ยาแก้เวียนศีรษะ Diphenhydramine

ยา Diphenhydramine เป็นยาต้านฮิสตามีน Antihistamin ใช้เพื่อป้องกันและรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน มึนงง จากการเมารถ เมาเรือ (motion sickness) และอาการบ้านหมุน (vertigo) คลื่นไส้ อาเจียนที่เนื่องมาจากการบำบัดด้วยการช็อกไฟฟ้า การดมยาสลบ การฉายแสง และการผ่าตัด



ขนาดยาและวิธีการใช้ยาDiphenhydramine

  • รับประทานเมื่อมีอาการครั้งละ 50-100 มก. วันละ 3-4 ครั้ง
  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ให้ใช้ขนาด 5 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน โดแบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง
  • สำหรับป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ ให้รับประทานยาก่อนการเดินทางเป็นเวลา 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง และซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง
  • ยานี้มีขายในรูปยาเม็ดขนาด 50 มก. และยาฉีดความแรง 50 มก./มล.
  • ไม่ควรใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

คำเตือนการใช้ยาDiphenhydramine

  • ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
  • การใช้เพื่อป้องกันอาการเมารถต้องรับประทานก่อนเดินทาง 30 นาที

ข้อควรระวัง การใช้ยาDiphenhydramine

  • การใช้ยานี้ร่วมกับปฏิชีวนะบางชนิด ที่อาจก่อให้เกิดอาการเป็นพิษต่อประสาทหู ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะยานี้ จะบดบังอาการได้
  • ยานี้อาจทำให้มีอาการง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับรถหรือการทำงานกับเครื่องจักรกลหลังจากรับประทานยา
  • ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นส่วนผสมในช่วงที่รับประทานยานี้ เนื่องจากจะเพิ่มฤทธิ์ทำให้ง่วงซึมของยาได้
  • การใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร จากการศึกษาแม้ว่าจะยังไม่พบอันตรายก็ตาม ควรใช้ด้วยความระมัดระวังหรือปรึกษาแพทย์ก่อนใช้


ผลข้างเคียงที่สำคัญของยา Diphenhydramine

ก่อนจะใช้ยาท่านจะต้องรู้ผลข้างเคียงที่อันตรายหากเกิดขึ้นจะต้องหยุดยาและไปโรงพยาบาลทันทีได้แก่อาการ แพ้ยาซึ่งจะมีอาการผื่นลมพิษ หายใจลำบาก บวมใบหน้า บวมริมฝีปาก ลิ้นและคอ เสียงแหบ หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ เหนื่อบง่าย มีไข้ ท้องร่วง ผู้ป่วยแพ้อย่างรุนแรง

  • หัวใจเต้นเร็วขึ้นหรือช้าลง เต้นแรง เต้นผิดปกติ
  • เจ็บหน้าอก
  • มองเห็นภาพไม่ชัด
  • สับสน
  • ตื่นเต้น กระสับกระส่าย
  • วิตกกังวล หรือ นอนไม่หลับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก)
  • หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
  • อาการเคลื่อนไหวลำบาก มีปัญหาในการเคลื่อนไหว
  • ปัสสาวะลำบาก หรือเจ็บขณะถ่ายปัสสาวะ
  • ได้ยินเสียงกริ่งในหู
  • ลมชัก ผื่นคัน หรือผื่นลมพิษขึ้นอย่างผิดปกติหรือต่อเนื่อง หายใจหวีด

ผลข้างเคียงของยา Diphenhydramine

  • อาจทำให้ปากแห้ง คอแห้ง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หรือแพ้ยา
  • อาจทำให้ง่วงนอน มึนงง จึงไม่ควรขับรถขับเรือ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
  • ไม่ควรใช้ร่วมกับยานอนหลับ หรือกินพร้อมกับการดื่มแอลกอฮอล์
  • ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยต้อหิน, ต่อมลูกหมากโต, ลมบ้าหมู
  • ในเด็กเล็กถ้าใช้เกินขนาดมาก ๆ อาจทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายหรือชักได้
  • ปวดศีรษะ
  • ตาพร่ามัว
  • มีเสียงในหู
  • หน้ามืดเป็นลม
  • คลื่นไส้

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์

สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท B

ก่อนใช้ยา Diphenhydramine

  • แจ้งแพทย์และเภสัชเรื่องแพ้ยาโดยเฉพาะประวัติแพ้ยา Diphenhydramine aspirin tartazine dye
  • แจ้งชื่อยาที่ท่านรับประทานอยู่ ทั้งยาที่ท่านซื้อรับประทานเอง วิตามิน สมุนไพร ยาที่แพทย์สั่ง โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ
    • amikacin , gentamicin , kanamycin, neomycin, netilmicin, paromomycin , streptomycin,และ tobramycin
    • ยาต้านการซึมเศร้าเช่น amitriptyline , amoxapine , clomipramine , desipramine , doxepin , imipramine , nortriptyline, protriptyline, และ trimipramine
    • ยาต้านภูมิแพ้ diphenhydramine;
    • ยาแก้หวัดและแก้ไอ ipratropium (Atrovent);
    • ยารักษาภาวะวิตกกังวล ยารักษาโรคลำไส้แปรปรวน ยารักษาโรคจิต ยารักษาโรค Parkinson's disease ยารักษาโรคชัก ยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยานอนหลับ
  • โรคประจำตัวโดยเฉพาะโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง ต่อมลูกหมากโต โรคต้อหิน โรคลมชัก การบาดเจ็บที่ศีรษะ ความดันโลหิตสูงหรือต่ำกว่าปกติ การเต้นของหัวใจผิดปกติ โรคกระเพาะหรือลำไส้ โรคฟีนิลคีโตนูเรีย โรคตับ และการใส่คอนแทคเลนส์
  • ตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • หากกำลังจะเข้ารับการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบว่าท่านกำลังใช้ยานี้อยู่ 

อาการของผู้ที่ได้รับยา Diphenhydramine เกินขนาด

  • ม่านตาขยาย
  • หน้าแดงและร้อน
  • ง่วงซึม
  • ตื่นเต้นกระสับกระส่าย
  • ประสาทหลอน
  • ยืนทรงตัวลำบาก
  • สับสน
  • พูดและกลืนลำบาก
  • ชัก

ข้อห้ามใช้

ผู้ที่มีอาการหอบหืดกำเริบ ทารกแรกเกิด ทารกคลอดก่อนกำหนด หญิงที่ให้นมบุตร

ทบทวนวันที่ 4/3/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

 

Google