การประเมินความเสี่ยงโดยอาศัยลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ


จากการศึกษาของ TIMI III Registry ในผู้ป่วย UA/NSTEMI 1416 คน ติดตามผู้ป่วยนาน 1 ปี โดยดูในแง่การเสียชีวิตหรือเกิด MI ซ้ำภายในเวลา 1 ปี




ตามลักษณะ ECG แรกรับเรียงลำดับตามความรุนแรง ดังนี้ (ภาพที่ 3)

  1. Left bundle-branch block (LBBB) มี relative risk 2.8 ตามโอกาส การเสียชีวิตหรือ non fatal MI
  2. ST depression ตั้งแต่ 1.0 มม. ขึ้นไป พบในผู้ป่วย ที่มีความเสี่ยงสูง เกิด dealth/MI 11% (relative risk 1.89)
  3. T-wave inversion เกิด death/MI เพียง 6.8% แต่อาจมีความสำคัญถ้าเป็น symmetrical deep Twave inversion โดยเฉพาะถ้าพบที่ precardial leads V1-V4 ซึ่งสัมพันธ์กับ proximal หรือ mid left anterior descending coronary artery stenosis
  4. Normal ECG มีความเสี่ยงต่ำ การดำเนินโรค ไม่รุนแรง เกิด death/MI เพียง 8.2%

คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะตรวจภายใน 10 นาทีหลังจากมาถึงโรงพยาบาล

หากคลื่นไฟฟ้าไม่แสดงว่ากล้ามเนืื้อหัวใจขาดเลือด แต่ผู้ป่วยมีอาการเหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็ให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำที่ 15และ 30 นาที

การประเมินความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การประเมินความเสี่ยงจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การประเมินความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

Google
 

เพิ่มเพื่อน