หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

โรคริดสีดวงตา Trachoma คืออะไร

เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาซึ่งอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนทำให้ตาบอดก่อนวัยได้ สาเหตุที่สำคัญคือเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Chlamydia trachomatis อาการเริ่มต้นจะไม่มาก อาจจะมีอาการระคายเคืองตา และมีหนองอกเล็กน้อย หากมีการติดเชื้อซ้ำอาจจะทำให้เกิดตาบอด

โรคริดสีดวงตานี้ติดต่ออย่างไร

โรคริดสีดวงตานี้จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัส วิธีติดต่อที่สำคัญคือ

โรคริดสีดวงตามีอาการอย่างไร

อาการเริ่มแรกจะมีการติดเชื้อที่เปลือกตาทำให้เกิดตาแดง น้ำตาไหลมีขี้ตา บางคนจะรู้สึกเหมือนมีผงในตา หากพลิกดูหนังตาจะพบเป็นตุ่มเล็กๆที่เรียกว่า Follicle การติดเชื้อเพียงครั้งเดียวจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อดวงตา หากมีการติดเชื้อซ้ำจะทำให้เกิดการอักเสบของเปลือกตา ทำให้เกิดพังผืดดึงรั้งเกิดแผลเป็นบริเวณขอบเปลือกตาเป็นต้นเหตุให้ขนตาเกเข้า (Trichiasis) ขนตาชี้ลงจนครูดบาดกระจกตา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บตา เคืองตามากขึ้น ตามด้วยมีขี้ตามากขึ้น ขนตาจะทิ่มแทงกระจกตาทำให้เกิดแผลที่กระจกตา keratitis นานเข้าการอักเสบจะลามเข้าถึงในตาทำให้เกิดฝ้าขาว

หนังตาอักเสบ

หนังตาบนอักเสบเห็นเป็นตุ่มๆ

หนังตาบนเกิดผังผืด

หนังตาบนจะเกิดพังผืด

ผังผืดที่ตาดำ

เริ่มมีพังผืดที่ตาดำจะเห็นเป็นฝ้าขาว

นอกจากนั้นการอักเสบจะทำให้ท่อน้ำตาอุดตันก็จะเกิดตาแห้ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตา ทำให้ตามองไม่เห็น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคริดสีดวงตา

การวินิจฉัยโรคริดสีดวงตา

การวินิจฉัยจะอาศัยประวัติและการตรวจพบตุ่มที่ใต้หนังตาบน มีพังผืดที่หนังตา กระจกตาเป็นแผล ขึ้นกับระยะของโรค หากสงสัยก็นำขี้ตาไปย้อมและเพาะเชื้อก็จะพบเชื้อที่เป็นสาเหตุ

การรักษาโรคริดสีดวงตา

การผ่าตัด

เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนทิศทางของขนตามิให้ทิ่มแทงกระจกตา

ยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะทั้งชนิดหยอดตา และยารับประทาน เป็นยาในกลุ่ม Tetracycline โดยเป็นยารับประทาน 1.5–2 กรัมต่อวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และเป็นยาขี้ผึ้งป้ายตาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน หรือใช้ยา Erythromycin หากผู้ป่วยแพ้ยา Tetracycline ปัจจุบันมีแพทย์บางท่านแนะนำใช้ Agithomycine 2 กรัมเพียงครั้งเดียวก็ได้

การล้างหน้า

การล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

การจัดการกับสิ่งแวดล้อม

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน