หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

โรคต้อหิน glaucoma

โรคต้อหิน glaucoma หมายถึงโรคที่มีการเสื่อมของประสาทตาทำให้มีปัญหาทางสายตาและอาจจะทำให้ตาบอด สาเหตุเกิดจากความดันในตาสูง หรือบางคนความดันตาก็ไม่ได้สูง

การทำงานของตา

การที่จะเข้าใจโรคต้อหินจะต้องเข้าใจถึงโครงสร้างของตา ตาของเรามีลักษณะกลม มีเปลือกตาขาว (sclera ) หุ้ม

อยู่ภายนอก ส่วนหน้าของลูกตาซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็น จะมีเยื่อบางๆหุ้มอยู่เรียกเยื่อนี้ว่า conjunctiva ถัดจากนั้นเป็นชั้นที่เรียกว่า กระจกตา (cornea) เป็นทางให้แสงผ่านชั้นนี้หากขุ่นมัวเราสามารถผ่าตัดเปลี่ยนได้ ถัดจากนั้นก็จะเป็นรูม่านตา pupil ซึ่งจะปรับปริมาณแสงที่ผ่านถ้าสว่างมากรูม่านตาก็จะเล็ก หากมือรูม่านตาก็จะกว้างเพื่อให้แสงผ่านเข้าตามากขึ้น แสงจะผ่านไปเลนส์ lens และไปที่จอรับภาพ retina ในตาจะมีน้ำเลี้ยงเรียก aqueous humor ซึ่งเหล่าเลี้ยงเลนส์ กระจกตา และจะถูกดูดซึมตามท่อข้าง iris muscle ทำให้มีความสมดุลของน้ำในตา

น้ำตาและน้ำเลี้ยงตาเหมือนกันหรือไม่

น้ำตาเป็นน้ำที่สร้างจากต่อมน้ำตาและหล่อเลี้ยงภายนอก ส่วนน้ำเลี้ยงตาจะอยู่ในลูกตาไม่ออกสู่ภายนอก น้ำเลี้ยงตาจะหล่อเลี้ยง กระจกตา เลนส์และม่านตา

เส้นประสาทตาถูกทำลายอย่างไรในโรคต้อหิน open-angle glaucoma เนื่องจากน้ำในตาจะมีการไหลอย่างต่อเนื่อง หากมีปัญหาเรื่องการไหลเวียนอุดตันหรือลดลงก็จะทำให้ความดันตาเพิ่มขึ้น ต้อหินเมื่อความดันตาสูงต่อเนื่องจะทำให้มีการเสื่อมของประสาทตา (optic nerve) และสูญเสียการมองเห็นการสูญเสียการมองเห็นจะเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา ส่วนตรงกลางภาพยังเห็นชัด หากไม่ได้รักษาการมองเห็นจะจะได้ภาพเล็กลง การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆเป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว โดยมากมักจะเป็นสองข้าง อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน

 

การมองเห็นของคนปกติ

การมองเห็นของคนเป็นต้อหิน

ความดันตาสูงจะเป็นต้อหินไหม

คนที่ความดันตาสูงไม่จำเป็นต้องเป็นต้อหิน เนื่องจากยังไม่มีปัญหาเรื่องการเสื่อมของเส้นประสาทตา และการมองเห็น

ความดันตาปกติเป็นต้อหินได้ไหม

เป็นต้อหินโดยที่ความดันไม่สูง เป็นชนิดหนึ่งของต้อหิน

การดำเนินของต้อหิน

ท่านควรจะเตรียมคำถามเมื่อไปพบแพทย์

ต้อหิน อาการและชนิดต้อหิน การวินิจฉัย การรักษา