ไข้ไทฟอยด์ ไข้รากสาดน้อยTyphoid fever

ไข้ไทฟอยด์คืออะไร

ไข้ไทฟอยดทเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Salmonella Typhi และ  และ Samonella paratyphi เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำและอาหาร หากการสาธารณะสุขดีการระบาดของเชื้อนี้จะลดลง

คนรับเชื้อนี้ได้อย่างไร

คนจะรับเชื้อนี้จากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค คนที่เป็นโรคจะขับถ่ายเชื้ออกทางอุจาระ เชื้อนี้อาจจะปนเปื้อนในน้ำตามธรรมชาติ หรืออาจจะปนเปื้อนอาหาร ผู้ป่วยบางคนจะมีเชื้อในร่างกายที่เรียก carrier ซึ่งสามารถขับเชื้อออกสิ่งแวดล้อมได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่มีอาการเมื่อคนได้รับเชื้อ เชื้อจะเข้าสู่ลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม โดยทางกระแสเลือด

อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร

หลังจากได้รับเชื้อนี้1-2 สัปดาห์ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดอาการเบื่ออาหาร ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดตามตัว มีไข้สูงไข้จะสูงขึ้นเรื่อยๆสูงได้ถึง 40.5 องศาโดยไข้จะคงที่หลังจากเกิดไข้แล้ว 7 วัน มีอาการท้องร่วง บางรายอาจจะมีผื่นขึ้นตามตัว บางรายอาจจะมีอาการแน่นท้อง หากไม่รักษาผู้ป่วยบางรายหายเองได้ใน3-4 สัปดาห์

การวินิจฉัยไข้ไทฟอยด์

สามารถเพาะเชื้อจากเลือดในสัปดาห์แรก การวินิจฉัยอย่างอื่นไม่บ่งจำเพาะ

การรักษาไข้ไทฟอยด์

ก่อนที่จะมียาปฏิชีวนะอัตราการตายประมาณร้อยละ 10 แต่หลังจากมียาปฏิชีวนะอัตราการตายลดลงผู้ป่วยอาจจะตายจากปอดบวม ลำไส้ทะลุถ้าผู้ป่วยเพลียมากก็ให้น้ำเกลือ และยาปฏิชีวนะ

โรคแทรกซ้อนไข้ไทฟอยด์

  • เลือดออกทางเดินอาหาร
  • ลำไส้ทะลุ
  • ไตวาย
  • ช่องท้องอักเสบ

การป้องกันไข้ไทฟอยด์

  1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อโรค
  • ให้ดื่นน้ำต้มสุกทุกครั้ง
  • น้ำขวดจะมีความปลอดภัยสูงกว่าน้ำดื่มทั่วไป
  • เวลาดื่มน้ำไม่ต้องใส่น้ำแข็ง
  • รับประทานอาหารที่ทำให้สุกใหม่ๆ
  • ผักหรือผลไม่ต้องล้างให้สะอาดจริงๆเพราะปนเปื้อนเชื้อได้ง่าย
  • ผลไม้ที่มีเปลือกให้ปลอกเปลือกออก
  • ล้างมือก่นรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารจากร้านค้าข้างถนน
  1. การได้รับวัคซีน

ข้อมูลจากกองควบคุมโรคติดต่อ