โรคพยาธิแส้ม้า
โรคพยาธิแส้ม้า เป็นโรคหนอนพยาธิที่มีสาเหตุจาก Trichuris trichiura ตัวพยาธิมีลักษณะคล้ายแส้จึงเรียกว่า human whip worm
วงจรชีวิติของพยาธแส้ม้า

พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะส่วนซีคั่ม ยาธิตัวเมียจะออกไข่วันละ 3000-7000 ฟอง ไข่จะออกมากับอุจาระลงสู่พื้นดิน
เมื่ออุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ไข่จะเจริญเติบโตเป็นระยะ 2 เซลล์
และจะกลายเป็นตัวอ่อน( advanced
cleavage stage)
และจะกลายเป็นตัวอ่อนในระยะติดต่อ
๙งใช้เวลาทั้งหมด
15-30 วัน หลังจากที่คนรับประทานไข่เข้าไป ไข่จะแตกเป็นตัวอ่อนที่ลำไส้เล็ก และตัวอ่อนจะเจริญเติบโต
และจะกลายเป็นตัวอ่อนที่ลำไส้ใหญ่
โดยใช้ส่วนหัวและลำตัวฝังที่ผนังลำไส้ใหญ่ ตัวแก่จะมีความยาวประมาณ 4 เซ็นติเมตร
ตัวเมียจะเริ่มวางไข่หลังจากรับประทาน 60-70 วัน ตัวพยาธิจะมีอายุประมาณ 1 ปี
เขตปรากฏโรคพยาธิแส้ม้า
พบได้ทั่วโลก ในประเทศไทยมีมากทางภาคใต้ ส่วนภาคอื่นๆมีบ้างแต่ไม่มาก และจะพบมากในเด็ก
อาการของโรคพยาธิแส้ม้า
ถ้ามีพยาธิน้อยอาจจะไม่เกิดอาการ แต่ถ้ามีพยาธิมากอาจจะเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรืออุจาระเป็นมูกเลือด ซีดอ่อนเพลีย ทั้งนี้เพราะพยาธิจะทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้ และเกิดติดเชื้อแบคทีเรีย
การวินิจฉัยโรคพยาธิแส้ม้า
ตรวจอุจาระไข่และตัวแก่ในอุจาระ
![]() |
![]() |
![]() |
การรักษาโรคพยาธิแส้ม้า
- ใช้ยา Thiabendazole ขนาด 25 มก/กกหลังอาหาร เช้าเย็นเป็นเวลา 3วัน
- Mebendazoleขนาด 100 มกเช้าเย็นเป็นเวลา 3 วัน
การป้องกันโรคพยาธิแส้ม้า
- ควรถ่ายอุจาระลงส้วม
- ไม่ควรรับประทานผักสดที่ล้างไม่สะอาด
- ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
เรียบเรียง 17/12/2545