โรคหิด Scabies

 

โรคหิดเป็นโรคที่เกิดจากปาราสิตไชเข้าผิวหนังทำให้เกิดตุ่มคัน หิดเป็นโรคติดต่อโดยการสัมผัสกันโดยตรง สามารถเกิดที่ผิวหนังได้ทั่วร่างกายหิด Scabies

เป็นการติดเชื้อปาราสิตที่มีชื่อว่า Sarcoptes scabiei ตัวเมียจะฝังตัวใต้ผิว และขึ้นมาวางไข่วันละ 2-3 ฟอง ไข่จะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 10 วันจึงจะเป็นตัวอ่อน

การติดต่อของโรคหิด

โรคนี้จะติดต่อโดยการสัมผัส ระหว่างผิวหนังที่เป็นโรคและผิวหนังปกติ การติดต่อมักจะเกิดเมื่อนอนร่วมกันเป็นเวลานาน การร่วมเพศอย่างเดียวมีโอกาศติดเชื้อนี้น้อย

นอกจากนั้นโรคนี้ยังติดต่อโดยการจับมือ เสื้อผ้า หรือเครื่องใช้ แม้กระทั่งฝาโถส้วมก็สามารถติดต่อได้ เมื่อได้รับเชื้อแล้ว 4-6 สัปดาห์จึงจะเกิดอาการคันดังนั้นแม้ว่ายังไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อหิดได้

โรคหิด

อาการของผู้ที่เป็นโรคหิด

  • คันมากโดยเฉพาะเวลากลางคืน
  • มีรอยเคลื่อนที่ของตัวปาราสิตเป็นรูป s
  • ผิวหนังสีตุ่มสีน้ำตาล

ตำแหน่งที่ติดเชื้อบ่อยคือ ซอกนิ้วมือนิ้วเท้า หัวเหน่า ขาหนีบ ข้อมือ เต้านม อัณฑะ ท้อง ส่วนบริเวณที่พบน้อยได้แก่ฝ่ามือฝ่าเท้า

การวินิจฉัยโรคหิด

  • ขูดบริเวณที่เป็นโรคแล้วส่องกล้องจุลทัศน์จะพบตัวเชื้อโรค
  • ใช้เข็มขูดตามแนวทางเดินเพื่อเอาตัวเชื้อออกมาตรวจ

การรักษาโรคหิด

หลักการรักษาจะต้องรักษาสมาชิกในครอบครัวที่มีความใกล้ชิด และรักษาคู่นอน เสื้อผ้า เครื่องใช้ส่วนตัวก่อนหน้าการรักษาสามวันให้แยกออกไว้อย่างน้อย 3 วัน หรือซักด้วยน้ำร้อนและอบแห้ง

  • ยาที่ใช้รักษาได้แก่ Permethrin cream ทาตั้งแต่คอลงมาทิ้งไว้ 8 ชั่วโมงแล้วล้างออก
  • ยาที่เป็นทางเลือก Lindane ทาตั้งแต่คอลงมาทิ้งไว้ 8 ชั่วโมงแล้วล้างออก
  • ไม่ควรใช้ยานี้ในบริเวณผิวหนังที่มีแผล หรือหลังอาบน้ำใหม่ๆ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี คนท้อง คนที่มีประวัติโรคชัก
  • การรักษาควรจะรักษาทั้งครอบครัว หรือคู่นอน ที่อยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด
  • อาการคันมักจะเกิดจากภูมิแพ้ต่อตัวหิดและอุจาระ ดังนั้นอาจจะมีอาการคันหลังรักษา แต่หากอาการคันเป็นนานเกินสองสัปดาห์หรือมีผื่นเกิดขึ้นใหม่อาจจะพิจารณารักษาใหม่

ยาที่ใช้รักษาโรคหิด

  1. Permethrin cream 5% ยานี้ฆ่าทั้งตัวเชื้อ และไข่ ให้ทาอาทิตย์ละครั้งสองอาทิตย์ติดต่อกันเป็นยาที่องค์การอาหารและยาของอเมริกาแนะนำให้ใช้

  2. Crotamiton lotion 10% and Crotamiton cream 10%

  3. Lindane lotion 1% เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงมากจึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาตัวแรก จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล และไม่ควรใช้ในเด็ก คนที่มีประวัติชัก คนตั้งครรภ์ คนที่กำลังให้นม หรือมีโรคผิวหนัง

  4. Ivermectin เป็นยารับประทานจะใช้ในกรณีที่ติดเชื้อรุนแรง หรือใช้ยาอื่นแล้วไม่ได้ผล

การป้องกันโรคหิด

  • ใช้ยาให้ครบ
  • รักษาสมาชิกในครอบครัว
  • งดมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ยังมีอาการ
  • นำเสื้อผ้าไปต้มที่อุณหภูมิ 130 องศาและอบร้อนเป็นเวลา 20 นาที
  • สำหรับอุปกรณ์ที่ต้มไม่ได้ให้ทำความสะอาดแล้วเก็บแยกไว้เป็นเวลา 2 สัปดาห์
  • สำหรับบ้านที่ใช้พรมให้ใช้เครื่องดูดฝุ่นแล้วนำผงไปทิ้ง

คำถามที่พบบ่อย

เชื้อหิดจะอยู่ในร่างกายนานแค่ไหน

หากเชื้อหิดอยู่ในร่างกายจะมีอายุ 1-2 เดือน หากอยู่ภ่ยนอกร่างกายจะมีอายุ 2-3 วัน เชื้อหิดจะตายเมื่อุณหภูมิมากกว่า 50 องศา

จะติดหิดมาจากสัตว์เลี้ยงได้หรือไม่

ไม่ของสัตว์และของคนเป็นคนละสายพันธ์

จะติดโรคหิตจากการใช้ผ้าเช็ดตัว หรือสระว่ายน้ำได้หรือไม่

มีโอกาสติดเชื้อหิดจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มาก นอกเสียจากว่าเสื้อผ้าดังกล่าวถูกใช้โดยคนที่เป็นหิดอย่างรุนแรงเช่นผู้ป่วยที่มีภูมิบกพร่อง

เราจะเอาเชื้อหิดออกจากผ้าได้อย่างไร

  • ปรกติเชื้อหิดจะมีอายุไม่เกิน 3 วันหากอยู่นอกร่างกาย ดังนั้นหากเราสงสัยก็แยกเสื้อผ้าสักสามวัน
  • ซักผ้าในน้ำร้อน และอบแห้ง

หากไปสัมผัสกับคนที่ติดหิดจะต้องทำอะไร

การที่จะพิจารณาว่าติดหิดหรือไม่จะพิจารณาจาก

  • ชนิดของโรคหิตหากเป็นชนิดไม่รุนแรงและเพียงแค่จับมือก็มีความเสี่ยงต่ำ หากผู้นั้นเป็นหิดรุนแรงเพียงแค่สัมผัสมือก็มีความเสี่ยงที่จะติดสูง
  • ระยะเวลาที่ผิวหนังสัมผัสกัน หากผิวหนังสัมผัสกันนานก็มีโอกาศติดเชื้อหิดสูง
  • ผู้ที่เราสัมผัสได้รับการรักษาหรือยัง หากรักษาแล้วโอกาศติดเชื้อหิดจะน้อยลง
  • หากการสัมผัสกับคนที่สงสัยและสัมผัสไม่นานก็ไม่น่าจะติดเชื้อหิด
  • หากสัมผัสกับคนที่เป็นหิดชนิดรุนแรงแม้ว่าแค่สัมผัสมือก็มีความเสี่ยงที่จะติดหิด

คลิกดูภาพโรคหิด