สาเหตุของมะเร็งรังไข่

สาเหตุของโรคมะเร็งรังไข่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งรังไข่ แต่พบว่ามีความถี่ของการเกิดมะเร็งในคนที่โสดมากกว่าคนที่เคยมีบุตร และมักจะเกิดตอนวัยทอง คนที่มีปัจจัยเสี่ยงมากมิได้หมายความเขาจะเป็นมะเร็ง แต่เขามีโอกาศเกิดมะเร็งมากกว่าคนอื่ น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ

  1. พันธูกรรมมีผลต่อการเกิดมะเร็งรังไข่หรือไม่

ท่านที่มีญาติเป็นมะเร็งก็กังวลว่าท่านจะมีพันธุกรรมของมะเร็งด้วยหรือไม่ ให้ท่านไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพันธุกรรมเพื่อซักประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งในครอบครัว หากพบว่าท่านมีความเสี่ยงแพทย์จะแนะนำท่านตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ความเสี่ยงทางพันธุกรรมได้แก่

  • ญาติสายตรงของท่าน(แม่ หรือพี่สาว หรือน้องสาว)เป็นมะเร็งรังไข่ 2 คน
  • ญาติสายตรงคนหนึ่งเป็นมะเร็งรังไข่ อีกคนเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งเกิดก่อนอายุ50 ปี
  • ญาติสายตรงเป็นมะเร็งรังไข่ และประวัติคนในครอบครัว 2 คนเป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 60 ปี
  • คนในครอบครัว 3 คนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่(หนึ่งคนเป็นก่อนอายุ 50) และมีคนในครอบครัวคนหนึ่งเป็นมะเร็งรังไข่
  1. อายุ อายุมากจะเสี่ยงต่อการเกิดมากโดยเฉพาะอายุมากกว่า 50 ปี
  2. ผู้หญิงที่มีประจำเดือนอายุน้อกว่า 12 ปี และไม่ได้ตั้งครรภ์ และเกิดหมดประจำเดือนหลังอายุ 50 ปี จะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
  3. การตั้งครรภ์ พบว่าผู้ที่ไม่เคยมีบุตรจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูงกว่าคนที่เคยมีบุตร
  4. ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่
  5. ยากระตุ้นให้ไข่ตกก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิโรค
  6. หลายการศึกษาพบว่าการใช้แป้งบริเวณอวัยวะเพศเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ แต่แป้งสมัยก่อนอาจจะมีสารปนเปื้อน
  7. การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทองก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่

หากท่านมีประวัติเหมือนตัวอย่างข้างต้นให้ปรึกษาแพทย์ของท่านเพื่อคัดกรองโรค หลายท่านที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดมะเร็งรังไข่อยากจะตัดรังไข่ทิ้ง ท่านต้องปรึกษาแพทย์พิจารณาถึงผลดีและผลเสียของการผ่าตัด



 

เราจะลดควางเสียงของการเกิดมะเร็งรังไข่ได้หรือไม่

มีวิธีการที่จะลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งรังไข่แต่ก็ได้ผลมากบ้างน้อยบ้าง

  • การรับประทานยาคุมกำเนิดโดยเฉพาะผู้ที่รับประทานยาคุมมานาน
  • การทำหมันหลังคลอดหรือการตัดมดลูกจะลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่
  • การตั้งครรภ์โดยเฉพาะขณะตั้งครรภอายุน้อยกว่า 30 ปีและเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองเป็นเวลานาน
  • การรับประทานอาหารมันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ จากการศึกษาของสมาคมโรคหัวใจพบว่าคนอ้วนจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่มากกว่าคนผอมร้อยละ50
  • การผ่าตัดเอารังไข่ออกเพื่อป้องกันจะกระทำในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อมะเร็งรังไข่แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด

การค้นหามะเร็งแรกเริ่ม

โรคมะเร็งทุกชนิดจะเหมือนกันยิ่งพบเร็วการรักษาก็จะได้ผลดี มะเร็งรังไข่ก็เช่นกัน แต่มะเร็งรังไข่มักจะวินิจฉัยได้ช้าเนื่องอยู่ภายในช่องท้อง และมักจะไม่มีอาการในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยร้อยละ25จะวินิฉัยมะเร็งรังไข่ได้ก่อนที่มะเร็งจะแพร่กระจาย การค้นพบแรกเริ่มจะเพิ่มโอกาศในการรักษาให้หายขาด

วิธีการค้นหามะเร็งแรกเริ่มได้แก่

  • การตรวจภายในประจำปี การตรวจภายในจะค้นหามะเร็งปากมดลูก แต่ไม่สามารถตรวจมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกได้ มักจะพบมะเร็งรังไข่ในระยะท้านของโรค แต่การตรวจภายในก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องตรวจเป็นประจำมีคำแนะนำให้เริ่มตรวจตั้งแต่อายุมากกว่า 18 ปี
  • พบแพทย์เมื่อมีอาการ อาการที่ควรจะพบแพทย์โดยเร็วได้แก่ ท้องบวม แน่นท้อง เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ แน่นท้องน้อย ปวดหลัง ปวดขา ปวดท้อง แน่ท้องโดยที่หาสาเหตุไม่ได้
  • การเจาะเลือดหรือการตรวจพิเศษ การตรวจ ultrasound ผ่านทางช่องคลอดจะช่วยพบก้อนในช่องเชิงกรานได้เร็วขึ้น การเจาะเลือดหา CA-125 ก็ยังไม่สามรถบอกมะเร็งในระยแรกเริ่มได้จึงไม่แนะนำการตรวจพิเศษทั้งสองแก่คนทั่วไป
    • เจาะเลือดตรวจหา CA 125CA 125 ซึ่งหากเป็นมะเร็งค่านี้จะสูง แต่ก็พบว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งค่านี้สูงไม่มาก
    • การทำ ultrasound ผ่านทางช่องคลอด ซึ่งจะใช้เครื่อง ultrasound สอดเข้าไปในช่องคลอดซึ่งจะปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับวัตถุ คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับเครื่องจะแปลงคลื่นเสียงเป็นสัญญาณภาพ ระหว่างการตรวจไม่มีความเจ็บปว

เท่าที่มีรายงานพบว่าการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งรังไข่ในระยะแรกเริ่มยังให้ผลไม่ดี หากท่านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งรังไข่กรุณาแจ้งต่อแพทย์ที่ดูแลตัวท่าน

มะเร็งรังไข่ | สาเหตุมะเร็ง | อาการมะเร็งรังไข่ | การรักษามะเร็งรังไข่