ยาละลายเสมหะ Bromhexine

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Bromhexine

เป็นยาละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอจากโรคหวัด ยานี้ช่วยละลายสารคัดหลั่งในที่เกิดจากโรค ปอดอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรังที่มีการหลั่งของเสมหะผิดปกติ 

การใช้ยาละลายเสมหะ Bromhexine

  • ขนาดใช้ยาในผู้ใหญ่และเด็กอายุเกิน 12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร ขนาดรับประทานสูงสุดในผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 8 - 16 มิลลิกรัม/ครั้งวันละไม่เกิน 3 ครั้ง

ส่วนในเด็กควรต้องอยู่ในคำแนะนำของแพทย์ ขนาดใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ลดลงตามส่วน

  • เด็กอายุ 2-5 ปีใช้ยาน้ำเชื่อม (syrup) รับประทานครั้งละ 2.5 มิลลิลิตร (ครึ่งช้อนชา) วันละ 3 ครั้ง
  • เด็กอายุ 6-12 ปีแนะนำรับประทานครั้งละครึ่งเม็ด (4 มิลลิกรัม) วันละ 3 ครั้ง หรือถ้ารับประทานยาน้ำเชื่อม (syrup) รับประทานครั้งละ 5 มิลลิลิตร (1 ช้อนชา) วันละ 3 ครั้ง
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป แนะนำรับประทานครั้งละหนึ่งเม็ด (8 มิลลิกรัม) วันละ 3 ครั้ง หรือถ้ารับประทานยาน้ำเชื่อม (syrup) รับประทานครั้งละ 10 มิลลิลิตร (2 ช้อนชา) วันละ 3 ครั้

ยาที่มีจำหน่าย

ยานี้มีขายในรูปยาเม็ดขนาด 8 มก. ยาน้ำอิลิกเซอร์ (Elixir) ความเข้มข้นของยา 4 มก./5 มล.(1 ช้อนชา) และยาฉีดมีความเข้มข้นของยา 4 มก./2 มล.

คำแนะนำ

การรับประทานยานี้ แม้ว่าจะทำให้เสมหะเหลวลงและขับออกง่ายขึ้น หากได้ดื่มน้ำอุ่นร่วมด้วยจะช่วยบรรเทาอาการไอได้ดีขึ้น หากใช้ยาน้ำอิลิกเซอร์ในเด็กเล็กควรระมัดระวังเพราะมีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ด้วย

ข้อควรระวังในการใช้ยาBromhexine

  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ และกำลังให้นมบุตร
  • ควรระมัดระวังใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารโดยเฉพาะชนิดเม็ด
  • การรับประทานยานี้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ เช่น amoxicillin, cefuroxime, erythromycin, doxycycline จะทำให้ระดับยาปฏิชีวนะในเนื้อเยื่อปอดเพิ่มขึ้นได้
  • ระวังการใช้ยาในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอาหาร - ลำไส้ ด้วยยามีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหาร - ลำไส้
  • ระวังการใช้ยาในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหืด ด้วยยาอาจก่อให้เกิดภาวะหลอดลมตีบ
  • ระวังการใช้ยากับผู้ที่มีภาวะตับ - ไตผิดปกติ

ผลข้างเคียง

อาจเกิดการรู้สึกไม่สบายท้อง แน่นทอง ท้องเสีย ง่วงซึม ปวดหัว อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก ผิวหนังเป็นผื่นแดงได้บ้าง ไม่รุนแรง ซึ่งถ้าหยุดใช้ยา อาการจะหายไปเอง

เรื่องที่ต้องแจ้งทันที

 หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบไปพบแพทย์หรือแจ้งเภสัชกร เช่น แพ้ยา โดยมีอาการผื่น คัน หายใจลำบาก ตาบวม หรือมีอาการข้างเคียงอื่นที่รุนแรง 

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์
ไม่มีข้อมูล

 

หอบหืด

โรคหอบหืด

โรคหอบหืดเป็นโรคที่เกิดจากภูมิแพ้จะมีอาการหอบ หรือเหนื่อยเมื่อสัมผัสสารภูมิแพ้ การรักษาต้องหลีกเลี่ยงและใช้ยาพ่นป้องกันอาการหอบหืด โรคหอบหืด


ปอดบวม

โรคปอดบวม

โรคปอดบวมเกิดจากปอดติดเชื้อโรคทำให้มีเซลล์เม็ดเลือดขาว และเชื้อโรคในปอด ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย ไอมีเสมหะ ไข้สูง ปอดบวม


หลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบเกิดจากเชื้อโรค ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลม ผู้ป่วยจะมีไข้ ไอ แต่ไม่หอบมาก หลอดลมอักเสบ