ภาวะกรดไหลย้อน และโรคหอบหืด


จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีความสัมพันธ์ของภาวะกรดไหลย้อนกับโรคปอดหลายชนิด เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง aspiration pneumonia, interstitial pulmonary fibrosis, bronchiectasis
พบว่าผู้ป่วยหอบหืด มักเพิ่มอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ 34-89%
อย่างไรก็ตาม ความชุกของโรคหอบหืดที่สัมพันธ์กับภาวะกรดไหลย้อนยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจน

อาการทางคลินิก

ประวัติเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยภาวะกรดไหลย้อนในผู้ป่วยหอบหืด อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจไม่มีประวัติอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะกรดไหลย้อนที่ชัดเจน โดยอาการที่พบได้บ่อย เช่น ไอกลางคืน หอบหืด กระตุ้นมากขึ้นในช่วงทานอาหารมื้อหนัก หรือดื่มสุรา โดยทั่วไปจะคิดถึงภาวะกรดไหลย้อนว่าเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด ก็ต่อเมื่อ

  • เริ่มมีหอบหืดในช่วงวัยผู้ใหญ่
  • หรือในกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อทั้งยาขยายหลอดลมหรือ steroid
  • หรือมีอาการของภาวะกรดไหลย้อนนำมาด้วยชัดเจน


การตรวจเพิ่มเติมทางหลอดอาหาร

  1. การส่องกล้อง upper GI endoscopy โอกาสพบหลอดอาหารอักเสบแตกต่างกันตามกลุ่มอายุ โดยในเด็กพบได้ 60-72% ขณะที่ในผู้ใหญ่พบได้ 30-40%
  2. Esophageal manometry มีการศึกษาไม่มากนักเกี่ยวกับ Esophageal manometry กับโรคหอบหืด หนึ่งในนั้นเป็นการศึกษาของ Harper และคณะ ที่พบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยหอบหืดพบความดันของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายต่ำกว่า 10 มม.ปรอท โดยพบว่าผู้ป่วยหอบหืดมีความดันของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารเฉลี่ย 13±2 มม.ปรอท เทียบกับในคนปกติที่อายุเท่ากัน มีความดันของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารเฉลี่ย 19±5 มม.ปรอท
  3. การตรวจวัดความเป็นความกรดในหลอดอาหาร 24 ชั่วโมง จากการศึกษาในผู้ใหญ่ พบภาวะกรดไหลย้อนเกิน 50% ของผู้ป่วยหอบหืด โดยเฉลี่ยที่ 70-80%

การรักษา

ถ้าในกลุ่มที่พิสูจน์ได้ชัดว่ากลไกการเกิดหอบหืดเป็นจากภาวะกรดไหลย้อนที่มากระตุ้น การให้ยาลดกรดน่าจะมีประโยชน์ในการรักษา
ในระยะหลัง ที่มีการใช้ยากลุ่ม proton pump inhibitor มากขึ้น พบว่าการลดกรดลงอย่างมากอาจให้ผลการรักษาที่ดีไม่ต่างจากการผ่าตัด Richter ศึกษาผู้ป่วยหอบหืด 30 รายพบว่าการให้ยา Omeprazole เพื่อลดการหลั่งกรดอย่างเคร่งครัด สามารถควบคุมอาการหอบหืดได้ 73% แต่การติดตามระยะยาวในแง่การกลับเป็นซ้ำ ยังต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมที่นานกว่านี้

กรดไหลย้อน อาการทางระบบหูคอจมูก อาการหอบหืด อาการแน่นหน้าอก อาการนอนกรน

 

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน