หน้าที่ของตับ

มาเรียนรู้เรื่องตับกันเถอะ

ตับของคนเราเป็นอวัยวะที่ให้ที่สุด และมีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอันมาก ตับจะอยู่ตรงชายโครงขวาใต้กระดูกซี่โครง หนักประมาณกิโลกรัม มีสีออกแดงแบ่งออกเป็นสองกลีบ คือกลีบขวา และกลีบซ้าย โดยปกติมักจะคลำตับไม่ได้ แต่หากตับโตขะโตลงล่าง หรือโตออกด้านข้างหรือบนก็ได้ มักจะมีอาการจุกตื้อๆโดยในร่างกายมนุษย์ขนาดปกติตับจะมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม เนื้อตับจะออกสีแดงปนน้ำตาลเข้ม ทั้งนี้
ตับมีหลอดเลือดสำคัญ ที่ใช้ทำหน้าที่ในการผ่านเข้า-ออก 3 ช่องทาง คือ

1hepatic portal vein

หลอดเลือดดำจากลำไส้เล็ก (เล็ก, ใหญ่) นำกลูโคส และสารอาหารอื่นที่เพิ่งผ่านการย่อยและดูดซึมมา ส่งให้ตับ เพื่อคัดแยกประเภทดำเนินกรรมวิธีตามหน้าที่ของตับ

2hepatic artery

หลอดเลือดแดงจากหัวใจ นำเลือดแดงที่อุดมด้วยออกซิเจนมาส่งเลี้ยงเซลล์ตับ ขณะเดียวกันก็รับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นของเสียจากตับส่งออกทางหลอดเลือดดำ กลับไปหาหัวใจและปอด

3hepatic vein

หลอดเลือดดำจากตับ เข้าสู่หลอดเลือดดำจากตับ เข้าสู่หลอดเลือดดำหัวใจ ทั้งนี้ตับได้ฝากส่งคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำตาลกลูโคส และสารอาหาร รวมทั้งตับอ่อนก็ได้ช่วยส่งอินซูลิน (เป็นผู้นำพากลูโคส) ให้หัวใจส่งไปรับออกซิเจนก่อนแล้วจึงจะแจกจ่ายไปทั่วทุกเซลล์ในร่างกาย

หน้าที่ของตับ

โดยพิจารณาเพียงการไหลเข้า-ออก ของหลอดเลือด 3 เส้น ดังกล่าวก็พอจะอนุมานได้ว่า ตับนั้นเสมือน
เป็น "แม่บ้านใหญ่" หรือ "โรงงานศูนย์กลาง" ของร่างกาย กล่าวคือ ทั้งรับวัตถุดิบ ทั้งผลิต ทั้งเก็บรักษา ทั้งตรวจสอบคุณภาพ ทั้งแจกจ่าย ทั้งเก็บขยะและทิ้งขยะของเสีย
ในการนี้ ใคร่ขอสรุปพอให้เห็นภาพกว้าง ๆ ในการทำหน้าที่ของตับอย่างง่าย ๆ ดังนี้

  1. เป็นหน่วยรักษากฎเกณฑ์ เป็นหน่วยสังเคราะห์ และเป็นหน่วยส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ตับสร้างขึ้นใช้ ตามความต้องการของร่างกาย ผลผลิตที่ตับสร้างขึ้น และควบคุมการใช้ ได้แก่
  • น้ำตาลกลูโคส
  • โปรตีน เพื่อนำไปใช้สังเคราะห์ทดแทนอวัยวะที่สึกหรอทั่วร่างกาย รวมทั้งโปรตีนที่จำต้องใช้งานอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น สารทำให้เลือดแข็งตัว (coagulation) อัลบูมิน โกลบูมิน ฯลฯ
  • น้ำดี เพื่อใช้ย่อยอาหารไขมัน ขณะเดียวกัน ก็ใช้ท่อน้ำดีเป็นช่องทางทิ้งของเสีย หรือของมีพิษที่ตับกรองเก็บไว้ ให้พ้นออกไปกับกากอาหารทางลำไส้
  • สารประเภทไขมัน (lipids) เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไลโปโปรตีน ฯลฯ
  1. เป็นหน่วยคลังเก็บรักษา เก็บสิ่งมีประโยชน์ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ
  2. เก็บของมีพิษ เช่น ยาเคมีรักษาโรค โลหะหนัก ทองแดง รวบรวมพักรอไว้ก่อนที่จะทิ้งออกไปนอกร่างกาย
  3. เป็นหน่วยรักษาความสะอาด ในการกำจัดขยะ และของมีพิษ หรือทำของมีพิษให้หมดพิษขยะหรือสิ่งมีพิษที่สำคัญ ได้แก่


  • แอมโมเนีย ซึ่งนับเป็นขยะที่เกิดจากการย่อยสลายอาหารโปรตีน ทั้งนี้ ตับจะเปลี่ยนแปลงแอมโมเนีย (ammonia) ให้เป็นยูเรีย (urea) ส่งผ่านไตให้เป็นน้ำปัสสาวะ (urine) ออกทิ้งไป
  • สารบิลิรูบิน (bilirubin) เป็นขยะที่เกิดจากการสิ้นอายุขัยของเม็ดเลือดแดง (ซึ่งแต่ละเม็ดเลือดแดงจะมีอายุเพียงประมาณ 120 วัน) โดยม้ามจะเป็นผู้ดำเนินการกวาดต้อนและทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้วเปลี่ยนให้เป็นสีเหลืองไปเกาะกับอัลบูมิน (albumin) ลอยไปตามกระแสเลือดเพื่อให้ตับจัดการเก็บเอามาย่อยสลายเป็นสารบิลิรูบิน (bilirubin) แล้วฝากส่งไปกับน้ำดี (bile) ออกทิ้งผ่านลำไส้ออกไปนอกร่างกายพร้อมกากอาหาร
  • ฮอร์โมน ทิ่อวัยวะต่าง ๆ ผลิตขึ้นมาใช้ในหน้าที่ต่าง ๆ กัน เมื่อฮอร์โมนเหล่านั้นหมดอายุ หรือมากเกินความจำเป็น ตับก็จะจัดการเก็บมาทำลาย
  • ยา ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ตับไม่เคยรู้จัก เพราะเป็นสารเคมีที่หลุดเข้าสู่กระแสเลือด ในการนี้ ตับก็จะพยายามเก็บไว้ในฐานะของสารพิษเช่นเดียวกับสารพิษอื่น หาทางปล่อยทิ้งต่อไปด้วยเช่นกัน
  • แอลกอฮอล์ จากเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็มีฐานะเป็นสารพิษเหมือนยาเช่นเดียวกัน แต่มีขอบเขตของพิษมากกว่ายา ตรงที่ปริมาณมาสู่ตับมักจะมากล้นเกิน (เพราะเจ้าของร่างกายดื่มโดยไม่เคยควบคุมปริมาณ) เซลล์ตับรับมือสารพิษไม่ไหว จึงอาจบาดเจ็บ (ในรูปของตับอักเสบ) หรือเซลล์ตับตาย (ในรูปของตับแข็ง) แต่ถึงอย่างไร ตับก็พยายามทำหน้าที่ขับทิ้งออกทางไตปนกับน้ำปัสสาวะ

สรุปแล้ว ทั้งยา และแอลกอฮอล์ อาจทำลายตับได้ หากใช้อย่างไม่รู้เท่าทัน และไม่ระมัดระวัง

หน้าที่ของตับ

  1. ตับเป็นอวัยวะที่สร้างสารต่างๆที่สำคัญ เช่นไข่ขาวหนือ albumin ช่วยอุ้มน้ำให้อยู่ในหลอดเลือด หากไข่ขาวในเลือดต่ำจะทำให้เกิดอาการบวมเท้า ท้องมาน
  2. ตับเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และเกลือน้ำดีเพื่อช่วยย่อยสลายไขมัน โดยน้ำดีจะถูกขับออกทางเดินอาหารทำให้อุจาระสีเหลือง หากทางเดินน้ำดีอุดตันอุจจาระจะมีสีขาว
  3. ตับเป็นอวัยวะที่สะสมพลังงานเช่น glucose และวิตามิน
  4. ตับเป็นโรงงานผลิตพลังงานให้ร่างกาย โดยสลายสารอาหารให้ร่างกาย เมื่อตับป่วยจึงรู้สึกเพลียมาก
  5. ตับมีหน้าที่กำจัดของเสีย ของเสียที่ร่างกายเราได้มาจากอาหารหรือสารที่เรารับเข้าไป เช่นยา แอลกอฮอลล์ กาแฟ หรือสารที่เป็นพิษ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการย่อยหรือสลายสารอาหาร เมื่อสารพิษผ่านตับ ตับจะทำหน้าที่ทำลายสารพิษนั้น แต่หากเราได้รับสารพิษมากก็อาจจะทำให้ตับเสียหายได้
  6. ตับเป็นที่อยู่ของเม็ดเลือดเพื่อดักจับเชื้อโรค

โรคของตับ

ใคร่ขอนำชื่อโรคตับที่ค่อนข้างรู้จักกันแพร่หลายมาแสดงไว้ เพื่อว่าเมื่อกล่าวถึงการตรวจเลือดเกี่ยวกับตับ จะได้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
โรคสำคัญของตับ โดยทั่วไปมีดังนี้

  1. โรคตับอักเสบ (hepatitis) อาจเกิดจากเชื้อไวรัส สารพิษ ฯลฯ
  2. โรคตับแข็ง (cirrhosis) อาจเกิดต่อเนื่องจากตับอักเสบเพราะไวรัส หรืออาจเกิดจากสารเคมี ยาที่กินต่อเนื่อง หรือแอลกอฮอล์
  3. โรค "haemochromatosis" เกิดจากการกินธาตุเหล็กมากเกินไปจนตับต้องเก็บรวมเอาไว้มิให้เกิดพิษกับอวัยวะอื่น และเหล็กก็เป็นตัวการทำลายเซลล์ตับเอง
  4. โรคมะเร็งตับ อาจเกิดขึ้นภายในตับเอง หรือรับการแพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่นหรือลำไส้ หรือท่อทางเดินอาหาร
  5. โรค "Wilson's disease" เกิดจากตับต้องสะสมทองแดงมากเกินไปจนเกิดพิษ
  6. โรคของท่อน้ำดี (diease of bile duct) เช่น เกิดอักเสบปิดกั้นทำให้ตับหลั่งน้ำดีไม่ได้
  7. โรคท่อน้ำดีแข็งตัว
  8. โรคสภาวะ "Budd-Chiari Syndrome" สาเหตุเกิดจากการอุดตันที่หลอดเลือดดำเส้นที่ชื่อว่า
การทำงานของตับ