หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

การตรวจทางเลือดผู้ป่วยเอสแอลอี SLE

 

การตรวจทั่วไป

 

การตรวจทางน้ำเหลือง (serological test)

Antinuclear antibody (ANA)

สามารถพบได้บ่อยในโรคแพ้ภูมิตนเองในโรคทางรูมาติก เช่น โรคSLE โรคหนังแข็ง โรคกล้ามเนื้ออักเสบ กลุ่มอาการตาแห้งปากแห้ง ฯลฯ ในโรค SLE จะตรวจพบ ANA ให้ผลบวกร้อยละ 95-99
อย่างไรก็ตามการตรวจ ANA ให้ผลบวกแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถใช้วินิจฉัยโรคSLEได้ ANA ให้ผลเป็นเพียง 1 ข้อใน 11 ข้อบ่งชี้การวินิจฉัยโรค นอกจากโรคทางรูมาติกแล้ว ANA สามารถให้ผลบวกในคนปกติ โดยเฉพาะคนปกติที่เป็นญาติผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตนเอง คนสูงอายุ และในโรคอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่โรคทางรูมาติก ดังนั้น การส่งตรวจ ANA เป็นการตรวจคัดกรอง โดยควรพิจารณาส่งตรวจเมื่อผู้ป่วยมีอาการจากประวัติ อาการแสดงจากการตรวจร่างกาย และผลการตรวจห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ที่ทำให้สงสัยโรคSLE

การตรวจ ANA ในปัจจุบันนิยมใช้การตรวจด้วยวิธี indirect immunoflouorescence (IFM)
การแปลผลการตรวจ ANA ที่ให้ผลบวกนั้นควรพิจารณารูปแบบการติดสี flouorescence ที่นิวเคลียสของเซลล์ ซึ่งจะมีรูปแบบต่าง ๆ ได้ 5 แบบ ได้แก่ homogenous, speckle, peripheral, nucleolar และ anticentromere ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีความสัมพันธ์ต่อโรคแตกต่างกัน และสัมพันธ์กับแอนติบอดีที่มีความเฉพาะเจาะจงที่แตกต่างกัน ในโรคSLEมักจะพบเป็นรูปแบบ homogenous, speckle และ peripheral นอกจากนี้ควรพิจารณาผลร่วมกับ ระดับ ANA (ANA titer) ดังที่กล่าวแล้วว่าการตรวจ ANA สามารถให้ผลบวกได้ในคนที่ไม่เป็นโรคSLE โดยการศึกษาในคนปกติอายุ 20 ถึง 60 ปีด้วย IFM โดย HEp-2 cells พบ ANA titer 1:40 ได้ร้อยละ 31.7, 1:80 ได้ร้อยละ 13.3, 1:160 ได้ร้อยละ 5 และ 1:320 ได้ร้อยละ 3.3 ดังนั้นในทางปฏิบัติจะถือค่า ANA titer > 1:60 เป็นค่า ANA titer ที่ให้ผลบวกที่มีนัยสำคัญทางคลินิก เมื่อ ANA ให้ผลบวกจะต้องตรวจหา

หากผล ANA test ให้ผลลบ แต่อาการเหมือนโรค SLE ก็สามารถส่งตรวจเพิ่มเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

แอนติบอดีเฉพาะเจาะจงต่าง ๆ

เช่น anti-ds DNA, anti-Sm, anti-cardiolipin แอนติบอดี และ lupus anti-coagulant ในผู้ป่วยที่ให้ผลบวกจะช่วยในการประกอบการวินิจฉัยโรคSLE
ผู้ป่วยโรคSLEจะตรวจพบ anti-ds DNA แอนติบอดีให้ผลบวกในเวลาใดเวลาหนึ่งของโรคได้ประมาณร้อยละ 70 พบว่าเมื่อตรวจพบ anti-ds DNA ให้ผลบวกในปริมาณที่สูงมักสัมพันธ์กับการกำเริบของโรค โดยเฉพาะการเกิดภาวะไตอักเสบแบบ PLN มีโอกาสเกิดโรคSLEที่มีความรุนแรงและการตรวจซ้ำในระยะต่อมาของโรคจะช่วยในการพยากรณ์การกำเริบของโรค
การตรวจพบ anti-cardiolipin แอนติบอดี และ lupus anti-coagulant ให้ผลบวกในผู้ป่วยโรคลุปัสพบได้ประมาณร้อยละ 50 ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่สัมพันธ์ต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด และการแท้งบุตร พบผู้ป่วยที่มีผลบวกต่อการตรวจ anti-cardiolipin แอนติบอดี และ lupus anti-coagulant ทั้งหมดเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดได้ประมาณร้อยละ 50 และมีประวัติการแท้งลูกซ้ำ ๆ ได้ร้อยละ 15

การตรวจหาระดับคอมพลีเมนท์ C3, C4 และ CH50

อาจพบมีระดับคอมพลีเมนท์ลดลงในผู้ป่วยโรคSLE ที่มีอาการของโรคกำเริบโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะไตอักเสบSLE ข้อควรสังเกตในการตรวจหาระดับคอมพลีเมนท์ในผู้ป่วยโรคSLEอย่างหนึ่งคือผู้ป่วยโรคSLEบางรายจะมีภาวะ C4 ตั้งแต่กำเนิดอยู่แล้วจึงอาจไม่สามารถใช้ C4 ในการติดตามการกำเริบของโรคได้ ดังนั้นหากพบว่าตลอดการติดตามของผู้ป่วยที่ไม่เคยมีระดับ C4 อยู่ในเกณฑ์ปกติเลย อาจใช้ C3 และ CH50 ในการติดตามการกำเริบของโรคแทน

เพิ่มเพื่อน