โรคพยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิเข็มหมุด Enterobiasis

 

โรคพยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิเข็มหมุดเป็นโรคพยาธิตัวกลมเกิดจากเชื้อพยาธิชื่อ Enterobius vermicularis หรือที่เรียกว่าพยาธิเส้นด้าย โรคนี้ติดต่อง่าย มักจะพบเป็นทั้งครอบครัวหรือที่ที่คนอยู่เป็นหมู่ เช่น โรงเรีย เด็กเป็นมากกว่าผู้ใหญ่

วงจรชีวิต


วงจรชีวิตของพยาธิเข็มหมุด Enterobius vermicularis

พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในตอนต้นของลำไส้ใหญ่ กลางคืนพยาธิตัวเมียจะออกมาวางไข่ใกล้ทวารหนักแล้วก็ตาย  .ไข่จะติดอยู่บริเวณนั้น หรื เครื่องนุ่งห่ม  ไข่จะกลายเป็นระยะติดต่อใน 24-36 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยเกาก้นไข่ก็จะติดเล็บมือ เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารโดยใช้มือจับอาหาร ก็กินไข่พยาธิเข้าไป การติดต่อระหว่างคนสู่อีกคนหนึ่งอาจจะเกิดได้ 4 วิธี วิธีที่หนึ่ง พบบ่อยที่สุดคือการติดต่อโดยตรงจากการกินไข่พยาธิที่ติดกับมือหรือติดตามเล็บ วิธีที่สอง ผู้ป่วยกินไข่พยาธิที่ติดตามเครื่องนุ่งห่ม หรือผ้าคลุมที่นอน วิธีที่สาม กินไข่พยาธิที่ปลิวอยู่ในอากาศ วิธีที่สี่ ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนที่ทวารแล้ไชกลับในลำไส้ใหญ่ ไข่จะเจริญเป็นตัวอ่อนที่ลำไส้เล็ก  และจะเจริญเป็นตัวแก่ที่ลำไส้ใหญ่  .  ตั้งแต่ไข่ที่รับประทานเข้าไปจนกระทั่งเป็นตัวแก่ใช้เวลา 1 เดือน อายุโดยเฉลี่ยของตัวแก่ประมาณ 2 เดือน  



อาการของโรคโรคพยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิเข็มหมุด

บางรายไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง ส่วนมากคันทวารหนักเวลากลางคืน ทำให้เด็กนอนหลับไม่สนิท ร้องกวน บริเวณที่เกาอาจจะเกิดการอักเสบ และเกิดติดเชื้อแบคทีเรีย บางครั้งอาจจะทำให้เกิดการอักเสบของช่องคลอด เด็กจะหงุดหงิด ปวดท้อง น้ำหนักลด

การวินิจฉัยโรคพยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิเข็มหมุด

  • ตรวจพบไข่พยาธิจากบริเวณทวารหนัก โดยวิธีขูดหรือแตะทวารหนักด้วย Scotch tape ในเวลาตื่นนอนตอนเช้า
  • พบพยาธิตัวแก่บริเวณทวารหนัก


ภาพแรกจากการใช้เทปปิด ส่วนอีกภาพเป็นการดูสดจะเหมือนรูปอักษร D และมีตัวอ่อนอยู่ในไข่




E. vermicularis adult, anterior end

การรักษาโรคพยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิเข็มหมุด

  • ให้ยา mebendazoleรับประทาน 100 มก.เคี้ยวและกลืนครั้งเดียว
  • ให้ยา pyrantel pamoate 10 มก./กก ให้ยาครั้งเดียว

การป้องกันโรคพยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิเข็มหมุด

  • รักษาสุขอนามัย รับประทานอาหารโดยใช้ช้อน ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ซักล้างเสื้อผ้า ตัดเล็บ ทำความสะอาดห้องน้ำ
  • ให้ยาถ่ายทุกคนที่เป็นโรคนี้

เพิ่มเพื่อน