อาการทางโลหิตของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี SLE

ในโรคเอสแอลอี SLEสามารถพบความผิดปกติของเม็ดเลือดเป็นภาวะที่พบได้บ่อย และสามารถพบความผิดปกติในโรคเอสแอลอี SLEได้ทั้ง เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด โดยความผิดปกติที่พบคือมี

เม็ดเลือดขาวต่ำ ภาวะเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในโรคเอสแอลอี เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเอสแอลอีจะถือเอาระดับเม็ดเลือดขาวที่ต่ำกว่า 4000/ลบมม. โดยพบว่าภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำนั้นสัมพันธ์กับการกำเริบของโรค โดยมักพบอาการกำเริบของโรคSLEอื่น ๆ ร่วมกับภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ เช่น ผื่น ปวดข้อ อ่อนเพลีย ซีดลง เป็นต้น อย่างไรก็ตามการพบภาวะเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำในผู้ป่วยโรคเอสแอลอี ควรวินิจฉัยแยกจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำนั้นจากสาเหตุอื่นด้วย เช่น ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากยาต่าง ๆ เช่น ยากดภูมิต้านทาน ยาปฏิชีวนะ หรือภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากการติดเชื้อรุนแรง ฯลฯ

  • ภาวะซีด ภาวะโลหิตจางในโรคเอสแอลอีเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและจากหลากหลายสาเหตุ อาจแยกตามสาเหตุเป็นสองสาเหตุคือ ภาวะโลหิตจางจากภูมิต้านทานได้แก่ การเกิดเม็ดโลหิตแดงแตกจางภูมิต้านทานตนเอง (autoimmune hemolytic anemia, AHA) โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ผลตรวจ Coombs test ให้ผลบวก ร่วมกับหลักฐานของการตอบสนองของไขกระดูกคือมีลักษณะเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน microspherocyte และ polychromachia มากขึ้นจากการดูสเมียร์ของเลือด (peripheral blood smear, PBS) ผู้ป่วยที่มีเพียง Coombs test ให้ผลบวกแต่ไม่มีหลักฐานของการตอบสนองของไขกระดูกดังกล่าวจะไม่ถือว่ามีภาวะ AIHA นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคลุปัสอาจมีสาเหตุโลหิตจางจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ภูมิต้านทาน เช่น ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ภาวะไตวาย หรือการเสียเลือด ฯลฯ
  • หรือเกล็ดเลือดต่ำ
  • ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติของเม็ดเลือดชนิดใดชนิดหนึ่งหรือผิดปกติทั้ง 3 ชนิดร่วมกันได้

โรคเอสแอลอี SLE สามารถพบความผิดปกติทางโลหิตได้ทั้งระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ และเม็ดเลือดแดงแตกจากภาวะภูมิต้านทานต่อตนเอง

โดยส่วนใหญ่ระดับเม็ดเลือดขาวต่ำมักไม่ต้องการการรักษาเฉพาะเจาะจง จำนวนเม็ดเลือดขาวมักดีขึ้นหลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาอื่น ๆ

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือเม็ดเลือดแดงแตกจากภาวะภูมิต้านทานต่อต้านตนเอง กรณีไม่รุนแรงคือ ระดับเกล็ดเลือดมากกว่า 50000/ ลบมม หรือระดับฮีโมโกลบินมากกว่า 8 มก/ดล พิจารณายา prednisolone ในขนาด 0.5-1.0 มก/ กก/ วัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบสนองต่อยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ดี กรณีผู้ป่วยอาการดีขึ้นแต่อาการกลับมามากขึ้นเมื่อแพทย์สั่งลดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ควรพิจารณาให้ยากดภูมิชนิดอื่นเพื่อช่วยลดการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น azathioprine
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือเม็ดเลือดแดงแตก จากภาวะภูมิต้านทานต่อต้านตนเองไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ควรพิจารณาให้ยากดภูมิต้านทานอื่น ได้แก่ azathioprine cyclophosphamide หรือ danazol หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยารักาดังกล่าวอาจพิจารณาการให้อิมมูโนโกบูลิน ทางหลอดเลือดดำ
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือเม็ดเลือดแดงแตกจากภาวะภูมิต้านทานต่อต้านตนเองที่รุนแรง ที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ methylprednisolone ขนาดสูง (1000 มก/วัน) ร่วมหรือไม่ร่วมกับการให้อิมมูโนโกบูลิน ทางหลอดเลือดดำก็ตาม เนื่อวจากยา rituximab มีประสิทธิภาพสูงและออกฤทธิ์เร็ว

อาการโรคSLE