การวินิจฉัยโรคเอดส์

การวินิจฉัยโรคเอดส์จะต้องตรวจว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อโรคเอดส์หรือเปล่า และจะต้องตรวจดูว่าสภาพภูมิของร่างกายเป็นอย่างไร

การตรวจวินิจฉัยโรค HIV

การตรวจวินิจฉัยหาภูมิต่อเชื้อ HIV สามารถทำได้หลายวิธี การตรวจที่ให้ผลเร็วสามารถตรวจจากเลือด น้ำลาย และปัสสาวะ ก่อนการตรวจเลือดผู้ป่วยควรได้รับการปรึกษาถึงผลด ีและผลเสียของการตรวจรวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นจากการตรวจ เช่น ความรู้สึกกลัวหรือซึมเศร้า ปัญหาทางสังคมที่อาจจะเกิดขึ้น ปัญหาการจ้างงาน ปัญหาการประกันชีวิต ปัญหาการยอมรับของครอบครัว เป็นต้นแต่การตรวจเลือดหาภูมิต่อเชื้อ HIV มักจะปิดชื่อของผู้รับการตรวจ ทำให้ปัญหาต่างลดลง

การตรวจ HIV สามารถทำได้หลายวิธีโดยมีความแม่นยำ และราคาต่างๆกัน

  1. การครวจเลือดที่ให้ผลเร็วโดยใช้วิธี enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) วิธีนี้ให้ผลเร็วมีความไวและมีความแม่นยำในการตรวมีความแม่นยำ(sensitivity and specificity of) 99.9%.หากให้ผลบวกต้องยืนยันการวินิจฉัยโดยวิธี Western blot or immunofluorescence assa

การตรวจวิธีนี้มีข้อควรระวังคือหลังจากได้รับเชื้อจะมีช่วงหนึ่งที่ตรวจเลือดยังไม่พบภูมิต่อเชื้อ HIV เราเรียกช่วงนี้ว่า window period ถ้าหากคนผู้นั้นมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ร่วมเพศโดยที่ไม่ได้ป้องกัน เราต้องรออีก 6 เดือนเพื่อเจาะเลือดอีกครั้ง ยังมีอีกกรณีที่ต้องระวังคือเมื่อตรวจด้วยวิธี ELISA ให้ผลบวกแต่ผลการตรวจยืนยันโดยวิธี Western blot or immunofluorescence assay ให้ผลบวกหนึ่งแบนกรณีนี้อาจจะเกิดจาก window period, หรือติดเชื้อด้วยเชื้อ hiv อีกชนิดหนึ่ง เช่น HIV-2 หรืออาจจะเกิดจากโรคอื่น นอกจากนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ Influenza vaccine ก็อาจจะให้ผลบวกหลอก การตรวจเลือดหาภูมิหากผลเลือดบวกโดยที่ผู้ป่วยไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อต้องทดสอบซ้ำอีกครั้ง

  1. การตรวจปัสสาวะและเยื่อเมือกในปาก มีความแม่นยำและจำเพาะ 99.5 %หากให้ผลบวกต้องตรวจยืนยันโดยวิธี Western blot or immunofluorescence assa
  2. การตรวจเลือดด้วยตัวเอง วิธีการหยดเลือดไว้บนกระดาษแล้วส่งเข้าห้องปฏิบัติการ สามารถรายผลทางโทรศัพท์ มีจำหน่ายตามร้านขายยาแต่มีข้อที่ต้องระวังคือ
  • ไม่มีการให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ถ้าผลเลือดบวกผู้ป่วยควรจะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวผู้ป่วยบางคนอาจจะตัดสินใจทำร้ายตัวเอง ทั้งที่โรคนี้สามารถควบคุมโรคไม่ให้ลุกลามได้  ถ้าผลเลือดลบควรจะได้รับคำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อ HIV
  • การทดสอบนี้อาจจะให้ผลบวกหลอกในผู้ป่วยบางรายเพราะไม่ได้มีการคักกรองกลุ่มเสี่ยงเข้าตรวจ
  1. การตรวจหาตัวเชื้อ HIV โดยวิธี HIV RNA (viral load assay) จะตรวจกรณีที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเช่นถูกเข็มฉีดยาจากผู้ป่วยตำ หรือร่วมเพศกับผู้ที่ติดเชื้อโดยที่ไม่ได้ป้องกัน และตรวจไม่พบภูมิคุ้มกันในเลือด การตรวจนี้จะให้ผลบวกก่อนที่ภูมิจะขึ้น แต่ก็มีข้อผิดพลาดกรณีที่พบเชื้อปริมาณน้อย การตรวจเลือดวิธีนี้จะให้ผลบวก ก่อนที่ภูมิจะขึ้นเราเรียกการติดเชื้อชนิดนี้ว่า Primary HIV infection ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญในการให้ยาต้านไวรัส HIV

ประโยชน์ทีผู้ที่ได้รับการตรวจเลือดหาภูมิต่อเชื้อ HIV

ประโยชน์ที่ผู้ที่ได้รับการตรวจเลือดหาภูมิต่อเชื้อ HIV แบ่งได้เป็น

  1. ผลเลือดบวกคือได้รับการติดเชื้อ HIV
  • ผู้ป่วยจะได้รับการประเมิน การวางแผนการรักษา การรักษาด้วยยาต้านไวรัส HIV รวมทั้งการติดเชื้อฉวยโอกาส
  • มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น เช่น การออกกำลังกาย การงดบุหรี่ การอดแอลกอฮอร์ อาหาร 
  • เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อลดการติดเชื้อ หรือแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น เช่นการมีเพศสัมพันธ์ การฉีดยาเข้าเส้น
  • ลดความวิตกกังวล
  • ลดการติดเชื้อจากแม่ไปลูก
  1. ผลเลือดให้ผลลบคือไม่ได้รับการติดเชื้อ HIV 
  • ผู้ที่ได้รับการตรวจก็จะสบายใจไม่ต้องวิตกกังวล
  • ได้รับคำแนะนำการป้องกันการติดเชื้อ HIV 
  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์

ประโยชน์ในทางการแพทย์ที่จะได้รับสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ที่ไม่มีอาการ

อาการเนื่องจากการติดเชื้อ HIV มีได้หลายอย่างรูปแบบตั้งแต่ไม่มีอาการจนกระทั่งมีอาการอย่างอ่อนจนกระทั่งเป็นเอดส์เต็มขั้น และยาต้านไวรัสเอดส์ก็สามารถยับยังการเจริญเติบโตของเชื้อและป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส และลดอัตราการตายจากโรคแทรกซ้อน แต่การที่จะลดโรคแทรกซ้อนจะต้องตรวจวินิจฉัยให้เร็ว ผู้ป่วยทราบว่าตัวเองอยู่ในระยะไหนของโรค การค้นพบว่าติดเชื้อ HIV ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรักษาหลายอย่าง เช่น

  • เมื่อเวลล์ CD4 น้อยกว่า 200 cells/mm มีความจำเป็นต้องให้ยาป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส Pneumocystis carinii
  • เมื่อเวลล์ CD4 น้อยกว่า 50 cells/mm มีความจำเป็นต้องให้ยาป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส Mycobacterium avium complex (MAC)
  • ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV และมีผลบวกต่อเชื้อซิฟิลิส Syphilis จะต้องเจาะหลังตรวจน้ำไขสันหลังเพื่อดูว่าเชื้อซิฟิลิสเข้าสมองหรือไม่
  • ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV เมื่อทดสอบผิวหนังต่อเชื้อวัณโรคถ้าหากให้ผลมากกว่า 5 mm(คนปกติต้องมากกว่า 10 mm)จะต้องให้ยาป้องกันวัณโรค
  • ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ทุกคนควรได้วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมและไวรัสตับอักเสบ บี

ประโยชน์ในทางการแพทย์ที่จะได้รับสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ

ผู้ที่มีอาการมักจะมีภูมิคุ้มกันบางส่วนถูกทำลาย การรักษาโรคบางอย่างอาจจะต้องให้ยาปฏิชีวนะนานขึ้นเช่น

  • ผู้ที่เป็นปอดบวม ไซนัสอักเสบ ท้องร่วงจากไข้ไทฟอยด์ จะต้องให้ยาปฏิชีวนะนานกว่าปกติ
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองต้องให้ยากดภูมิน้อยกว่าคนปกติ

การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น

ก่อนการรักษาแพทย์จะตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นเป็นการตรวจเพื่อประเมินระยะของโรคโรคประจำตัว โรคแทรกซ้อน เพื่อวางแผนการรักษาซึ่งจะตรวจสิ่งต่อไปนี้

การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อ HIV
การตรวจหาภูมิ(HIV antibody test) ถ้าผู้ป่วยไม่เคยตรวจมาก่อน
การตรวจหาเซลล์(CD4+ T-cell count): เพื่อจัดความรุนแรงของโรคHIV disease. จำนวนเซลล์ CD4 และ T lymphocytes จะช่วยในการจัดความรุนแรงของโรค
การตรวจหาปริมาณเชื้อ(Serum HIV RNA (viral load):) เพื่อบอกพยากรณ์ของโรค, เพื่อประเมินว่าต้องรักษารีบด่วนหรือไม่
การตรวจทางโลหิต
การตรวจเลือดทั่วไป(Complete blood count, differential CBC) เป็นการตรวจทั่วไปและเป็นข้อมูลพื้นฐาน
เกล็ดเลือด(Platelets) เป็นการตรวจทั่วไปและเป็นข้อมูลพื้นฐาน
การตรวจทางเคมี
การตรวจน้ำตาล(Blood glucose) เป็นการตรวจทั่วไปและเป็นข้อมูลพื้นฐาน
การตรวจไตและเกลือแร่(Electrolytes/BUN/creatinine) เป็นการตรวจทั่วไป และเป็นข้อมูลพื้นฐานและทราบการทำงานของไต
การตรวจการทำงานของตับ กระดูก(ALT, AST, bilirubin:Albumin Alkaline phosphatase:) เป็นการตรวจตับและเป็นข้อมูลพื้นฐาน
การตรวจไขมัน(Triglycerides, cholesterol) เป็นการตรวจทั่วไปและเป็นข้อมูลพื้นฐาน
การตรวจปัสสาวะ(Urine analysis) เป็นการตรวจทั่วไปและเป็นข้อมูลพื้นฐาน
การตรวจทางชีวะวิทยา
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์(STD cultures, gastrointestinal pathogens) หากมีข้อบ่งชี้
การตรวจหามะเร็ง
การตรวจมะเร็งปากมดลูก(Pap smear) สำหรับผู้หญิง
การตรวจทางภูมิคุ้มกัน Toxoplasma IgG, Syphilis nontreponemal serology (VDRL or RPR), CMV IgG, hepatitis B surface antigen, hepatitis B, C IgG antibody
การตรวจทางรังสี(RADIOLOGY)
การตรวจ X-ray(Chest radiograph) เป็นการตรวจทั่วไปและเป็นข้อมูลพื้นฐาน
การตรวจสมรรถภาพปอด(PULMONARY FUNCTION STUDIES) ตรวจเมื่อมีข้อบ่งชี้
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(ELECTROCARDIAGRAM) ตรวจเมื่อมีข้อบ่งชี้
การตรวจอื่นๆ(SCREENS FOR SPECIFIC DISEASES)
Cytomegalovirus (CMV)-- CMV IgG: consider if CMV-negative blood is available, in population with < 75% prevalence of CMV. If CMV negative, and transfusion becomes necessary, use CMV-negative blood products.
ไวรัสตับอักเสบ บี(Hepatitis B -- antibodies, surface antigen) เพื่อให้วัคซีน การป้องกันการติดต่อ
ไวรัสตับอักเสบ ซีHepatitis C -- antibody: ป้องกันการติดต่อเป็นการตรวจทั่วไป และเป็นข้อมูลพื้นฐาน
ซิฟิลิส(Syphilis nontreponemal test) (RPR or VDRL): ถ้าหาก vdrl ให้ผลบวกต้องตรว FTA หรือ TPHA
โรคหนองใน(Neisseria gonorrhea) เพาะเชื้อถ้ามีข้อบ่งชี้
Chlamydia: เพาะเชื้อถ้ามีข้อบ่งชี้
Toxoplasmosis -- toxo IgG: If negative, a solitary CNS lesion is unlikely to be toxoplasmosis
วัณโรค(Tuberculosis) ถ้าการตรวจทางผิวหนังให้ผลบวกมากกว่า 5 มม.ต้อง x-ray )ปอด ตรวจเสมหะ เพาะเชื้อหาวัณโรค

เพิ่มเพื่อน