) | ||||
bDNA | RT-PCR | n | 3 years | 6 years | 9 years |
<500 |
<1500 |
- § | - | - | - |
501-3000 | 1501-7000 | 30 | 0 | 18.8 | 30.6 |
3001-10,000 | 7,001-20,000 | 51 | 8.0 | 42.2 | 65.6 |
10,001-30,000 | 20,001-55,000 | 73 | 40.1 | 72.9 | 86.2 |
>30,000 | >55,000 | 174 | 72.9 | 92.7 | 95.6 |
จำนวนเซลล์CD4+ T cells 351-500 Plasma viral load (copies/ml) | จำนวนผู้ป่วยที่จะกลายเป็น AIDS (%) (AIDS-defining complication) | ||||
bDNA | RT-PCR | n | 3 years | 6 years | 9 years |
<500 | <1500 | - | - | - | - |
501-3000 | 1501-7000 | 47 | 4.4 | 22.1 | 46.9 |
3001-10,000 | 7001-20,000 | 105 | 5.9 | 39.8 | 60.7 |
10,001-30,000 | 20,001-55,000 | 121 | 15.1 | 57.2 | 78.6 |
>30,000 | >55,000 | 121 | 47.9 | 77.7 | 94.4 |
จำนวนเซลล์CD4+ T cells >500 Plasma viral load (copies/ml) | จำนวนผู้ป่วยที่จะกลายเป็น AIDS (%) (AIDS-defining complication) | ||||
bDNA | RT-PCR | n | 3 years | 6 years | 9 years |
<500 | <1500 | 110 | 1.0 | 5.0 | 10.7 |
501-3000 | 1501-7000 | 180 | 2.3 | 14.9 | 33.2 |
3001-10,000 | 7001-20,000 | 237 | 7.2 | 25.9 | 50.3 |
10,001-30,000 | 20,001-55,000 | 202 | 14.6 | 47.7 | 70.6 |
>30,000 | >55,000 | 141 | 32.6 | 66.8 | 76.3 |
ระยะของโรค
Stages of HIV Disease
มีการจัดระยะของโรคเพื่อวางแผนการรักษา
แต่การจัดมีได้หลายรูปแบบ
แนวทางที่แสดงเป็นแบบหนึ่ง
- Primary HIV infection: เริ่มตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HIV โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ เริ่มแรก CD4-Tจะลดลงหลังจากนั้นจะเพิ่มจนสู่ภาวะปกติ (500-1300 cells/mm3)อาจจะเกิอาการของการติดเชื้อ
- Early HIV infection:เริ่มตั้งแต่ตรวจพบภูมิต่อเชื้อ HIV จนกระทั่งการแบ่งตัวของเชื้อคงที่ ระดับ CD4-Tจำนวน CD4-T อยู่ในเกณฑ์ปกติ ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ
- Early-stage HIV disease:ตั้งแต่ระดับที่เชื้อไม่มีการแบ่งตัวจนกระทั่งระดับ CD4ลดต่ำกว่า 500 cells/mm3ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ
- Middle-stage HIV disease: ระดับCD4+ T-cell อยู่ระหว่าง 200 - 500 cells/mm3; ตั้งแต่ระยะ earlyจนกระทั่ง middleใช้เวลาประมาณ 10 ปี โดยมากไม่มีอาการแต่จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ราในปาก งูสวัส วัณโรค
- Advanced HIV disease: ระดับเซลล์ CD4+ T-cell ต่ำกว่า 200 cells/mm3 จัดเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา เชื้อ PCP
- Late-stage HIV disease: ระดับเซลล์ CD4+ T-cell ต่ำกว่า 50 cells/mm3; มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ MAC, CMV,เชื้อราในสมอง cryptococcal meningitis.
- Post-HAART stage: หมายถึงภาวะที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาต้านเอดส์ CD4-Tจะอยู่ระหว่าง 200-500 cells/mm3 แต่ระดับภูมิคุ้มกันยังอยู่ระดับต่ำ อาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาส