มะเร็งผิวหนัง Basal cell carcinoma

มะเร็งผิวหนัง Basal cell carcinoma เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด เชื่อว่าเกิดจากการสัมผัสแสงแดดมากเพราะชีวิตคนอยู่นอกบ้านมากกว่าในบ้าน ละเนื่องจากชั้น ozone ในบรรยากาศลดลงทำให้รังสี UV มายังโลกมากขึ้น มะเร็งชนิดนี้แพร่กระจายช้า หากพบเร็วการรักษาจะหายขาด

ลักษณะของมะเร็งผิวหนัง

พบมากที่บริเวณที่เจอแสงแดดมากเช่น ในหน้า จมูกหนังศีรษะ หู จมูก หน้าอก หลัง ขา นอกจากนั้นมะเร็งผิวหนังอาจจะพบบริเวณผิวหนังที่เคยได้รับรังสี สัมผัวสารหนู แผลเป็นจากแดดเผา ติดเชื้อ แผลฉีดวัคซีน มีด้วยกันหลายลักษณะดังนี้

  • ลักษณะจะเป็นก้อนกลมนูนสีขาว อาจจะเห็นเส้นเลือดที่ผิวของเนื้องอก
  • หลายคนอาจจะมีลักษณะเหมือนสิวที่เป็นๆหายๆ
  • บางคนจะมีลักษณะก้อนแบนๆเหมือนไขมัน

 

ba

มะเร็งเป็นผื่นแบนราบ

basal

มะเร็งเป็นก้อน

bas

บางส่วนเห็นได้ชัดบางส่วนเป็น ผื่นบาง

basa

มะเร็งที่บางส่วนเป็นเนื้อบางส่วน แบนราบ

อาการที่สำคัญคือ ระคายเคืองบริเวณก้อน เป็นแผลเป็นๆหายๆ และมีเลือดออก



การตรวจวินิจฉัยและการรักษามะเร็งผิวหนัง

เมื่อคุณพบก้อนตามร่างกายหรือเป็นแผลที่ไม่หาย และได้ปรึกษาแพทย์เมื่อแพทย์สงสัยก็จะตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ และเมื่อผลออกมาว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้ แพทย์ก็จะนัดผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก การผ่าตัดก็ไม่ยากเนื่องจากเนื้อร้ายจะอยู่ที่ผิวๆ และหากคุณเป็นมะเร็งชนิดนี้ คุณมีโอกาสเป็นใหม่ได้ร้อยละ 40 คุณต้องคอยเฝ้าระวัง

การรักษามะเร็งผิวหนัง

ขึ้นกับตำแหน่ง ขนาด ชนิดของมะเร็งผิวหนัง ความลึกที่มะเร็วผิวหนังลุกลาม อายุผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะผ่าตัดที่ผู้ป่วยนอกี ในการตัดชื้นเนื้อแพทย์จะตัดเอาเนื้อดีรอบมะเร็งเพื่อส่องกล้อง หากพบว่ามีเซลล์มะเร็งแพทย์จะตัดชิ้นเนื้อรอบๆเพื่อเพื่อให้แน่ใจว่าตัดเอามะเร็งออกหมด ผลการรักษาส่วนใหญ่ได้ผลดี นอกจากนั้นอาจจะใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นเช่น

  • การจี้ด้วยความร้อน electrocautery
  • การฉายแสง
  • การใช้ ไนโตรเจนเหลว Cryosurgery
  • การใช้แสง วิธีการทำให้ทาสาร Topical 5-aminolevulinic acid (5-ALA) ทีบริเวณมะเร็งเซลล์มะเร็งจะดูดสารนั้นไว้ วันรุ่นขึ้นจึงฉายแสงไปยังมะเร็งซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายเนื้อมะเร็งโดยที่เซลล์ปกติจะไม่ถูกทำลาย
  • การใช้เลเซอร์รักษา
  • การใช้ยา 5-Fluorouracil (5-FU)

การป้องกันมะเร็งผิวหนัง

  • หลีกเลี่ยงแสงแดดช่วงเวลา 10.00ถึง16.00 น
  • หลีกเลี่ยงการอาบแดด
  • หลีกเลี่ยงการทำให้ผิวสีแทน
  • สวมเสื้อให้มิดชิด แว่นกันแสง หมวกปีกกว้าง
  • ทาครีมกันแสงที่มี SPF >15 ทุกวัน หากมีกิจกรรมกลางแจ้งให้ทาครีมกันแดด SPF >30 ก่อนทำกิจกรรม 30 นาที
  • ไม่ควรให้ทารกถูกแสงแดด
  • ตรวจผิวหนังตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า

ให้หลีกเลี่ยงแสงแดด

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ผู้ที่สัมผัสแสงแดด ผู้ที่ผิวบาง ผมสีแดงหรือสีทอง ตาสีฟ้า หรือสีเขียวหรือสีเทา มักจะเป็นในคนสูงอายุ ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน