การตรวจหาคีโตนในปัสสาวะ Ketone

คีโตนเกิดได้อย่างไร

การตรวจพบคีโตนในปัสสาวะจะพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่คุมไม่ได้ น้ำตาลในเลือดขึ้นสูงร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลเพื่อให้เกิดพลังงานได้ จำเป็นต้องมีการสลายไขมันทำให้เกิดคีโตน เมื่อร่างกายใช้ไขมันในการให้พลังงานจะทำให้เกิด Ketone ขึ้นมาตับจะทำให้ที่สันดาป Ketone นี้ทำให้เหลือปริมาณเล็กน้อยและตรวจในปัสสาวะไม่พบ เมื่อร่างกายไม่สามารถใช้พลังงานจากน้ำตาล ร่างกายจะนำไขมันมาทำให้เกิดพลังงานและหากมากจะทำให้ตรวจพบ Ketone ในปัสสาวะ

เราจะตรวจ Ketone ในปัสสาวะได้อย่างไร

ปัสสาวะที่นำมาตรวจควรจะเป็นปัสสาวะที่ใหม่และไม่ปนเปื้อน เราสามารถตรวจ Ketone ในปัสสาวะได้โดยใช้แผ่นตรวจปัสสาวะซึ่งจะให้ผล +1 ถึง +4

การแป]ผล

ปัสสาวะคนปกติจะมี Ketone ปริมาณเล็กน้อยวันละ 3-15 mg หากพบในปริมาณสูงอาจจะพบได้ในภาวะดังต่อไปนี้

  • โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี
  • โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน Diabetic ketoacidosis (DKA)
  • ได้รับอาหารไม่เพียงพอ
  • ไม่ได้รับประทานอาหารมากกว่า 12 ชั่วโมง
    • Anorexia nervosa
    • Bulimia nervosa
    • Alcoholism
  • ได้รับสารพิษเช่น isopropanol
  • ดมยาสลบด้วย Ether anaesthesia

ผลการตรวจบวกหลอก

กล่าวคือตรวจปัสสาวะให้ผลบวกแต่ไม่มีคีโตนในปัสสาวะ

  • ยาบางชนิดจะให้ผลบวกหลอกเช่น
    • Levodopa - eg, Sinemet®
    • Phenazopyrazine
    • Valproic acid
    • Vitamin C
  • ภาวะขาดน้ำ

ใครที่ต้องตรวจคีโตนในปัสสาวะ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้จะต้องตรวจปัสสาวะหาคีโตน

  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานอาหารแป้งน้อยและออกกำลังกายมาก
  • ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • น้ำตาลในเลือดสูง
  • สงสัยว่าเป็น ketoacidosis.

อาการของภาวะ Ketonuria คือตรวจพบคีโตนในปัสสาวะ

  • หิวน้ำ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • คลื่นไส้
  • ขาดน้ำ
  • หายใจแรง
  • ม่านตาจะโต
  • ซึมหรือสับสน
  • หายใจได้กลิ่นผลไม้

หากตรวจพบคีโตนต้องปรึกษาแพทย์