การรักษาพาร์กินสัน

เนื่องจากโรคนี้เป็นการเสื่อมของสมองดังนั้น การรักษาทำได้โดยการรักษาอาการเท่านั้น ยังไม่มียาใดหรือการรักษาอื่นใดที่ทำให้หายขาด ผู้ป่วยแต่ละคนจะตอบสนองต่อการรักษาไม่เหมือนกัน ยาที่ใช้รักษาได้แก่

Levodopa

สารเคมีนี้พบในพืชและสัตว์ ยานี้จะออกฤทธิ์ในเซลล์ประสาททำให้สร้างdopamineเพิ่ม แต่เราไม่สามารถให้dopamine ได้โดยตรงเนื่องจาก dopamine ไม่สามารถซึมเข้าสมองได้ ยาตัวนี้เป็นยาหลักในการรักษาผู้ป่วย เมื่อผสมกับยาcarbidopa จะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานขึ้นเนื่องจากลดอัตราการถูกทำลาย ยานี้สามารถลดอาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ โดยเฉพาะอาการเคลื่อนไหวช้า Bradykinesia และอาการเกร็งrigidity แต่อาการสั่นลดลงเพียงเล็กน้อย สำหรับเรื่องการทรงตัวและอาการอื่นๆยานี้ไม่สามารถลดอาการได้ แพทย์มักจะแนะนำให้ลดอาหารโปรตีนเพื่อให้ยาออกฤทธิ์เต็มที่

ผลข้างเคียงของยา ยานี้เมื่อใช้อาจจะต้องเพิ่มยาเพื่อควบคุมอาการ แต่ก็อาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาได้เช่น คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้คือมีการเคลื่อนไหวแบบกระตุก สั่นๆทางการแพทย์เรียกDyskinesia  สับสน หลังจากที่ใช้ยาระยะยาวและมีขนาดสูงจะเกิดอาการที่เรียกว่า on-off phenomenon คือก่อนกินยาจะมีอาการเกร็งมาก เมื่อรับประทานยาอาการจะดีขึ้น ระยะเวลาที่ดีขึ้นจะสั้นลง สั้นลง การแก้ไขภาวะนี้ให้รับประทานยาถี่ขึ้นแต่มีขนาดยาน้อยลง

ยาอื่นๆที่นำมาใช้ได้ได้แก่

  • Bromocriptine, pergolide, pramipexole and ropinirole ยาตัวนี้จะออกฤทธิ์เหมือนdopamine ในสมอง อาจจะใช้เป็นยาเดี่ยวหรือร่วมกับlevodopa หากใช้ในระยะเริ่มต้นของโรค ยานี้ลดอาการเกร็งหรือเคลื่อนไหวช้าได้น้อย ผลข้างเคียงของยาได้แก่ วิตกกังวล paranoid จิตหลอนhallucination สับสนconfusion ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้Dyskinesia ผันร้าย คลื่นไส้อาเจียน
  • Selegiline ยาตัวนี้เมื่อให้ร่วมกับlevodopa จะช่วยลดผลข้างเคียงของยาได้ยานี้จะลดการทำลายของ levodopa ในสมอง
  • Anticholinergics เช่นartane ,congentin ยานี้จะลดอาการสั่นและเกร็งได้ดี ยานี้จะใช้ได้ผลดีหากเป็นโรคพาร์กินสันที่เกิดจากยา ผลข้างเคียงที่พบได้แก่ ปากแห้ง ตาพร่ามัว ปัสสาวะไม่ออก ความจำเสื่อม
  • Amantadime ยานี้จะเร่งให้เซลล์ประสาทหลั่งdopamine ออกมาเพิ่มขึ้น ยานี้เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเป็นโรค

โดยการผ่าตัด

นิยมน้อย จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดจะทำลายสมองที่เรียกว่าthalamus เรียกthallamotomy การผ่าตัดนี้จะลดอาการสั่นเท่านั้น ผลเสียของการผ่าตัดจะทำให้พูดช้า และอาจจะทำให้การทำงานของร่างกายไม่ประสานงาน ดังนั้นจึงไม่นิยมในการรักษา

ส่วนการผ่าตัดอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า Pallidotomy โดยการใช้ไฟฟ้าเข้าไปทำลายสมองส่วนที่เรียกว่าglobus pallidus ซึ่งจะลดอาการสั่น อาการเกร็ง และอาการเคลื่อนไหวช้า

การรักษาอีกวิธีหนึ่งเรียกDeep brain stimulation โดยการใส่ลวดเล็กๆเข้าไปยังสมองส่วนsubthallamic nucleus แล้วปล่อยไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้น

การรักษาโดยใช้อาหาร

เท่าที่ทราบยังไม่มีอาหารหรือวิตามินที่จะช่วยในการรักษาคนไข้แต่มีหลักการดังนี้

  • รับประทานอาหารสุขภาพ ให้ครบทุกกลุ่มโดยแบ่งเป็นสามมื้อ
  • ชั่งน้ำหนักอาทิตย์ละครั้งเพื่อตรวจสอบว่าไม่ขาดสารอาหาร
  • ให้รับประทานผักหรืออาหารที่มีใยมากๆ และให้ดื่มน้ำมากๆ 6-8 แก้วเพื่อป้องกันท้องผูก
  • หลีกเลี่ยงอาหารมันๆหรืออาหารที่มีcholesterolสูง
  • รับประทาน Levodopa ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง
  • อย่ารับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง

การรักษาโดยการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง อารมณ์ดีขึ้น การเดินดีขึ้

โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยไก้แก่

  • ซึมเศร้า เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนทั่วไป
  • Dementia คือสมองเสื่อม ประมาณหนึ่งในสามจะมีความจำเสื่อม บุคลิกเปลี่ยน การตัดสินใจเสียไป
  • ภาวะแทรกซ้อนจากยา เช่นDyskinesia ความดันต่ำ
  • มีปัญหาเกี่ยงกับการกลืน การเคี้ยว อาการนี้จะเกิดในระยะของโรค
  • ท้องผูกเนื่องจากลำไส้เคลื่อนไหวน้อย
  • ปัสสาวะคั่งอันเป็นผลข้างเคียงของยา
  • ปัญหาเกี่ยวกับการนอนเนื่องจากซึมเศร้า
  • ความต้องการทางเพศลดลง

การประเมินความรุนแรงของโรค

การประเมินความรุนแรงของโรคพาร์กินสันเพื่อจะได้เป็นเครื่องติดตามการดำเนินของโรค และการปรับยา การประเมินมีด้วยกันหลายวิธี เช่นประเมินแบบ Activity of diary living ซึ่งจะประเมินหัวข้อ 14 อย่าง

  กิจกรรม
การพูด
น้ำลายไหล
การกลืน
การเขียน
การตักอาหาร
การแต่งตัว
 การอาบน้ำ การเข้าห้องน้ำเอง
การพลิกตัว การห่มผ้าห่ม
การหกล้ม
การหยุดเวลาเดิน
การเดิน
สั่นมือซ้าย
สั่นมือขวา
บ่นเรื่องความรู้สึก

โดยในแต่ละข้อให้คะแนน 0-4,

  • 0 หมายถึงปกติช่วยตัวองได้เหมือคนปกติ
  • 1 หมายถึงทำได้แต่ช้า ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น
  • 2 ทำได้แต่ช้าและไม่สมบูรณ์ ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  • 3 ทำไม่ค่อยได้ ต้องการความช่วยเหลือ
  • 4 ทำไม่ได้เลย

คะแนนมีตั้งแต่ 0-56 ยิ่งคะแนนมากหมายถึงโรคเป็นมาก ต้องการความช่วยเหลือมาก

การดูแลตัวเอง

การรับประทานอาหาร

ผู้ป่วยควรจะรับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้และธัญพืชให้มากเนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก และยังมีใยอาหารมากป้องกันอาการท้องผูก บางคนไปซื้อสาหร่ายหรือยาระบายชนิดผงที่เพิ่มเนื้ออุจาระ ท่านต้องดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วเพราะหากดื่มน้ำน้อยอาจจะทำให้อาการท้องผูกแย่ลง

ต้องหลีกเลียง ชา กาแฟ อาหารมันๆโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวเช่น เนื้อแดง นม เนย กะทิ ไอศกรีม

การเคี้ยวและการกลืน

เนื่องจากผู้ป่วยในระยะท้ายจะมีปัญหาเรื่องการกลืน วิธีการที่จะลดปัญหาได้แก่

  • ตักอาหารพอคำแล้วเคี้ยวให้ละเอียด
  • กลืนให้หมดก่อนที่จะป้อนคำต่อไป
  • ควรจะมีแผ่นกันความร้อนรองเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเย็น
  • ควรเลือกอาหารที่เคี้ยวง่าย

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยอย่างมากเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดีขึ้น ข้อมีการเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันข้อติด อารมณ์ดีขึ้น วิธีการออกกำลังกายอาจจะใช้การเดิน การว่ายน้ำ การทำสวน การเต้นรำ การยกน้ำหนัก แต่ก่อนกำลังกายทุกครั้งต้องมีการยืดเส้นก่อนทุกครั้ง อย่าลืมการออกกำลังใบหน้า กราม และฝึกพูดบ่อยๆ และอาจจะต้องฝึกหายใจโดยการหายใจเข้าออกแรงๆหลายๆครั้ง

การเดิน

เนื่องผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการทรงตัวและการเดิน ผู้ป่วยต้องเรียนรู้การเดิน

  • เมื่อรู้สึกว่าเดินเท้าลาก ให้เดินช้าลงแล้วสำรวจท่ายืนของตัวเอง ท่ายืนที่ถูกต้องต้องยืนตัวตรง ศีรษะไหล่และสะโพกอยู่ในแนวเดียวกัน เท้าห่างกัน 8-10 นิ้ว
  • ให้ใส่รองเท้าสำหรับการเดิน
  • การเดินที่ถูกต้องให้ก้าวยาวๆ ยกเท้าสูง และแกว่งแขน

การป้องกันการหกล้ม

เนื่องจากในระยะท้ายของโรคผู้ป่วยมักจะเสียการทรงตัวทำให้หกล้มบ่อย การป้องกันทำได้โดย

  • ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่านว่าสามารถไปรำมวยไทเก็กได้หรือไม่ เพราะการรำมวยไทเก็กจะช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวของข้อ การทรงตัว
  • เลือกรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าเป็นยางเพราะไม่ลื่น
  • ทางเดินในบ้านไม่ควรมีของเล่นหรือสิ่งของ หรือเปื้อนน้ำ
  • ติดราวไว้ในห้องน้ำ ทางเดิน บันได
  • เก็บสายไฟ สายโทรศัพท์ให้พ้นทางเดิน
  • โทรศัพท์ให้ใช้แบบไร้สายและวางไว้บนหัวเตียง

การแก้ไขเรื่องตะคริว

กล้ามเนื้อของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักจะมีอาการเกร็งอยู่ตลอดเวลา บางครั้งอาจจะเกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อของเท้า ท้อง ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด การดูแลจะช่วยลดอาการเหล่านี้

  • หากเป็นตะคริวที่เท้าให้ใช้วิธีนวด
  • หากมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อให้ใช้น้ำอุ่น หรือขวดบรรจุน้ำอุ่นประคบ
  • กำลูกบอลเพื่อป้องกันมือสั่น

การเลือกเสื้อผ้า

เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถทำงายที่มีความละเอียดต้องใช้การประสานของกล้ามเนื้อหลายๆมัด การเลือกเสื้อผ้าต้องสะดวกในการใส่

  • ให้ใจเย็นเพราะผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการใส่เสื้อผ้า
  • วางเรียงเสื้อผ้าให้ใกล้มือ
  • เลือกเสื้อผ้าที่ใส่ง่าย เช่นชุดที่สวมคลุม ไม่ควรจะมีกระดุม
  • เลือกซื้อรองเท้าหรือเสื้อที่ไม่มีกระดุม ควรเป็นแบบยางยืด
  • เวลาจะสวมเสื้อผ้า หรือรองเท้าให้นั่งบนเก้าอี้ทุกครั้ง

การนอนหลับ

ผู้ป่วยโรคนี้จะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับประมาณร้อยละ70ของผู้ป่วย ปัญหาเรื่องการนอนจะส่งผลเสียทั้งทางด้านอารมณ์ คุณภาพชิตทั้งของผู้ป่วยและคนที่ดูแลปัญหาเรื่องการนอนหลับพบได้หลายรูปแบบดังนี้

  • ผู้เข้าหลับง่ายแต่จะมีปัญหาเรื่องตื่นตอนเช้ามืด จะรู้สึกนอนไม่หลับ ขยับตัวยาก บางรายอาจจะเกิดอาการสั่น หรือบางรายหลังจากลุกขึ้นมาปัสสาวะแล้วจะเกิดอาการนอนไม่หลับ สาเหตุเกิดจากขนาดของยาไม่สามารถคุมอาการในตอนกลางคืน แพทย์ต้องปรับยาเพื่อให้ยาคุมอาการตอนกลางคืน
  • ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะหลับในตอนกลางวันมาก บางคนอาจจะหลับขณะรับประทานอาหาร ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหานอนไม่หลับในตอนกลางคืน หรือาจจะเกิดฝันร้าย สาเหตุมักจะเกิดจากยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสันมีขนาดมากไป แพทย์ต้องปรับขนาดของยาหรืออาจจะต้องเปลี่ยนชนิดของยา
  • ชนิดที่สามอากรนอนผิดปกติจากตัวโรคเอง ปกติเมื่อคนธรรมดาฝันมักจะไม่มีการเคลื่อนไหวของแขนหรือขาเนื่องจากกล้ามเนื้อมีการคลายตัว แต่ผู้ป่วยพาร์กินสันกล้ามเนื้อมีการเกร็งออยู่ตลอดเวลา เมื่อเวลาฝันอาจจะมีอาการแตะหรือถีบ ซึ่งอาจจะทำให้คนดูแลตกใจหรือได้รับบาดเจ็บกรณีที่นอนเตียงเดียวกัน ที่สำคัญต้องระวังมิให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ
  • ประสาทหลอน อาจจะหลอนเห็นผี เห็นสัตว์ทั้งใหญ่และเล็กเป็นต้น สาเหตุเกิดจากยาที่ใช้รักษาพาร์กินสัน การรักษาให้ปรับขนาดของยา

การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม

ห้องน้ำ

เนื่องจากห้องน้ำจะเล็กไม่สะดวกต่อการเคลื่อนไหว และลื่นการปรับสภาพแวดล้อมในห้องน้ำจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และยังป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น

  • พื้นห้องน้ำหรือพื้นอ่างน้ำควรใช้วัสดุที่ไม่ลื่น หรืออาจจะจะใช้พื้นยางรอง
  • ติดตั้งราวไว้ในห้องน้ำเพื่อสำหรับผู้ป่วยประคองตัว
  • ติดตั้งก๊อกน้ำสำหรับนั่งอาบ และจัดเก้าอี้สำหรับนั่งอาบ
  • ติดตั้งราวยึดเหนี่ยวไว้ข้างโถส้วม สำหรับพยุงตัวเวลานั่งหรือยืน
  • พื้นห้องน้ำควรจะแห้งอยู่ตลอดเวลา และไม่ควรลงwax
  • ให้ใช้สบู่เหลว ให้ผูกเชือกกับขวดใส่สบู่เข้ากับราว เพื่อไม่ให้สบู่หล่นใส่พื้น

ห้องนอน

การจัดเตียงนอนให้สะอาดไม่รกรุงรังจะทำให้ป้องกันอุบัติเหตุจากการหกล้ม ซึ่งมีวิธีการดังนี้

  • จัดเตียงให้มีความสูงระดับเข่า หากเตียงสูงไปให้ช่างไม้ตัดขาเตียง หากเตี้ยเกินไปก็เสริมด้วยผ้า
  • ให้หาไม้เสริมขาเตียงส่วนศีรษะเพื่อผู้ป่วยจะได้ลุกได้สะดวก
  • ติดราวไว้ข้างกำแพงเหนือเตียง 10 นิ้วเพื่อสำหรับประคองตัว

การจัดห้องนั่งเล่น

  • ทางเดินต้องโล่ง และระหว่าทางเดินควรจะมีเครื่องสำหรับยึดเหนี่ยวเพื่อกันล้ม
  • เก้าอี้ควรจะมีพนักพิงหลังและ มีที่วางแขน อาจจะเสริมเบาะเพื่อให้ความสูงพอดี
  • ติดราวบันไดไว้สำหรับยึดเหนี่ยว

การจัดห้องครัว

  • พื้นควรจะแห้งและไม่ลื่น
  • ซื้อไม้สำหรับทำความสะอาดที่มีด้ามยาว
  • เก็บของที่ใช้บ่อยๆไว้ในที่หยิบฉวยได้ง่าย
  • ให้ใช้โทรศัพท์ไร้สาย สำหรับติดต่อสื่อสาร

กลับไปหน้าแรก

เพิ่มเพื่อน