การรักษารักษางูพิษกัด

หลักการรักษาผู้ถูกงูพิษกัด

การรักษาผู้ป่วยที่ถูกงูกัดควรดำเนินการตามขั้นตอน 4 ข้อดังนี้

  1. ผู้ป่วยถูกงูพิษกัดใช่หรือไม่
  2. เป็นงูพิษชนิดไหน
  3. จำเป็นต้องให้เซรุ่มแก้พิษงูหรือไม่
  4. ขนาดและวิธีการให้เซรุ่มแก้พิษงู
  5. การรักษาแผลและภาวะแทรกซ้อน

แผลงูพิษกัด

ผู้ป่วยถูกงูพิษกัดใช่หรือไม่

กรณีที่ได้ซากงูและทราบแน่ชัดว่าไม่ใช่งูพิษก็ทำแผลให้สะอาด ให้ยาแก้ปวด ฉีดยาป้องกันบาดทะยักแนะนำและให้ผู้ป่วยกลับบ้าน

แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าเป็นงูมีพิษหรือผู้ป่วยไม่ได้นำซากงูมาหรือไม่เห็นตัวงู และมีอาการต้องปฏิบัติเหมือนกับผู้ป่วยถูกงูมีพิษกัดทุกราย โดยรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล และให้การเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

เป็นงูพิษชนิดไหน

การที่จะรู้ว่าเป็นงูพิษชนิดไหนหากมีซากงูก็จะทราบว่าเป็นงูพิษชนิดไหนหากไม่มีซากต้องดูอาการที่ปรากฎ

1. อาการเฉพาะที่ ได้อาการปวด บวม อาจเห็นรอยเขี้ยวพิษของงู เป็นจุด 2 จุด ในบริเวณที่ถูกกัด นอกจากนี้ อาจมีรอยช้ำ มีถุงน้ำพอง และ ในบางรายอาจมีเนื้อเน่าตายได้  

2. อาการตามระบบ

2.1 งูที่มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการเริ่มต้นคือ หนังตาตก ทำให้มักเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยง่วงนอน ความจริงแล้วหนังตาตกเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนยกเปลือกตาไม่ขึ้น ต่อมาอาจมีกลืนลำบาก และเกิดอัมพาต ถ้ากล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาตทำให้หายใจไม่ได้ อาจเสียชีวิตได้ ต้องรีบทำการช่วยหายใจโดยด่วน งูที่ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทัลสมิงคลา ผู้ป่วยมีอาการหนังตาตก หายใจไม่สะดวก มีการเคลื่อนไหวแขนหรือขาได้น้อย และแผลที่ถูกกัดไม่บวมและไม่มีอาการเจ็บปวด งูที่กัดน่าจะเป็นงูสามเหลี่ยมหรืองูทับสมิงคลา เพราะหากเป็นงูเห่า หรืองูจงอางจะมีอาการบวม

2.2 งูที่มีพิษผลต่อระบบโลหิต ถ้าถูกงูกัดแล้วแผลที่ถูกกัดบวม และผลการตรวจเลือดพบว่าเลือดผิดปกติคือ ไม่จับเป็นลิ่มในเวลา 20 นาที งูที่กัดน่าจะเป็นงูกะปะ งูแมวเซา หรืองูเขียวหางไหม้ ทำให้เกิดเลือดไหลไม่หยุด เช่น มีเลือดออกไรฟัน ออกจากทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ถ้าเลือดออกรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ พิษงูแมวเซา อาจทำให้เกิดไตวายร่วมด้วย งูที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้แก่ งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้

จำเป็นต้องให้เซรุ่มแก้พิษงูหรือไม่

จากสถิติผู้ป่วยถูกงูกัดร้อยละหนึ่งในสามเท่านั้นที่ได้รับพิษงูเข้ากระแสเลือด อาการและอาการแสดงว่าได้รับพิษงูเข้าสู่ร่างกาย

ถ้ามีอาการดังกล่าวแสดงว่าพิษเข้าสู่ร่างกายจำเป็นต้องให้นอนโรงพยาบาล และพิจารณาให้เซรุ่มหากมีข้อบ่งชี้

ขนาดและวิธีการให้เซรุ่มแก้พิษงู

เมื่อมีหลักฐานว่าผู้ป่วยได้รับพิษงูเข้าสู่ร่างกายแล้ว หลักในการรักษาคือ ต้องใช้เซรุ่มแก้พิษงู (antivenom) ให้ตรงกับชนิดของงูที่กัดโดยให้ปริมาณที่มากพอ เพื่อที่จะทำลายพิษงูให้หมดจากกระแสโลหิต ขนาดของเซรุ่มครั้งแรกที่ใช้รักษา 

การรักษา 

การปฐมพยาบาล 

  1. ให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ถูกกัด 

  2. นำงูมาด้วยถ้าทำได้ ในกรณีที่งูหนีไปแล้วไม่จำเป็นต้องไปไล่จับเพราะแพทย์สามารถวินิจฉัยชนิดของงูได้โดยไม่ต้องเห็นงู 

  3. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด 

  4. ห้ามกรีด ดูด แล้วพอกยาบริเวณแผลงูกัด 

  5. การขันชะเนาะ (tourniqute) ยังเป็นที่ถกเถียงกัน วิธีปฏิบัติให้ใช้ผ้าหรือเชือกรัดเหนือบริเวณที่ถูกงูกัดให้แน่นพอสอดนิ้วได้ แล้วคลายออกทุก 15 นาที ช่วยลดปริมาณพิษงูแผ่ซ่านได้เพียงเล็กน้อย อาจได้ประโยชน์บ้าง ในกรณีที่ถูกงูพิษต่อระบบประสาทกัด และไม่สามารถไปพบบุคลากรทางการแพทย์ได้ในเวลาอันสั้น แต่โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ทำเนื่องจากมักทำไม่ถูกวิธี รัดแน่น และนานเกินไปทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายจากการขาดเลือด นอกจากนี้ยังห้ามทำในกรณีที่เป็นงูพิษต่อระบบเลือด เพราะจะทำให้มีการบวมและเลือดออกบริเวณแผลมากขึ้น 

การรักษาทั่วไป 

  1.  รักษาภาวะฉุกเฉิน เช่น ภาวะช็อค anaphylactic shock การหยุดหายใจ 

  2.  ปลอบใจและให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย 

  3.  หยุดการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกกัด ในกรณีที่มีอาการบวมมาก ให้ยกบริเวณนั้นสูง 

  4.  ให้สารน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการบวมมาก 

  5.  ให้ยาแก้ปวด แอเคตามิโนเฟน ไม่ให้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางแก่ผู้ที่ถูกงูพิษต่อระบบประสาทกัด และไม่ให้ แอสไพรินในผู้ป่วยที่ถูกงูพิษต่อระบบเลือดกัด 

  6.  ให้ยาต้านจุลชีพในกรณีถูกงูเห่าและงูจงอางกัด ใช้ยาที่ครอบคลุมเชื้อทั้งแกรมบวก แกรมลบเละเชื้อไม่พึ่งอากาศ 

  7.  ควรให้ยากันบาดทะยัก ในกรณีงูพิษต่อระบบเลือดควรให้หลังจากอาการเลือดออกผิดปรกติดีขึ้นแล้ว 

การรักษาพิษงูเฉพาะระบบ 

    พิษต่อระบบประสาท 

  1. การช่วยการหายใจเป็นหัวใจสำคัญของการรักษา ซึ่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการให้เซรุ่มแก้พิษ ต้องเฝ้าสังเกตอกการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และเตรียมพร้อมสำหรับการใส่ท่อหลอดลมคอ และใช้เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยที่เริ่มอกการกลืนลำบากต้องรีบใส่ท่อหลอดลมคอ เพื่อป้องกันการสำลักเข้าปอด ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อการหายใจอ่อนแรง (peak flow < 200 ลิตร / นาที, ความจุไวตัล < 1.5 ลิตร ,respiratory paradox, respiratory alternans, หยุดหายใจ) ต้องได้รับการช่วยหายใจโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ ในกรณีไม่มีเครื่องช่วยหายใจ ให้ใช้ถุงแอมบู ช่วยแล้วรีบนำส่งสถานพยาบาลที่มีเครื่องช่วยหายใจ

  2. ข้อบ่งชี้ในการให้เซรุ่มคือมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงเริ่มตั้งแต่มีหนังตาตก ไม่ต้องรอให้มีการหายใจล้มเหลว การให้เซรุ่มช่วยลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ จากเวลาเฉลี่ยประมาณ 44 ชั่วโมง มาเป็นประมาณ 6 ชั่วโมง    เนื่องจากเซรุ่มไม่สามารถไปแก้พิษงูที่อยู่ใน motor end-plate ได้ ดังนั้นวิธีที่ดี คือ การให้เซรุ่มขนาดสูงเป็น bolus dose เพื่อแก้พิษงูในกระแสเลือดทั้งหมด ส่วนพิษงูที่จับกับ motor end-plate แล้ว ให้ร่างกายกำจัดเอง โดยแพทย์ทำการช่วยหายใจในช่วงเวลานั้น ปริมาณเซรุ่มที่เหมาะสำหรับพิษจากงูเห่าคือ 100 มล. แต่สำหรับงูจงอางและงูสามเหลี่ยมยังไม่มีข้อมูลที่มากพอ ในปัจจุบันไม่มีเซรุ่ม สำหรับงูทับสมิงคลา ซึ่งเป็นงูพิษที่ดุร้าย มีอัตราตายของผู้ถูกกัดสูง และเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของประชาชนในภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการทำลองในสัตว์พบว่าสามารถให้เซรุ่มของงูสามเหลี่ยมได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในคนสนับสนุน อย่างไรก็ตามการรักษาที่สำคัญ คือการช่วยหายใจ 

  3. ในกรณีงูเห่าและงูจงอางให้รีบตัดเนื้อตายจากบริเวณแผลที่ถูกกัดก่อนที่จะลุกลามเป็นบริเวณกว้าง และพิจารณาทำการถ่ายปลูกผิวหนัง ถ้าจำเป็น 

    พิษต่อระบบเลือด 

  1. ให้คอยติดตามเฝ้าระวังการตกเลือดผิดปรกติ จากอาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ คือ การตรวจหาค่า VCT ถ้าได้ผลเป็นปรกติให้ตรวจซ้ำทุก 24 ชั่วโมงเป็นเวลาประมาณ 72 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ป่วยที่ถูกงูพิษเหล่านี้กัดมักไม่มีอาการตกเลือดผิดปรกติในระยะแรก แต่มีอาการเกิดขึ้นในวันหลัง ๆ ได้ 

  2. การให้เกล็ดเลือด และ / หรือ ปัจจัยการจับลิ่มของเลือดได้ประโยชน์น้อย เนื่องจากจะถูกพิษงูทำลายหมด จึงพิจารณาให้เฉพาะในกรณีที่มีการตกเลือดรุนแรง ร่วมกับการให้เซรุ่ม 

  3. ข้อบ่งชี้ในการให้เซรุ่มคือ VCT นานกว่า 30 นาที และต้องตรวจ VCT เป็นระยะ ๆ หลังการให้เซรุ่มอย่างน้อย 72 ชั่วโมง เพราะจากการศึกษางูในกลุ่มนี้ทั้ง 3 ชนิด พบว่า แม้ระดับพิษของมันจะลดลงจนวัดไม่ได้ในกระแสเลือดหลังการให้เซรุ่มในตอนแรก แต่ผ่านไประยะเวลาหนึ่งมักไม่เกิน 3 วันหลังถูกกัด จะตรวจพบระดับพิษงูในเลือดได้อีก 

  4. ในกรณีงูแมวเซา ให้รักษาภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน เหมือนกรณีทั่วไป รวมทั้งพิจารณาทำการล้างไต ถ้ามีข้อบ่งชี้ 

  5. ในกรณีงูกะปะและงูเขียวหางไหม้ให้ทำการตัดผิวหนังพองตกเลือดออก รวมทั้งทำ fasciotomy ในกรณี compartmental syndrome แต่ต้องทำต่อเมื่อผู้ป่วยพ้นภาวะตกเลือดแล้วคือ VCT ปรกติ 

    พิษต่อกล้ามเนื้อ 

เนื่องจากยังไม่มีเซรุ่มแก้พิษ การรักษาที่สำคัญ คือ การรักษาภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน rhabdomyolysis และภาวะเลือดมีโปแตสเสียมมากเกิน โดยแก้ไขภาวะกรดเหตุเมแทบอลิสม และที่สำคัญคือ การล้างไต 

การรักษาแผลและภาวะแทรกซ้อน

การรักษาตามอาการและประคับประคองอื่น ๆ

การให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก

ควรให้แก่ผู้ป่วยทุกรายตามลักษณะของบาดแผล และประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน แต่ควรระวังในผู้ป่วยที่อาจมี ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด อาจยังไม่จําเป็นต้องรีบให้ทันที ควรให้เมื่อ VCT ปกติหรือแก้ไขให้VCT ปกติแล้ว นอกจากนี้หากแผลสกปรกมาก อาจ พิจารณาให้ tetanus antitoxin ด้วย

การรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงซึ่งบ่งว่าได้รับพิษเข่าสู่ร่างกาย (systemic envenoming) ได้แก่อาการรุนแรงปานกลาง (moderate) หรือมาก (severe)
  2.  ผู้ป่วยเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก
  3.  ผู้ป่วยที่มีอาการเฉพาะที่รุนแรง เช่น บวม หรือปวดมาก
  4.  ผู้ป่วยที่มีอาการแสดงทั่วไปอื่น ๆ เช่น เป็นลม หมดสติ ความดันโลหิตตํ่าหรืออาการแพ้พิษงู
  5.  ถ้ายังไม่มีอาการ systemic ควรปฏิบัติดังนี้

 

การป้องกันการถูกงูกัด

การป้องกันไม่ให้ถูกงูกัดทำได้ แต่จะได้ผลมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ และโอกาส โดยปกติแล้วนิสัยของงูจะไม่เลื้อยมากัดหรือทำร้ายมนุษย์โดยตรง พิษของงูมีไว้เพื่อจับสัตว์เป็นอาหาร นิสัยของงูจะกลัวคนเช่นเดียวกันกับคนก็กลัวงู ส่วนใหญ่คนถูกงูกัดจะเป็นไปโดยบังเอิญ เช่น เหยียบงู หรือเข้าใกล้งู โดยธรรมชาติงูกัดคนเป็นการป้องกันตัวเอง (defensive mechanism) ดังนั้นก่อนจะเดินป่าควรระวังและป้องกัน โดยใส่กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว สวมรองเท้าหุ้มส้น ยิ่งเป็นรองเท้าบู๊ทยิ่งดี มือถือไม้แกว่งไปมาระหว่างเดินป่าเพื่อให้เกิดเสียงดังงูจะได้หนีไปก่อน ไม่ควรเดินป่าในเวลากลางคืน มีไฟฉายติดมือไปด้วยจะทำให้การเดินป่าปลอดภัยขึ้น แนะนำให้ชาวสวนยางพาราภาคใต้ หรือชาวสวนผลไม้ภาคตะวันออก ใส่รองเท้าบู๊ทเวลาทำงานจะลดอัตราเสี่ยงต่อการถูกงูกะปะกัด แต่ชาวนาซึ่งต้องทำงานในท้องนาที่เป็นน้ำและโคลน การใส่รองเท้าอาจทำงานไม่สะดวก ควรลดความเสี่ยงโดยวิธีอื่นเช่น พยายามเดินในที่ไม่รก และเวลา เสร็จงานแล้วเดินทางกลับบ้านควรใส่รองเท้าจะช่วยได้บ้าง

เพิ่มเพื่อน

หน้าหลัก ชนิดของู พิษของงู การดูแลเบื้องต้น การประเมินความรุนแรง การรักษา การให้เซรุ่ม งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ รายละเอียดงูพิษกัด