ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ neutropenia

neutrophil หมายถึงผู้ป่วยที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาว Leukopenia หมายถึงจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ ส่วน neutrophil ในเลือดต่ำ จะทำให้ระบบป้องกันตัวเองอ่อนแอทำให้เชื้อโรคลุกลามเข้าสู่ร่างกาย

ค่าปกติของ neutrophils จะไม่ต่ำกว่า 1500 cells/µL ดังนั้นหากต่ำกว่านี้จะถือว่าเกิดภาวะ Neutropenia หรือภาวะ neutrophil ต่ำ

  • เม็ดเลือดขาวจะมีค่าประมาณ 4.5–11.0 x 109 /L
  • ส่วนเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophils จะมีประมาณ 3–7 x 109/L

ความรุนแรงของเม็ดเลือดขาวต่ำ neutropenia แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  • ชนิดอ่อนเมื่อ neutrophil อยู่ระหว่าง 1000-1500 cells/µL,
  • ความรุนแรงปานกลางเมื่อ neutrophil อยู่ระหว่าง 500-1000/µL
  • ชนิดรุนแรงเมื่อ neutrophil น้อยกว่า 500 cells/µL. ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อค่อนข้างสูง

อาการของเม็ดเลือดขาวต่ำ Neutropenia

ลำพังในเลือดขาวต่ำไม่ทำให้เกิดอาการอะไรแต่จะมีอาการเกิดจากการติดเชื้อโดยเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรียรุกรานที่เยื่อบุ และผิวหนัง อาการที่สำคัญได้แก่

  • การเป็นแผล
  • มีฝี
  • มีแผลที่หายยาก
  • นอกจากนั้นยังมีอาการของไข่ศึกษาสาเหตุ

หากคุณมีเม็ดเลือดขาวต่ำ Neutropenia และมีอาการดังต่อไปนี้ให้ปรึกษาแพทย์

  • มีไข้เกิน 38°C (100°F)
  • เหงื่อออกและหนาวสั่น
  • เจ็บคอและมีหนองในคอ
  • ไอและหอบเหนื่อย
  • ปัสสาวะแล้วปวด ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น
  • ท้องร่วง
  • ฝีที่ก้น
  • แผลหรือมีฝีที่ผิวหนัง

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อได้แก่การ

  • จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำมาก
  • ระยะเวลาที่ เม็ดเลือดขาวต่ำ

สาเหตุของเลือดขาวต่ำ Neutropenia

แบ่งออกเป็น 4 ประการ

  1. ปัญหาเกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดขาวที่ไขกระดูก
  2. เกี่ยวกับการทำลายเม็ดเลือดขาวที่ไขกระดูก
  3. การติดเชื้อ
  4. การขาดสารอาหาร

สาเหตุเกิดจากการสร้างเม็ดเลือดขาวที่ไขกระดูกลดลง

  • สาเหตุเกิดจากไขกระดูกไม่ทำงาน
  • เกี่ยวกับโรคที่ไขกระดูกเช่นมะเร็งเม็ดเลือด leukemia
  • การให้รังสีรักษา
  • การให้เคมีบำบัด

การติดเชื้อที่ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำได้แก่

  • การติดเชื้อวัณโรค
  • การติดเชื้อไข้เลือดออก
  • โรคติดเชื้อไวรัส เช่น Epstein-Barr virus, cytomegalovirus, HIV, viral hepatitis

ส่วนสาเหตุที่เกิดจากการทำลายของเม็ดเลือดขาวเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน

  • Crohn's disease
  • โรค sle
  • โรครูมาตอยด์

ยาบางชนิดทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ

  • เช่นยาปฏิชีวนะ
  • ยาลดความดันโลหิต
  • ยารักษาโรคจิตเวช
  • ยารักษาโรคลมชัก

การวินิจฉัยโรคเม็ดเลือดขาวต่ำ Neutropenia

  • แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกาย ประวัติการใช้ยา ประวัติการเจ็บป่วย
  • ตรวจสัญญาณชีพที่สำคัญ
  • เจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด complete blood count (CBC)
  • หากพบว่าเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil ต่ำแพทย์อาจจะเจาะไขกระดูก
  • ตรวจปัสสาวะ เพาะเชื้อจากปัสสาวะ และเลือด
  • การตรวจทางรังสี

การรักษาโรคเม็ดเลือดขาวต่ำ Neutropenia

การรักษาขึ้นกับสาเหตุของเม็ดเลือดขาวต่ำ ความรุนแรงของเม็ดเลือดขาวต่ำ และโรคแทรกซ้อน การรักษาแต่ละคนจะไม่เหมือนกันขึ้นกับความเหมาะสม สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการ เม็ดเลือดขาวต่ำไม่มาก และอาจจะหายเองได้ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องให้การรักษา

  • หากมีโรคแทรกซ้อนเช่นการติดเชื้อก็จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ
  • สำหรับผู้ที่เม็ดเลือดขาวต่ำจากการที่มีภูมิคุ้มกันมากก็จำเป็นต้องให้ยากดภูมิคุ้มกัน
  • การให้ยา granulocyte colony-stimulating factor เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวในกรณีที่มีอาการรุนแรง
  • หากเม็ดเลือดขาวต่ำจากยาแนะนำให้เปลี่ยนยา
  • รักษาโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุ
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคไขกระดูกฝ่อก็อาจจะจำเป็นต้องปลูกถ่ายไขกระดูก

การดูแลเรื่องสุขอนามัยสำหรับผู้ที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ

เป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

  • เรื่องที่สำคัญคือสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่นการล้างมือบ่อยๆโดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ ให้พกแอลกอฮอลล์เหลวหากไม่มีน้ำล้างมือ
  • การดูแลฟัน การแปลงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน
  • อาบน้ำอุ่นได้แต่ไม่ให้ร้อนเกินไปซึ่งจะทำให้ผิวแห้ง และเกิดแผลได้ง่าย ใช้ผ้าเช็ดตัวซับให้แห้งไม่ใช้การขัดหรือถู
  • ใช้ครีมบำรุงผิวเพื่อให้ความชุ่มชื้น
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับคนป่วย
  • ให้สวมรองเท้า
  • เมื่อมีแผลให้ทำความสะอาดและปิดแผลด้วยพลาสเตอร์
  • ใช้เครื่องโกนหนวดไฟฟ้า
  • หลีกเลี่ยงมูลสัตว์ทั้งหลาย
  • ไม่เปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็ก
  • รับประทานอาหารที่สุกแล้วเท่านั้น ผักผลไม้สดควรจะหลีกเลี่ยงหากจะรับประทานต้องล้างให้สะอาด
  • ห้ามบีบหรือแกะสิว
  • ให้ใส่ถุงมือเมื่อล้างจานหรือทำสวน
  • ใช้ผ้าอนามัยชนิดแผ่นแทนการใช้ชนิดสอด
  • หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ
  • หลีกเลี่ยงที่ชุมชนเนื่องจากจะติดเชื้อได้ง่าย
  • การฉีดวัคซีนจะต้องปรึกษาแพทย์
  • ไม่ใกล้ชิดกับเด็กที่ฉีดวัคซีนชนิดไวรัสที่ยังมีชีวิต

ภาวะที่อาจจะทำให้เกิดเม็ดเลือดขาวต่ำ

  1. Alcoholism
  2. Aplastic anemia
  3. Chemotherapy
  4. Chronic idiopathic neutropenia in adults
  5. Drugs, such as antibiotics and diuretics
  6. Hepatitis A
  7. Hepatitis B
  8. Hepatitis C
  9. HIV/AIDS
  10. Hypersplenism, a premature destruction of blood cells by the spleen
  11. Hyperthyroidism
  12. Kostmann's syndrome, a congenital disorder involving low neutrophil production
  13. Leukemia
  14. Lupus
  15. Lyme disease
  16. Malaria
  17. Myelodysplastic syndromes
  18. Myelofibrosis
  19. Myelokathexis, a congenital disorder involving failure of neutrophils to enter the bloodstream
  20. Other autoimmune disorders
  21. Other congenital disorders
  22. Other infectious diseases
  23. Other parasitic diseases
  24. Radiation therapy
  25. Rheumatoid arthritis
  26. Salmonella infection
  27. Sepsis
  28. Syndrome-associated neutropenia
  29. Vitamin deficiencies