อาการทางไตของโรคเอสแอลอี SLE

ภาวะไตอักเสบเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในโรคเอสแอลอี SLE พบเป็นอาการนำของโรคเอสแอลอี SLEร้อยละ 16 และพบภาวะไตอักเสบตลอดระยะเวลาของโรคเอสแอลอี มากกว่าร้อยละ 50 โดยผู้ป่วยที่มีไตอักเสบมักจะไม่มีอาการ แต่ตรวจพบจากการตรวจเลือด หากโรคเอสแอลอี เป็นมากขึ้นจึงจะเกิดอาการ อาการแสดงของภาวะไตอักเสบที่พบได้บ่อยคือ

การตรวจร่างกาย

การตรวจทางห้องปฏิบัติ

การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจคัดกรองภาวะไตอักเสบSLE ซึ่งควรตรวจเมื่อแรกวินิจฉัย และตรวจเป็นระยะในขณะติดตามการรักษา เช่น ทุก 1 ถึง 3 เดือน ในระยะที่โรคกำเริบ หรือทุก 3 ถึง 6 เดือน เมื่ออยู่ในระยะที่โรคสงบ หากพบว่าผู้ป่วยมีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่าปกติ เช่น การตรวจแผ่นตรวจปัสสาวะพบโปรตีน 2 ถึง 3+ ซึ่งบางครั้งพบมีเลล์เม็ดเลือดในปัสสาวะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเม็ดเลือดแดงมากกว่า 5 เซลล์/ล้านกำลังขยาย 40 (จากปัสสาวะที่ไม่ได้ปั่น) ควรสงสัยภาวะไตอักเสบSLEและควรตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆ ต่อไป

หากตรวจพบความผิดปกติดังกล่าวให้สงสัยว่าอาจจะมีการอักเสบของไตจากโรค SLE

การตรวจเลือด

การตรวจหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง

ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะจะบ่งบอกว่าโรคเป็นมากหรือไม่ หากโรคเป็นมากก็จะตรวจพบปริมาณโปรตีนมาก

การตรวจทางรังสี

ที่นิยมทำได้แก่

การตัดชิ้นเนื้อไต

การตัดตรวจเนื้อเยื่อไต (kidney biopsy) เป็นการตรวจที่ดีที่สุด ในการให้การวินิจฉัยและในการแยกระดับไตอักเสบSLE นอกจากนี้การตัดตรวจเนื้อเยื่อไตยังให้ข้อมูลในการบอกพยากรณ์โรค การบอกความรุนแรงของโรค (activity index) และความเสื่อมของไต (chronicity index)

แต่สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันนั้นอาจไม่สามารถทำการตัดตรวจเนื้อเยื่อไตในผู้ป่วยไตอักเสบSLEได้ทุกราย เนื่องจากความจำกัดของทรัพยากรบุคคล และขีดจำกัดของทรัพยากรต่าง ๆ ในโรงพยาบาลแต่ละระกับ ดังนั้นแพทย์อาจอาศัยการแสดง และการตรวจพบทางห้องปฏิบัติการทางคลินิกในการวิเคราะห์เบื้องต้น อย่างไรก็ตามในกรณีต่อไปนี้แพทย์ควรพิจารณาการตัดชิ้นเนื้อไตตรวจโดยไม่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่

  1. กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะไตอักเสบที่ยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ชัดเจนว่ามีสาเหตุมาจากไตอักเสบSLE
  2. กรณีที่ผู้ป่วยมีการทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็วและสงสัยภาวะ RPGN และ
  3. กรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาไตอักเสบSLEแล้วระยะหนึ่ง แต่อาการทางไตของผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง ในกรณีนี้ไม่ควรทิ้งผู้ป่วยไว้นานนัก แพทย์อาจประเมินผู้ป่วยหลังการให้การรักษาภายใน 3 เดือนเนื่องจากการปล่อยให้ผู้ป่วยมีไตอักเสบที่นานอาจก่อให้เกิดการเสื่อมของการทำงานของไตแบบถาวร

ดังนั้นกรณีทั้ง 3 จึงเป็นกรณีที่การตัดตรวจเนื้อเยื่อไตมีความสำคัญในแง่การตัดสินใจของแพทย์ ในการปรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป หากผู้ป่วยอยู่ในสถานที่ที่ไม่สามารถทำการตรวจเนื้อเยื่อไตได้อาจพิจารณาส่งผู้ป่วยต่อไปยังแพทย์เฉพาะทาง แต่หากอยู่ในสถานที่ที่การตรวจเนื้อเยื่อไตทำได้สะดวก แพทย์บางท่านอาจทำการตัดตรวจเนื้อเยื่อไตในกรณีที่ต้องการทราบพยากรณ์โรค หรือกรณีต้องการทราบความรุนแรงของโรค และความเสื่อมของไต ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

เนื่องจากภาวะการอักเสบทางไตในโรคSLEมีความหลากหลาย ตั้งแต่ความรุนแรงน้อยไปจนถึงความรุนแรงมากจนอาจทำให้สูญเสียการทำงานของไตได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากพยาธิสภาพความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่ไตในผู้ป่วยโรคSLEนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในหลากหลายตำแหน่งของไต ที่พบบ่อยได้แก่

ดังนั้นการประเมินในผู้ป่วยโรคไตอักเสบจึงเป็นสิ่งสำคัญต้องอาศัยข้อมูลจากหลาย ๆ ด้านประกอบกันในการประเมินความรุนแรงและการกำเริบของโรค ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป การอักเสบที่หน่วยไตในโรคSLEหรือที่เรียกว่าภาวะไตอักเสบSLE (lupus nephritis) อาจแบ่งได้ตามลักษณะทางพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อไตเป็น 6 ระดับตาม International Society of Nephrology/Renal Pathology Society (ISN/RPS) ซึ่งมีการกำหนดขึ้นในปี พ.ศ. 2546

Class Designation Comment
I Normal ยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นโรคไต
II Mesangial Nephritis

โรคไตอักเสบเล็กน้อยตอบสนองต่อการรักษาด้วย corticosteroids.

III Focal Proliferative Nephritis เป็นระยะแรกของโรคไตรุนแรงต้องใช้ยา steroid ขนาดสูงในการรักษา ผลการรักษาดีมาก
IV Diffuse Proliferative Nephritis

เป็นโรคไตอักเสบรุนแรงซึ่งไตอาจจะเสื่อมต้องใช้ยา steroid ขนาดสูงร่วมกับยากดภูมิ

V Lupus Membranous Nephropathy

จะมีการเสียโปรตีนในปัสสาวะมาก การรักษาต้องได้ steroid ในขนาดสูง

การประเมินระดับไตอักเสบSLEโดยอาศัยการแสดง เช่น

อาจช่วยในการแยกระดับไตอักเสบSLEได้คร่าว ๆ โดยในผู้ป่วยไตอักเสบSLE I และ II นั้นผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติไม่มากส่วนใหญ่จะมีความดันโลหิตปกติ ตรวจไม่พบ หรือพบมีเม็ดเลือดในปัสสาวะจำนวนน้อย อาจมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกทางไตแต่ปริมาณไม่มากส่วนใหญ่จะน้อยกว่า 1 กรัม/วัน และการทำงานของไต ระดับคอมพลีเมนท์มักจะปกติ และการตรวจหาแอนติบอดีส่วนใหญ่ให้ผลลบ

การแยกระดับของไตอักเสบSLEที่มีความสำคัญมากในทางคลินิกคือการแยกผู้ป่วยไตอักเสบในระดับ III และระดับ IV เรียกรวมกันว่า proliferativ lupus nephritis (PLN) เนื่องจากไตอักเสบทั้งสองระดับนี้เป็นกลุ่มที่มีความผิดปกติของหน่วยไต จากการมีเซลล์อักเสบมายังหน่วยไตปริมาณมาก ซึ่งควรแยกออกจากกลุ่มไตอักเสบSLEระดับ V หรือเรียกว่า membranous lupus nephritis (MLN) ไตอักเสบSLEสองกลุ่มนี้มีแนวทางการรักษาและพยากรณ์โรคที่แตกต่างกัน จึงมีความสำคัญในการแยกผู้ป่วยไตอักเสบSLEทั้งสองกลุ่ม การอาศัยอาการ อาการแสดงและการตรวจพบทางห้องปฏิบัติการทางคลินิกในการวิเคราะห์แยกไตอักเสบSLE อาจสังเกตได้จากผู้ป่วยในกลุ่ม PLN

ส่วนในกลุ่ม membranous lupus nephritis (MLN) นั้นมักมี

อย่างไรก็ตามบางครั้งการวิเคราะห์ทางคลินิกอาจผิดพลาดได้ เนื่องจากความหลากหลายของอาการในผู้ป่วยไตอักเสบSLE และบางครั้งอาจพบลักษณะของทั้ง PLN และ MLN ในผู้ป่วยรายเดียวกัน ดังนั้น การตัดตรวจเนื้อเยื่อไตจึงเป็นการตรวจเพื่อบอกระดับไตอักเสบSLEที่แม่นยำที่สุด

การรักษาไตอักเสบในผู้ป่วยเอสแอลอี

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน