หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

อาหารสำหรับผู้ที่ล้างไตทางหน้าท้อง


ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้องมักจะมีภาวะขาดสารอาหาร และมีภาวะไขมันในเลือดสูง ดังนั้นจำเป็นต้องเรียนรู้อาหารสำหรับผู้ที่ล้างไตทางหน้าท้อง

ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร (CAPD- Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis) เพื่อลดการคั่งของของเสียและน้ำ ช่วยให้ ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ในการรักษาทดแทนไตด้วยการทำ CAPD นี้ จะมีการสูญเสียสารโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ไปกับน้ำยาที่ใช้ล้างช่องท้อง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้ เพียงพอ มิฉะนั้นอาจขาดสารอาหารได้ ภาวะโภชนาการที่พบได้ในผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้อง

ภาวะขาดอาหาร

ปัญหาโภชนาการที่มักพบในผู้ที่ได้รับการรักษาทดแทนไตด้วยการ ทำ CAPD คือ รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนไม่เพียงพอ ทำให้ขาดโปรตีน มีระดับอัลบูมีนในเลือดต่ำเนื่องจาก

เหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดการ ขาดสารโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่อื่นๆได้

ภาวะน้ำหนักเกิน

ผู้เป็นโรคไตที่รักษาด้วยการทำ CAPD ควรปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหารอย่างไร โดยสรุป ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหารดังนี้



การดูแลเรื่องอาหารอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการบำบัด ทดแทนไตด้วยการล้างท้องชนิดถาวร (CAPD) จะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ ช่วยให้มีสุขภาพดี

ผู้เป็นโรคไตที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างช่องท้องชนิดถาวร (CAPD) รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้มากน้อยเพียงไร

ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการทำ CAPD ควรรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนให้เพียงพอ ได้แก่ เนื้อ หมู ไก่ ปู ปลา กุ้ง และไข่ขาว ทั้งนี้เพราะการทำ CAPD จะสูญเสียอัลบูมินซึ่งเป็นสารโปรตีนไปกับน้ำยาล้างช่องท้อง ผู้ป่วยจึงต้องรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น เพื่อชดเชยปริมาณโปรตีนที่ สูญเสียไป และเพื่อให้ร่างกายนำสารโปรตีนเหล่านี้ไปใช้ในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ โดย รับประทานเนื้อหมู เนื้อไก่ ที่ไม่ติดมันและหนัง หรือเนื้อปลา มื้อละ 4 ช้อนกินข้าวพูนพอควร (2 รายการในรายการด้านล่าง) วันละ 3 มื้อ หรือจะแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก 4-5 มื้อก็ได้ ไข่ไก่ควรได้รับสัปดาห์ละ 2 ฟอง ยกเว้นผู้ที่มีฟอสฟอรัสในเลือดสูง ควรงดไข่แดง หากเป็นไข่ขาวรับประทานได้ทุกวัน วันละ 4 ฟอง โดยเฉพาะผู้ที่มีระดับอัลบูมินต่ำกว่า 3.5 กรัม/ลิตร

ผู้เป็นโรคไตรับประทานข้าว / ก๋วยเตี๋ยวหรืออาหารจำพวกแป้งอื่นๆได้มากน้อยเท่าไร

ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมปัง ขนมจีน ข้าวโพด เผือก มัน ฯลฯ เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ควรได้รับข้าวมื้อละ 2-3 ทัพพี หรือก๋วยเตี๋ยวก็ได้ เพื่อใช้เป็นพลังงานในการทำงานของอวัยวะต่างๆภายใน ร่างกาย รวมทั้งใช้ในการทำงานและกิจกรรมอื่นๆ และการได้รับอาหารที่ให้พลังงานอย่างเพียงพอ ยังช่วย ให้ร่างกายสามารถนำสารโปรตีนไปใช้ในการเสริมสร้างซ่อมแซมเซลล์ และกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการทำ CAPD จะได้รับการใส่น้ำยาไปในช่องท้อง ทำให้รู้สึกแน่น อึดอัดท้อง และบางครั้งรู้สึกเบื่ออาหาร ทำให้รับประทานข้าว ก๋วยเตี๋ยวได้น้อยลง จึงควรแบ่งมื้ออาหาร เป็นมื้อเล็ก วันละ 4-5 มื้อ โดยจัดให้มีอาหารว่างระหว่างมื้อ ในแต่ละมื้อควรมีเนื้อสัตว์ เช่น ปลา ไก่ ให้เพียงพอด้วย เพื่อป้องกันการขาดสารโปรตีน สำหรับผู้ที่อ้วนมาก ควรลดปริมาณข้าวหรืออาหารจำพวก แป้งอื่นๆลงบ้าง เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD จะรับประทานขนมหวาน น้ำหวานได้หรือไม่

ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวานจัด น้ำหวาน เนื่องจากใน น้ำยาล้างไตมีกลูโคสผสมอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ใช้น้ำยาซึ่งมีความเข้มข้นของกลูโคส 4.25% กลูโคสจะถูกดูดซึมเข้าไปมาก อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ระดับอินสุลินในเลือดสูงขึ้น น้ำหนัก ตัวเพิ่มขึ้น มีภาวะต้านอินสุลิน เกิดโรคเบาหวาน และมีภาวะไขมันในเลือดสูง จึงควรหลีกเลี่ยงขนมที่ หวานจัด เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ขนมหม้อแกง ฯลฯ ขนมเชื่อมต่างๆ ขนมน้ำเชื่อม ขนมกวน รวมทั้งน้ำหวาน บางครั้งถ้าอยากรับประทานขนมหวาน ควรเลือกรับประทานขนมที่หวานน้อย เช่น ขนมกล้วย ขนมมัน ขนมตาล ขนมสาลี่ เค้กไม่มีหน้า ฯลฯ ควรหลีกเลี่ยงขนมที่มีเนยหรือกะทิ และ พยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ต้องจำกัดอาหารจำพวกไขมันหรือไม่

ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD จะได้รับพลังงานส่วนเกินจากกลูโคสในน้ำยาล้างช่องท้อง ทำให้ อ้วน มีระดับไตรกลีเซอไรด์และระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วย 4 ที่ทำ CAPD และนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ควร เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อยดังต่อไปนี้

อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีระดับ แอล ดี แอล (LDL) ในเลือดสูง และมีระดับเอช ดี แอล (HDL) ในเลือดต่ำ ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ขาดเลือด ผู้ป่วยควรควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่แสดงในตารางที่ 3 และควรเลือก รับประทานอาหารตามตารางที่ 4 ในช่องที่แนะนำให้เลือก ในตารางที่ 5 แสดงปริมาณคอเลสเตอรอลใน อาหาร เพื่อให้ทราบว่าอาหารชนิดใดมีคอเลสเตอรอลมาก และควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่ควรรับประทาน อาหารทีควรหลีกเลี่ยง
เนื้อปลา เนื้อสัตว์ติดมัน หมูสามชั้น คอหมู ขาหมู ไก่ตอน ฯ
เนื้อหมูไม่ติดมัน หมูหัน เป็ดปักกิ่ง หนังหมูทอด ฯ
เนื้อไก่ / เป็ด ไม่ติดมัน / หนัง ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ฯ
อาหารที่ผัดน้ำมันน้อย แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า ฯ
อาหารที่เตรียมโดยการต้ม นึ่ง ย่าง อบ หมูสะเต๊ะ หมูปิ้ง
อาหารที่ไม่ใส่กะทิ แกงกะทิ ขนมใส่กะทิ ขนมครก ฯลฯ
อาหารจำพวกแกงส้ม ต้มยำ แกงจืด ขนมอบที่มีเนยมาก เช่น เค้ก คุกกี้ พาย เพสตรี้ ฯ
อาหารประเภทยำ ที่มีผักมาก เช่น ส้มตำ ยำผักต่างๆ น้ำสลัดชนิดข้น สลัดครีม อาหารทอดทุกชนิด เช่น ไก่ทอด กุ้งทอด ปลาทอด
ผัดผักต่างๆ กล้วยทอด ปาท่องโก๋ มันฝรั่งทอด ข้าวเกรียบ ฯ
น้ำมันที่ใช้ผัด ควรใช้น้ำมันรำ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันถั่วลิสง หรือใช้น้ำมัน ปาล์มโอเลอีนร่วมกับน้ำมันถั่วเหลือง 1:1 อาหารที่มีคอเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก น้ำมันหมู เนย เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ปอด หัวใจ ไต ฯ

ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ต้องจำกัดผัก ผลไม้หรือไม่

ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่รักษาด้วยการทำ CAPD จะมีการสูญเสียโพแทสเซียมไปกับน้ำยาล้างไต จึง ควรรับประทานผักและผลไม้ให้มากพอ มิฉะนั้นอาจขาดโพแทสเซียม ซึ่งมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ หัวใจได้ โพแทสเซียมมีมากในผักสีเขียวจัด ผู้ป่วยควรรับประทานเป็นประจำให้เพียงพอ ซึ่งจะทำให้ได้ เหล็ก แคลเซียม วิตามินและใยอาหารเพิ่มขึ้นด้วย แต่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่หวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย ฯ ผลไม้กวนและผลไม้เชื่อม เนื่องจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงได้ ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่ไม่หวานจัดและมีโพแทสเซียมมาก เช่น ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก แคนตา ลูป ฝรั่ง กระท้อน ลูกพรุน รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง และควรรับประทานในรูปผลไม้มากกว่าน้ำผลไม้

ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD ต้องจำกัดเกลือและน้ำหรือไม่

ผู้ที่รักษาด้วยการทำ CAPD รับประทานอาหารจำพวกถั่วเมล็ดแห้งได้หรือไม่

ถั่วเมล็ดแห้งทุกชนิดมีสารฟอสฟอรัสสูง การรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสมาก ทำให้ระดับ ฟอสฟอรัสในเลือดสูง มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียม ทำให้แคลเซียมในเลือดต่ำ เป็นผลต่อการทำงานของ กระดูก ทำให้กระดูกพรุน หักง่าย ปวดกระดูก ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังที่ทำ CAPD จึงควรหลีกเลี่ยงถั่วเมล็ด แห้งทุกชนิด และเมล็ดพืชตามรายการด้านล่างรวมทั้งอาหารอื่นที่มีฟอสฟอรัสสูงด้วย เช่น ไข่แดง เครื่องใน สัตว์ น้ำนมรายการอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง / งด

โรคไตเรื้อรัง การล้างไตผ่านทางหน้าท้อง

เพิ่มเพื่อน