a


การติดเชื้อ E.coli

Escherichia coli ถูกค้นพบโดย Theodur Escherich เชื้อ E coli นี้สามารถพบได้ในธรรมชาติในลำไสใหย่้และส่งแวดล้อม เชื้อนี้สามารถอยู่ในภาวะที่ขาดออกซิเจน หรือใช้ออกซิเจนก็ได้ รูปร่างลักษณะเป็นรูปแท่งสีแดง (gram-negative bacilli) เชื้อนี้สามารถก่อให้เกิดโรคได้หลายระบบเช่น ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือสมองอักเสบ

เชื้อ E coli ที่ทำให้เกิดโรค

เชื้อ E coli ส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดโรคส่วนใหญ่อยู่ในธรรมชาติ และในลำไส้ใหญ่ แต่มีเชื้อ E coli หลายชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคนได้แก่

  • Enterotoxigenic E coli (ETEC) เป็นเชื้อที่ทำให้ถ่ายเหลว ETECเชื้อนี้จะเกาะที่ผนังลำไส้เล็กและจะปล่อยสารพิษทำลายเยื่อบุลำไส้ทำให้ถ่ายเหลว
  • Enterohemorrhagic E coli (EHEC) เป็นเชื้อที่ทำให้ถ่ายอุจาระเป็นเลือด

    EHEC,เป็นชนิดที่สร้างสารพิษที่เรียกเื้อนิดนี้ว่าา Shiga-toxin producing E coli (STEC), เชื้อนี้จะจับที่ผนังลำไส้ใหญ่และปล่อยสารพิษหลายชนิดที่เรียกว่า Shiga-like toxin (Stx). ซึ่งจะเป็นพิษกับผนังหลอดเลือดและทำให้เกิดกลุ่มโรคที่เรียกว่า HUS พบว่าเชื้อ E coli O157:H7 เป็นเชื้อที่รุนแรงที่สุดในกลุ่ม EHEC

  • Enteropathogenic E coli (EPEC)เป็นเชื้อที่ทำให้ถ่ายเหลว

    EPEC เชื้อนี้จะเกาะที่ลำไส้เล็ก และทำให้ถ่ายเหลว

  • Enteroinvasive E coli (EIEC) เชื้อนี้ทำให้ถ่ายเหลว

    เชื้อจะทำลายลำไส้ใหญ่และปล่อยสารพิษทำให้ถ่ายเหลว

  • Enteroaggregative E coli (EAEC)

    EAECเชื้อนี้จะเกาะทั้งลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กและปล่อยสารพิษ (toxin)ทำลายเยื่อบุลำไส้

    อาการของโรคเป็นอย่างไร

ในทารกและเด็กเล็กอาการไม่แน่นอน ในเด็กโตอาการาจจะเหมือนท้องร่วงจากเชื้อไวรัสทำให้การวินิจฉัยได้ช้า อาการโดยทั่วไปได้แก่

ทารกและเด็กเล็กที่มีอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือเชื้อเข้ากระแสเลือดจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้สูงหรืออาจจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ
  • ตาเหลืองที่เรียกว่าดีซ่าน
  • หายใจลำบาก บางรายอาจจะไม่หายใจ
  • เด็กไม่รับประทานอาหาร
  • อาเจียน
  • ถ่ายเหลว
  • ซึม
  • ทารกอาจจะมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยที่ไม่มีอาการทางสมองอย่างชัดเจนทำให้วินิจฉัยช้า
  • ทารกที่คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดน้อย คลอดลำบาก หรือใช้วลาคลอดนาน แม่มีไข้หรือได้รับยาปฏิชีวนะจะเป็นความเสี่ยงที่ทารกจะตดเชื้อนี้
  • เด็กโตที่มีโรคทางเดินอาหารอักเสบ หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีไข้ ปวดท้อง ถ่ายเหลวอาจจะมีเลือดหรือไม่มีก็ได้ สำหรับอาการของทางเดินปัสสาวะอักเสบได้แก่ ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะรดที่นอน หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สำหรับเด็กที่ทางเดินปัสสาวะอักเสบบ่อยการรักาาท้องผูกจะช่วยลดการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  • สำหรับผู้ที่มีอาการถ่ายเหลวจะต้องนับจำนวนครั้งของการถ่าย ลักษณะของอุจาระ( เหลวหรือว่าเป็นน้ำ) มีเลือดหรือไม่ มีมูกหรือไม่ ประวัติการไปแหล่งระบาดหรือ สัมผัสคนป่วยหรือไม่ การที่พบเลือดหรือไม่พบเลือดจะช่วยในการแยกเชื้อที่เป็นสาเหตุ.
    • Enterotoxigenic E coli (ETEC) หากเป็นเชื้อนี้อุจาระจะเป็นน้ำไม่มีเลือดหรือมูก เม็ดเลือดขาวมีน้อย
    • Enterohemorrhagic E coli (EHEC) อาการมีตั้งแต่ถ่ายเหลวเป็นน้ำจนกระทั่งถ่ายออกมาเป็นเลือด มักจะมีอาการปวดมวนท้อง อาเจียน อุจาระจะเป็นเลือดใน 1-2 วันตรวจอุจาระจะพบเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยหนึ่งในสามจะมีไข้
    • Enteroinvasive E coli (EIEC) ผู้ป่วยจะถ่ายเหลวเป็นน้ำ ไข้ คลื่นไส่อาเจียน ปวดท้อง ปวดเบ่ง ตรวจอุจาระจพบทั้งเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง
    • Enteropathogenic E coli (EPEC) และ Enteroaggregative E coli(EAEC)จะทำให้มีการถ่ายเหลวอย่างมากอาจจะทำให้ขาดน้ำและไตวายได้
  • ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนหรือถ่ายเหลวจะต้องประเมินว่าผู้ป่วยขาดน้ำหรือไม่ดูจากจำนวนครั้งของการปัสสาวะ สีของปัสสาวะหากสีใสก็ไม่ขาดน้ำ.
  • หากมีอาการปวดท้องจะต้องประเมินเรื่องปวดท้องดังต่อไปนี้
    • ความรุนแรงของอาการปวดท้อง และลักษณะของอาการปวดท้อง
    • ตำแหน่งที่ปวด
    • ปวดร้าวไปไปที่ไหน
    • ระยะเวลาที่ปวด แต่ละครั้งปวดนานแค่ไหน
    • ท้องผูกหรือไม่
    • ปัจจัยที่ทำให้ปวด หรือบรรเทาอาการปวด

กลไกการเกิดโรค

 

เพิ่มเพื่อน