Eosinophilia

เซลล์เม็ดเลือดขาว eosinophils มีหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อหนอนพยาธิ์ ภูมิแพ้ การอักเสบของเนื้อเยื่อ ปกติเมื่อตรวจเลือดจะพบ Eosinophil ประมาณ 450 เซลล์

  • หากมี Eosinophil มากกว่า 500 eosinophils per microliterแสดงว่าเป็น eosinophilia
  • หากมากกว่า 1,500 eosinophils per microliter เป็นเวลาหลายเดือน แสดงว่าเป็น hypereosinophilic syndrome.

ประวัติการเจ็บป่วย

สำหรับท่านที่เจาะเลือดแล้วพบว่า Eosinophil มีปริมาณสูงจะต้องซักประวัติเพิ่มเติม

  • ประวัติการท่องเที่ยวโดยเฉพาะไปท่องเที่ยวยังถิ่นที่มีการระบาดของหนอนพยาธิ์
  • ประวัติการรับประทานอาหาร อาหารสุกๆดิบๆ รับประทานปลาน้ำจืดที่ไม่สุก หอยโข่ง ลาบเลือด
  • ประวัติการใช้ยา
  • ประวัติการเจ็บป่วยอื่นๆ
  • การตรวจร่างกายทั่วๆไป

สาเหตุ Eosinophilia

  • โรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้: โรคหอบหืด ลมพิษ ผื่นแพ้ ภูมิแพ้  
  • แพ้ยา ยาที่มักจะทำให้เกิด eosinophilia ได้แก่ ยากันชัก allopurinol ยา sulfonamides ยาปฏิชีวนะ  
  • โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันธ์ Connective tissue disease:
    • Churg-Strauss syndrome. หลอดเลือดอักเสบ Vasculitis เป็นโรคที่เป็นกับอวัยวะหลายระบบโดยเฉพาะที่ปอด ผู้ป่วยจะมีอาการ หอบหืด
    • Rheumatoid arthritis.
    • Eosinophilic fasciitis
    • หลอดเลือดอักเสบ Polyarteritis nodosa.
    • Eosinophilia myalgia syndrome.
  • การติดเชื้อ: โดยเฉพาะหนอนพยาธิ์ทั้งหลาย พยาธิ์ไส้เดือนตัวกลม ascariasis,พยาธิ์แส้ม้า trichinellosis, พยาธิ์ปากขอ
  • Hypereosinophilic syndromes (HES).
  • เนื้องอก:
    • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Lymphoma (eg, Hodgkin's lymphoma, non-Hodgkin's lymphoma).
    • มะเร็งเม็ดเลือดขาว Leukaemia: chronic myeloid leukaemia, adult T-cell leukaemia/lymphoma (ATLL), eosinophilic leukaemia (very rare).
    • มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือ มะเร็งปอด 
  • โรคต่อมไร้ท่อ: ต่อมหมวกไตทำงานน้อย
  • โรคผิวหนัง- pemphigus, dermatitis herpetiformis, erythema multiforme.

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคEosinophilia

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคจะต้องอาศัย ประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย และการเจาะเลือดตรวจ