หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

ยาขยายหลอดลม Terbutaline

ยา terbutaline อยู่ในกลุ่มยาเบต้า agonists จะใช้ในการป้องกันและรักษาภาวะหลอดลมหดตัวในโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมโป่งพอง terbutaline เป็นยาขยายหลอดลม ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดได้อย่างสะดวก บรรเทาอาการโรคหอบหืดที่กำเริบ และช่วยในการหายใจลำบากที่มีสาเหตุจากโรคถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบ และโรคปอดอื่น ๆ

วิธีการใช้ยา

รูปแบบของยา

ยาเม็ดรับประทาน โดยทั่วไปรับประทานวันละ 3-4 ครั้ง หรือในรูปยาสูดพ่นทุก 4-6 ชั่วโมง และยาสูดพ่นเข้าทางปาก ขนาดใช้ยาครั้งแรกควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ การใช้ยาสูดพ่นนั้นควรใช้ให้ถูกต้องจึงจะได้ผล

คำแนะนำในการใช้ยา

ยา terbutaline อาจควบคุมอาการของคุณ แต่ไม่ใช่ยารักษาโรค ดังนั้นจะต้องมีการรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุ และให้ใช้ยาต่อแม้ว่าอาการหอบจะดีขึ้นแล้ว เมื่อจะหยุดยาให้ปรึกษาแพทย์ อย่าใช้ยาเกินขนาดหรือน้อยกว่าที่กำหนด การใช้ยามากไปจะทำให้เกิดอันตราย หากใช้น้อยไปจะไม่ได้ผลการรักษาเต็มที่ควรหมั่นตรวจสอบว่ามียาอยู่เพียงพอตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อป้องกันการขาดยาเมื่อต้องการ

ก่อนที่จะ terbutalineจะต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบ

ทำอย่างไรถ้าลืมรับประทานยา

ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ให้รับประทานยาครั้งต่อไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า

ผลข้างเคียงยา

หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที

ยา terbutaline อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง แจ้งให้แพทย์ของคุณทราบถ้ามีอาการเหล่านี้

อาการที่เกิดจากได้รับยาเกินขนาด

ข้อควรระวัง

ควรบอกแพทย์หากตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจ โรคลมชัก กำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยากดประสาท หรือยารักษาโรคหอบหืดชนิดอื่น ๆ

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์
สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท B

หอบหืด

โรคหอบหืด

โรคหอบหืดเป็นโรคที่เกิดจากภูมิแพ้จะมีอาการหอบ หรือเหนื่อยเมื่อสัมผัสสารภูมิแพ้ การรักษาต้องหลีกเลี่ยงและใช้ยาพ่นป้องกันอาการหอบหืด โรคหอบหืด


ปอดบวม

โรคปอดบวม

โรคปอดบวมเกิดจากปอดติดเชื้อโรคทำให้มีเซลล์เม็ดเลือดขาว และเชื้อโรคในปอด ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย ไอมีเสมหะ ไข้สูง ปอดบวม


หลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบเกิดจากเชื้อโรค ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลม ผู้ป่วยจะมีไข้ ไอ แต่ไม่หอบมาก หลอดลมอักเสบ