การแยกชนิดของงูพิษ 

 

  1. นำงูมาด้วย หรือผู้ถูกกัดหรือผู้อยู่ในเหตุการณ์รู้จักชนิดงูแน่นอน 

  2. ในกรณีที่ไม่รู้จักชนิดของงู ต้องอาศัย 

    2.1 Serodiagnosis โดยวิธี ELISA แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางเวชกรรมได้ เนื่องจากใช้เวลานาน ขณะนี้สภากาชาดไทยกำลังพัฒนาวิธีการให้ตรวจได้ผลเร็วขึ้น 

    2.2 อาการและอาการแสดง 

อาการเฉพาะที่                                

  • ปวด บวม น้อยมาก หรือไม่มี เนื่องจากงูพิษกัดแต่ไม่ปล่อยพิษ ได้แก่ งูสามเหลี่ยม, งูทับสมิงคลา, งูพิษเขี้ยวหลัง 

  • ปวดบวมแดงร้อนแต่ไม่มากได้แก่งูแมวเซาหรืออาการระยะแรกของงูเห่าและงูจงอาง ในกรณีที่พบมีเลือดออกจากรอยเขี้ยวให้คิดถึงงูแมวเซา 

  • ปวดบวมแด ร้อน มีอาการอักเสบชัดเจนและมีเนื้อตาย ได้แก่ งูเห่า และงูจงอาง 

  • ปวดบวมแดงร้อนและผิวหนังพองมีเลือด(hemorrhagic blebs),รอยจ้ำเลือด (ecchymosis) ได้แก่ งูกะปะ, งูเขียวหางไหม้ (ดังรูปที่ 4) ในกรณีที่มีผิวหนังพองมีเลือดหลายแห่ง ให้คิดถึงงูกะปะ (ดังรูปที่ 5) ส่วนงูเขียวหางไหม้อาจพบ thrombophlebitis. 

รูปที่ 4 รอยจ้ำเลือด

รูปที่ 5 ผิวหนังพองมีตกเลือดหลายแห่ง

อาการทั่วไป                                     

  •  

  •  

     

     พิษต่อระบบเลือด     

                มีอาการเลือดออกผิดปรกติ ได้แก่ เลือดออกจากแผลรอยกัดมาก, มีจ้ำเลือดบริเวณแผล, เลือดออกตามไรฟัน, จุดเลือดตามตัว, ปัสสาวะเป็นเลือด, อาเจียนเป็นเลือด 

        ในกรณีงูแมวเซาซึ่งเป็น viper จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อตามตัวได้มาก มีอาการและอาการแสดงของภาวะ DIC และมีอาการของภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน 

        ในกรณีของงูกะปะและงูเขียวหางไหม้ อาการเลือดออกผิดปรกติมักไม่รุนแรง แต่อาการที่บริเวณแผลงูกัดจะรุนแรง 

  • พิษต่อกล้ามเนื้อ

                 ผู้ที่ถูกงูทะเลกัด จะแยกจากงูชนิดอื่นได้ง่ายเนื่องจากถูกกัดในทะเล หรือริมทะเล , ผู้ป่วยมีอาการปวดกล้ามเนื้อทั้งตัว, ปัสสาวะออกน้อย สีเข้ม 

2.3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 

        ในกรณีที่สงสัยงูพิษต่อระบบประสาท การตรวจด้วย Wright’s peak flow meter จะมี peak flow ลดลง แต่ใช้แยกชนิดของงูไม่ได้ 

        ในกรณีสงสัยงูพิษต่อระบบเลือด 

  • การตรวจ Complete Blood count จะพบว่าปริมาณเกล็ดเลือดลดลง 

  • การตรวจ Prothrombin time (PT), partial prothromboplastin time (PPT), Thrombin time (TT) จะมีค่านานผิดปรกติ 

        แต่ถ้าแพทย์สามารถวินิจฉัยโดยข้อมูลทางเวชกรรมแล้วว่า ผู้ป่วยมีอาการถูกงูที่เป็นพิษต่อระบบเลือดกัด ไม่จำเป็นต้องตรวจหาค่า PT, PPT, TT แต่ให้ตรวจหาค่า Venous clotting time (VCT) เลย เพราะจะมีประโยชน์ในการตัดสินใจให้เซรุ่มแก้พิษงู 

        การตรวจทางห้องปฏิบัติการสามารถแยกการเป็นพิษจากงูแมวเซาออกจากงูกะปะและงูเขียวหางไหม้ได้จากการตรวจพบ 

  • ภาวะ DIC ซึ่งจะเห็นชิ้นส่วนของเม็ดเลือดแดงในสเมียร์เลือดหรือพบ d-dimer 

  • factor X activity ลดลง 

  • BUN และ / หรือ ครีอะตินีน ในซีรั่มเพิ่มขึ้น 

        การตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไปไม่สามารถแยกการเป็นพิษจากงูกะปะออกจากงูเขียวหางไหม้ได้ 

        การเป็นพิษจากงูทะเลจะพบภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน ร่วมกับ rhabdomyolysis และภาวะเลือดมีโปแตสเสียมมากเกิน 

2.4 ถิ่นที่อาศัยของงู (ตารางที่1) 

        ในกรณีที่ประเมินสภาพผู้ป่วยในระยะแรกโดยใช้ข้อมูลและวิธีการดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดแล้ว ยังไม่สามารถแยกชนิดของงูได้ ให้เฝ้าสังเกตอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง การศึกษาในผู้ป่วยที่ถูกงูเห่ากัด พบว่าระยะเวลาจากการถูกกัดจนมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอยู่ระหว่าง 0.5-15.5 ชั่วโมง เฉลี่ย 5.1 ชั่วโมง ดังนั้นควรเฝ้าดูอาการ 24 ชั่วโมง

         ถ้ามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่วนใหญ่จะเป็นงูเห่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบว่าแผลที่ถูกกัดมีอาการอักเสบ และ / หรือ มีเนื้อตาย ถึงแม้ลักษณะเวชกรรมจะแยกจากงูจงอางไม่ได้ แต่งูจงอางเป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่มาก และพบได้เฉพาะในป่ารก หรือเลี้ยงไว้ ดังนั้นสามารถวินิจฉัยชนิดได้ง่าย 

        ถ้ามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่ไม่มีอาการอักเสบบริเวณที่ถูกกัด หรืออักเสบน้อยมากให้วินิจฉัยว่าเป็นงูทับสมิงคลา มากกว่างูสามเหลี่ยม เนื่องจากงูสามเหลี่ยมไม่ค่อยดุร้าย และมีอุบัติการการกัดคนต่ำมาก แต่ถ้าถูกกัดในบริเวณภาคตะวันออก หรือตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ให้คิดถึงงูทับสมิงคลาเช่นกัน 

        ถ้าไม่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ให้ดูที่บริเวณแผลที่ถูกกัด ถ้ามีอาการอักเสบ ปวดบวมมาก ให้คิดถึงงูกะปะ หรืองูเขียวหางไหม้ ซึ่งจะแยกได้โดยอาศัยภูมิภาค ถ้าอาการอักเสบมีน้อยให้คิดถึงงูแมวเซา ส่วนงูพิษเขี้ยวหลังนั้นมีอุบัติการต่ำ 

 

ตารางที่ 1 อาการเฉพาะที่และถิ่นอาศัยของงูพิษชนิดต่าง ๆ

 ชนิดของงู อาการเฉพาะที่ ถิ่นที่อาศัย 
งูเห่าและงูเห่าพ่นพิษ   อักเสบและเนื้อตาย  ทั่วประเทศไทย 
งูจงอาง  อักเสบและเนื้อตาย ป่ารกในภาคเหนือตอนบนและภาคใต้
งูสามเหลี่ยม น้อยมาก ทุกภาค แต่พบบ่อยบริเวณภาคกลาง 
งูทับสมิงคลา   น้อยมากหรือไม่มี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออกและภาคใต้ 
งูสามเหลี่ยมหางแดง อักเสบ ภาคใต้
งูแมวเซา น้อยมาก  นาข้าว; พบบ่อยบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออก
งูกะปะ  บวม, ผิวหนังพอง และ ตกเลือดหลายแห่ง, จ้ำเลือด พบบ่อยบริเวณภาคใต้, และพบได้ในภาคตะวันออกและภาคเหนือ
 งูเขียวหางไหม้  บวมมาก, ผิวหนังพอง ,ตกเลือด, จ้ำเลือด, หลอดเลือดดำอักเสบ มีธร็อมบัส  พบได้ทุกภาค; พบบ่อยในกรุงเทพมหานคร
 งูทะเล   น้อยมาก     ในทะเล
งูพิษเขี้ยวหลัง   น้อยมาก ทั่วประเทศไทย 

 หน้าหลัก ชนิดของู พิษของงู การดูแลเบื้องต้น การประเมินความรุนแรง การรักษา การให้เซรุ่ม งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ รายละเอียดงูพิษกัด

เพิ่มเพื่อน