การรักษาโรคริดสีดวงทวาร

การรักษาโรคริดสีดวงแบ่งออกเป็น

การรักษาทั่วไป

การรักษาทั่วไปจะเป็นการรักษาหลักใช้ได้กับริดสีดวงทุกระดับ และเสริมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น วัตถุประสงค์คือให้การขับถ่ายอุจาระสะดวก ไม่ต้องเบ่งรุนแรง และระงับอาการที่ก่อให้เกิดความรำคาญมีวิธีการดังนี้

  • เพิ่มอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น  ผักและผลไม้และยาเพิ่มเส้นใยเมื่อรับประทานผักและผลไม้พอ และดื่มน้ำพออุจาระที่ออกมาจะมีใย นุ่ม และลอยน้ำ
  • ทำให้อุจจาระนิ่มโดย ดื่มน้ำให้มากขึ้น และอาจให้ยาระบายร่วมด้วยถ้ามีอาการท้องผูก
  • รักษาอาการและสาเหตุของท้องเสียถ้าม
  • ยาระงับอาการ    ยาเหล่านี้ควรใช้เมื่อมีอาการและไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ยาที่ใช้ได้แก่ ยาสอดทวารหนัก ยาขี้ผึ้งทาทวารหนัก  ยารับประทาน

การรักษาเฉพาะเจาะจง 

การรักษาเฉพาะเจาะจงมีหลายวิธี  การเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับระยะของโรค  อุปกรณ์ที่มีอยู่  ความชำนาญของแพทย์ และสถานที่ที่ทำการรักษา

 1การฉีดยา

การฉีดยารักษาริดสีดวง

วัตถุประสงค์

เพื่อทำให้หัวริดสีดวงยุบลง  โดยฉีดยาเข้าไปใน ชั้นใต้เยื่อบุ (submucosa)  ในระดับที่อยู่เหนือ dentate line   ทำให้เกิดพังผืดรัดเส้นเลือด บริเวณริดสีดวง และรั้งเนื้อเยื่อริดสีดวงไม่ให้เลื่อนตัวลงมา 

  ข้อบ่งชี้ 

  1. มีเลือดออก
  2. หัวริดสีดวงที่ย้อยไม่มาก  ยาที่ใช้ฉีด  (sclerosing agents)  5 % phenol   in  vegetable  oil  1%  polidocanol in ethanol  ตำแหน่งที่ฉีด   บริเวณริดสีดวงทวารแต่ต้องเหนือ dentate line เสมอ  จำนวนหัวที่ฉีด ไม่เกิน  3  ตำแหน่ง ต่อครั้ง  จำนวนยาที่ใช้ ตำแหน่งละประมาณ 2-3 มล.  การฉีดซ้ำ ทุก 2-4 สัปดาห์  จนอาการทุเลา 

การดูแลรักษาหลังฉีดยา 

  ให้การรักษาระดับทั่วไป   ผลข้างเคียง  อาจทำให้เวียนศรีษะ และระคายเคืองทวารหนักเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ได้ 

2การใช้ยางรัด  (rubber band ligation) 

วัตถุประสงค์  

เพื่อรัดให้หัวริดสีดวงหลุดออก  และพังผืดที่เกิดจากแผลจะรั้งริดสีดวงที่เหลือให้หดกลับเข้าไปในทวารหนัก  ข้อบ่งชี้  หัวริดสีดวงที่ย้อย  และมี ขั้วขนาดเหมาะที่จะรัดได้

ข้อพึงระวัง

  1. ไม่ควรทำในรายที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ
  2. ไม่ควรทำในรายที่ ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ


เครื่องมือ

  1. คีมจับริดสีดวงทวาร
  2. เครื่องรัดริดสีดวงทวาร (rubber band ligator)
  3. ยางรัด
  4. proctoscope (anoscope) 

ตำแหน่ง

รัดที่ขั้วริดสีดวง ซึ่งควรจะอยู่เหนือ dentate line ประมาณ 1 ซม.  จำนวน ครั้งละตำแหน่ง  หรือมากกว่า แต่ไม่ควรเกิน 3 ตำแหน่ง  การรัดเพิ่มเติม ทำได้ทุก 3-4 สัปดาห์

  การดูแลรักษาหลังการรัดยาง 

  1. ถ้ามีอาการเจ็บมากควรจะต้องเอายาง ที่รัดออกโดยทันที
  2. ให้การรักษาระดับทั่วไป (3.1) ร่วมด้วย 

ผลข้างเคียง

  1. มีอาการระคายเคืองหรือปวดถ่วงในทวารหนักหลังการรัด  อาการไม่รุนแรงมากนักและกินเวลานานประมาณ 24-48 ชั่วโมง  รักษาโดยให้ยาระงับปวด
  2. มีเลือดออกเมื่อหัวริดสีดวงหลุด เกิดขึ้น 3-7 วัน หลังการรัด  มักออกไม่มากและมักจะหยุดเองได้
  3. หัวริดสีดวงอาจอักเสบ  บวม เจ็บ  และย้อยออกมาได
  4. อาการข้างเคียงที่พบได้น้อยแต่รุนแรงมาก ได้แก่ ภาวะติดเชื้อบริเวณทวารหนัก ผู้ป่วย จะมีอาการปวดบริเวณทวารหนัก ไข้สูง และปัสสาวะไม่ออก ภาวะเช่นนี้อาจจะรุนแรงมากจนผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้ ควรรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

  3การจี้ริดสีดวงทวารด้วยอินฟราเรด (infrared photocoagulation)

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ริดสีดวงทวารยุบลง และหยุดเลือดออก  ข้อบ่งชี้       ริดสีดวงในระยะที่หนึ่งและสอง  เครื่องมือ   infrared photocoagulator

ตำแหน่ง

จี้เหนือ dentate line ประมาณ 1 ซม. โดยจี้ประมาณ  3 จุด ต่อ 1 หัวริดสีดวงทวาร  และสามารถจี้ได้ทั้ง 3 หัว ในการรักษาหนึ่งครั้ง  รักษาเพิ่มเติม   ทุก 3-4 สัปดาห์ 

ผลข้างเคียง   

อาจเกิดเลือดออกจากแผลได้หลังการจี้ 1-2 สัปดาห์ แต่มักจะไม่มากและหยุดเองได้

4การจี้ริดสีดวงทวารด้วย  bipolar coagulation 

วัตถุประสงค์  

เพื่อให้ริดสีดวงทวารยุบลง และหยุดเลือดออก 

ข้อบ่งชี้   

ริดสีดวงทวารระยะที่หนึ่งและสอง 

เครื่องมือ    

bipolar forceps และเครื่องจี้ไฟฟ้า 

ตำแหน่ง    จี้เหนือ dentate line  บริเวณขั้วริดสีดวง อาจจี้ได้ถึง 3 หัว ในการรักษาหนึ่งครั้ง  การรักษาเพิ่มเติม   ทุก  3-4 สัปดาห์ 

ผลข้างเคียง 

อาจมีเลือดออกเล็กน้อยในสัปดาห์ที่ 1 และ 2 

5การผ่าตัดริดสีดวง

โรคริดสีดวง | การดูแลตัวเอง | การรักษาโรคริดสีดวง | การรักษาโรคริดสีดวงที่มีโรคแทรกซ้อน