เชื้อ Streptococcus group B

เชื้อ Streptococcus group B เป็นเชื้อที่พบในลำไส้ และช่องคลอด ในคนปกติเชื้อนี้จะไม่เป็นอันตราย แต่สำหรับทารกอาจจะติดเชื้อนี้ และมีอาการรุนแรง ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคตับก็อาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้

หากท่านเป็นคนที่ร่างกายปกติก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อนี้ สำหรับคนตั้งครรภ์เมื่อตั้งครรภ์ไตรมาศที่3ก็ต้องตรวจหาเชื้อนี้ หากพบเชื้อนี้จะต้องได้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาเชื้อนี้

อาการของโรคติดเชื้อ Streptococcus group B

ทารกส่วนใหญ่จะไม่เป็นปัญหา มีเพียงส่วนน้อยที่ติดเชื้อนี้ อาการที่สำคัญคือ

  • มีไข้
  • ซึม
  • ไม่รับอาหาร
  • ไอ
  • อาจจะมีอาการชัก

สำหรับผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะพบเชื้อนี้ในลำไส้ ช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะโดยที่ไม่มีอาการหรือป่วยเป็นโรค เชื้อนี้อาจจะก่อให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ แต่อาจจะรุนแรงเกิดโรคโลหิตเป็นพิษ ปอดบวม

สาเหตุ

แม้ว่าคนปกติจะพบเชื้อนี้ในลำไส้ ช่องคลอด แต่เชื้อก็ไม่ได้ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือติดต่อทางอาหารและน้ำดื่ม เชื้อนี้สามารถติดต่อจากแม่ไปสู่ทารกได้ สำหรับผู้สูงอายุที่ติดโรคนี้ก็ยังไม่ทราบกลไกการติดโรค

ปัจจัยเสี่ยงของการติดโรค

ทารกจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ในกรณี

  • คุณแม่มีเชื้อนี้อยู่
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด(37สัปดาห์)
  • น้ำเดินก่อนคลอดเกิน 18 ชั่วโมง
  • มีการติดเชื้อในน้ำคร่ำ
  • ตรวจเชื้อในปัสสาวะคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์
  • คุณแม่มีไข้มากกว่า 38 องศาในระหว่างคลอด
  • ทารกหัวใจเต้นเร็วในระหว่างคลอด
  • ทารกก่อนหน้านี้เคยติดเชื้อนี้
  • ตั้งครรภ์แฝด

ผู้ใหญ่

  • หากภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่นโรคเบาหวาน เอดส์ มะเร็ง
  • อายุมากกว่า 65 และหากพักใน nursing home

โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ Group B strep

  • ปอดบวมพบได้น้อยโดยมากพบในผู้ป่วยสูงอายุเป็นเบาหวาน และเป็นอัมพาตโดยมากเกิดจากการสำลักอาหาร
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักพบในทารกที่มีความพิการทางสมอง ส่วนผู้ใหญ่พบน้อย
  • โลหิตเป็นพิษมักจะเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และจากตำแหน่งที่ให้น้ำเกลือ แต่ไม่พบตำแหน่งติดเชื้อก็มาก

โรคแทรกซ้อน

การติดเชื้อ Group B strep infection อาจจะทำให้ทารกเสียชีวิต และเกิดโรคแทรกซ้อน

  • ปอดบวม
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โลหิตเป็นพิษ

สตรีกำลังตั้งครรภ์

  • เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • เกิดการติดเชื้อของรก และน้ำคร่ำ
  • โลหิตเป็นพิษ

ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว

การตรวจและวินิจฉัยเชื้อ Streptococcus group B

  • สตรีที่ตั้งครรภ์อายุ 35-37 สัปดาห์ควรจะตรวจหาเชื้อนี้โดยการเพาะเชื้อจากลำไส้ใหญ่ และช่องคลอด หากพบเชื้อนี้จะต้องป้องกันการติดเชื้อของทารก
  • หากสงสัยว่าทารกจะติดเชื้อแพทย์จะเพาะเชื้อจากเลือดและน้ำไขสันหลัง

การรักษาเชื้อ Streptococcus group B

  • หากเชื้อที่เป็นสาเหตุเป็นเชื้อนี้จะต้องให้ยาปฏิชีวนะ penicillin หรือ cephalexin

การป้องกันเชื้อ Streptococcus group B

หากพบเชื้อนี้ระหว่างตั้งครรภ์แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะในระหว่างคลอดโดยจะให้ในราย

  • มีทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  • ลูกคนก่อนติดเชื้อนี้
  • มีไข้ระหว่างคลอด
  • น้ำเดินก่อนคลอดเกิน 18 ชั่วโมง
  • คลอดก่อนกำหนดและไม่เคยตรวจหาเชื้อ group B strep

หากคลอดด้วยวิธีผ่าตัดก็ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ