โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก Bell's palsy

หมายถึงกล้ามเนื้อใบหน้าข้างหนึ่งอ่อนแรงชั่วคราว ทำให้เกิดอาการ หลับตาไม่สนิท ลืมตาไม่สุด มุมปากตก ปากเบี้ยวเมื่อรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำจะมีน้ำลายไหล ร้อยละเจ็ดสิบของคนที่เป็นจะหายขาด

สาเหตุโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่หลายชนิด อาจจะมีเชื้ออื่นด้วย

การรักษาโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกเส้นประสาทคู่ที่7

โรคนี้มักจะหายเองได้ แต่บางรายจำเป็นจะต้องให้ยา เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท

เส้นประสาทคู่ที่7 และการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า

หน้าที่ของเส้นประสาทคู่ที่ 7 ประกอบไปด้วย

  • บังคับการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า ซึ่งได้แก่ กล้ามเนื้อหน้าผาก รอบตา กล้ามเนื้อมุมปาก
  • รับความรู้สึกของลิ้น
  • ควบคุมการหลั่งน้ำลาย และน้ำตา
  • ควบคุมการได้ยิน

จุดเริ่มต้นของเส้นประสาทคู่ที่ 7

เริ่มจากสมองส่วนกลาง และผ่านออกจากสมองทางรูที่เรียกว่า stylomastoid foramen และแยกย้ายไปเลี้ยงส่วนต่างๆดังกล่าวข้องตน

สาเหตุของโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

โรคนี้ส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์เพราะว่าปากเบี้ยว น้ำลายไหลออกจากมุมปาก ซึ่งเป็นอาการที่มาพบแพทย์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากอาการดังกล่าวยังพบว่าจะมีอาการปิดตาไม่สนิท หรือลืมตาลำบาก ไม่รับรสชาดอาหาร เป็นต้น สาเหตุก็พบได้หลายประการ เช่น การได้รับอุบัติเหตุที่เส้นประสาท เนื้องอก แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดเกิดจากการติดเชื้อ เชื้อที่เป็นสาเหตุบ่อยที่สุดคือ herpes,Ebstein-Barr virus ไข้หวัดใหญ่ Flu แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ติดเชื้อนี้ทุกคนจะต้องเป็นโรคใบหน้าเบี้ยว ขึ้นกับสภาพการตอบสนองต่อการติดเชื้อไวรัส

กลไกการเกิดโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

เนื่องจากเส้นประสาทคู่ที่7วางอยู่ในช่องเล็กของกระดูกศีรษะ เชื่อว่าเมื่อเส้นประสาทบวมเนื่องจากการอักเสบ หรือได้รับอุบัติเหตุจะทำให้เกิดการกดทับและขาดเลือดไปเลี้ยง

ใครที่ป่วยด้วยโรคนี้

โรคนี้มักจะพบในผู้ใหญ่ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน คนตั้งครรภ์ โรคเอดส์จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้

อาการของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ดังที่กล่าวเบื้องต้นว่าเส้นประสาทคู่ที่70 จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำลาย และหู อาการมักจะเป็นค่างข้างเร็วภายใน 48 ชั่วโมง ดังนั้นผู้ป่วยใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกจะมีอาการดังนี้

  • ปิดตาข้างหนึ่งลำบาก
  • จะรู้สึกตาแห้งในตาข้างหนึ่ง
  • ส่วนปลายลิ้นไม่รับรสชาด
  • มุมปากตก และน้ำลายไหลข้างที่เป็น
  • รู้สึกน้ำลายลดลง
  • จะได้ยินเสียงดังกว่าอีกข้างหนึ่ง
  • ปวดหลังหูข้างที่อ่อนแรง

การวินิจฉัยโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

หากท่านมีอาการดังกล่าวข้างต้น ท่านควรจะไปพบแพทย์ซึ่งจะซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด แพทย์จะวินิจฉัยโรคจากอาการและสิ่งตรวจพบ

เป็นโรคนี้แล้วหายขาดไหม

แม้ว่าอาการของโรคนี้จะค่อนข้างเด่นชัด และดูเหมือนว่าจะรุนแรง แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ร้อยละ 70-80 มักจะหายเองภายใน 1-3 เดือน ประมาณร้อยละ 20-30 ใบหน้ายังคงเบี้ยวไม่หายขาด

  • ผู้ที่เป็นโรคส่วนใหญ่จะหายขาดทั้งกล้ามเนื้อ การรับรสชาดอาหาร
  • กลุ่มที่สองไม่หายขาดยังมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงบ้างแต่ไม่เป็นปัญหา
  • กลุ่มที่สามกล้ามเนื้ออ่อนแรงและมีปัญหาเรื่องความสวยงาม

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะไม่หายขาด

หากท่านมีปัจจัยดังต่อไปนี้ ท่านอาจจะไม่หายขาดจากโรค

  • อายุมากกว่า 60 ปี
  • กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อ่นแรงไม่สามารถขยับได้เลย
  • น้ำตาหรือการรับรสลดลง
  • น้ำตาไหลน้อยลง
  • ปวดหลังหู

ผู้ที่มีอาการดีขึ้นไวโอกาสจะหายขาดสูงกว่าผู้ที่หายช้า

  • ผู้ที่อาการเริ่มดีภายใน 3 สัปดาห์มักจะหายขาด
  • ผู้ที่มีอาการเริ่มดี 3 สัปดาห์ภึง 2 เดือน อาการหายอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ
  • ผู้ที่เริ่มจะดีใน 2-4 เดือน มักจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าให้เห็น
  • หาก 4 เดือนไปแล้วไม่เริ่มดีมักจะไม่หาย

การรักษาแพทย์อาจจะให้ยาลดการอักเสบเพื่อให้โรคหายเร็วขึ้นโดยเฉพาะการให้ยา Steroid ภายใน 3 วันนับจากวันที่มีอาการ โดยให้ Prednisolone 1 mg/kg ให้ทั้งหมด 6 วันหลังจากนั้นจึงลดขนาดของยาลง และหยุดยาใน 10 วัน

การให้ยาต้านไวรัสรวมกับยา prednisolone พบว่าจะทำให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับยา prednisoloneอย่างเดียว

ผู้ป่วยหน้าเบี้ยวครึ่งซีกจะมีปัญหาเรื่องการปิดตา น้ำตาน้อยซึ่งจะทำให้เกิดตาแห้ง แผลถลอกที่แล้วตารวมทั้งการเกิดแผลดังนั้นการดูแลตาเป็นสิ่งที่สำคัญ ในเบื้องตนจะต้องหยอดน้ำตาเทียมให้กับผู้ป่วยในเวลากลางวัน และหยอดสารหล่อลื่นในเวลากลางคืน ในช่วง1-2 วันแรกจะต้องปิดตาให้สนิทเพื่อป้องกันการเกิดแผลซึ่งอาจจะใช้ tape หรือผ้าปิดให้สนิทและมียาหล่อลื่นอย่างเพียงพอ

เพิ่มเพื่อน