หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

ฝุ่น PM2.5 การดูแลตัวเองเมื่อปริมาณฝุ่นสูง

มลพิษทางอากาศที่มีอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) สำหรับประเทศไทยในปีพ.ศ. 2561 มีพื้นที่ 28 แห่งจาก 53 แห่ง (ใน 29 จังหวัด) ที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินมาตรฐานในบรรยากาศของประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กและพื้นที่เมืองทั้ง 53 แห่ง และยังมีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินค่าตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?

คำว่า PM (พีเอ็ม) ย่อมาจาก Particulate Matters (พาร์ทิคิวเลทแมทเทอร์) เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีหน่วยวัดคือ ไมครอน หรือไมโครเมตร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ PM 10 และ PM 2.5

โดยฝุ่น PM 2.5 เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมกับไอน้ำ ควัน และก๊าซต่างๆ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เมื่อมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมหาศาลจะมองเห็นเป็นหมอกควันอย่างที่เราเห็นกันในทุกๆ เช้านั่นเอง

ฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นมลพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ตามที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญ และออกมาแจ้งเตือนให้ทราบ เพราะเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่าเส้นผมถึง 20 เท่า) เมื่อหายใจเขาไปแล้ว สามารถเล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่ปอดและหลอดเลือดได้ง่าย จนส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว


ฝู่น pm2.5

 

ในยุคปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักฝุ่นขนาดจิ๋ว ที่เรียกว่า PM 2.5 (ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 μM) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมประมาณ 20 - 30 เท่า ฝุ่น PM2.5 นี้ไม่ใช่เป็นมลพิษทางอากาศชนิดเดียวที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่ยังมีก๊าซพิษอีกหลายอย่าง อาทิเช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), โอโซน (O3), ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) รวมทั้งยังพบว่ามีโลหะหนักปนเปื้อนอยู่ในอากาศที่เราหายใจอีกด้วย 

มากกว่า 90% ของประชากรทั่วโลกได้รับมลพิษทางอากาศเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งปัญหาของมลพิษทางอากาศนี้ไม่ได้มีเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังพบตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพกระจายเป็นวงกว้าง ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO พบว่า ในทุกปีมีประชากรถึง 7 ล้านคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากการได้รับมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอด, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคหัวใจ, และ โรคสมอง

ฝุ่น PM 2.5 มาจากไหน?

สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง หรือฝุ่น PM 2.5 เช่น

อันตรายจาก PM 2.5

PM 2.5 สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรง ส่งผล อันตรายต่อกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง

จากการศึกษาโดย Institute for Health and Evaluation, University of Washington สนับสนุนโดย ธนาคารโลก พบว่า มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆเนื่องจากมีส่วนประกอบของสาร เคมีหลายชนิดทั้งที่เป็นสารระคายเคืองไปจนถึงสารก่อมะเร็งจึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง สำหรับก๊าซโอโซนเป็นสารระคายเคืองปอด ทำให้ปอดติดเชื้อง่าย จึงเป็นปัจจัยร่วมอันก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ฝุ่น PM 2.5 ที่เล็ดรอดเข้าไปในร่างกายนั้น จะกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ลดระบบแอนตี้ออกซิแดนท์ รบกวนสมดุลต่างๆ ของร่างกาย และกระตุ้นยีนที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งสารอักเสบ ซึ่งมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อในร่างกาย และส่งผลกระทบต่างๆ ตามมา ดังนี้

จากข้อมูล State of Global Air ระบุว่า  PM2.5 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทยประมาณ 37,500 ราย นี่คือวิกฤตด้านสาธารณสุขโดยที่เด็ก คนสูงวัยและกลุ่มประชากรเสี่ยงในสังคมได้รับผลกระทบมากที่สุด

PM 2.5 กับสมอง

หลังจากที่ฝุ่นจิ๋วเข้าไปยังสมองจะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในสมอง มีการหลั่งสารอักเสบชนิดต่าง ๆ ทำให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บ เกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่าปกติ รวมทั้งยังพบว่าทำให้เกิดการก่อตัวของก้อนโปรตีนที่ผิดปกติในสมอง (β-amyloid, α-synuclein, tau protein) ที่มีลักษณะคล้ายกับคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคพาร์กินสัน รวมทั้งยังทำให้สมองส่วนเนื้อขาว (White Matter) มีการฝ่อเหี่ยวมากกว่าคนปกติอีกด้วย

ในเด็กมีหลายงานวิจัยที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของระดับ PM 2.5 ต่อความผิดปกติทางด้านพัฒนาการทางสติปัญญา อาทิเช่น

ในผู้ใหญ่พบว่า การได้รับฝุ่น PM 2.5 ทำให้เกิด

จากข้อมูลทางการแพทย์ข้างต้น จะพบว่าฝุ่น PM 2.5 รวมทั้งมลภาวะในอากาศชนิดอื่น ๆ มีผลกระทบต่อร่างกายในหลายระบบ การหลีกเลี่ยงเข้าไปในสถานที่ที่มีฝุ่นขนาดจิ๋วในปริมาณสูง การใช้เครื่องป้องกันอย่างเหมาะสม การรับประทานผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในจำนวนที่เพียงพอ


ปัจจุบัน ปัญหาฝุ่นละอองเป็นพิษ หรือที่เรียกกันว่า “ฝุ่น PM 2.5” ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลายเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่หลีกเลี่ยงได้ยาก

แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่เข้าใจผิดว่า ท้องฟ้าสีหม่นที่เห็นในยามเช้าเกิดจากหมอกควัน ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สิ่งนั้นคือการรวมตัวกันของมลพิษทางอากาศที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานต่างหาก และยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ฝุ่น PM 2.5 สะสมรวมกันอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่รายล้อมไปด้วยตึกสูง มีลักษณะคล้ายแอ่งกระทะ ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่น PM 2.5 ได้ง่าย ปกติแล้ว ฝุ่นเหล่านี้จะลอยขึ้นไปรวมตัวกันในอากาศเป็นจำนวนมากในช่วงกลางคืน ก่อนที่จะถูกลมพัดฟุ้งกระจายจางหายไปในยามเช้า

แต่หากวันไหน อากาศนิ่ง ไม่มีลมพัด ก็จะทำให้ฝุ่น PM 2.5 ไม่ฟุ้งกระจาย เกิดการสะสมของฝุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ จนระดับความเข้มของฝุ่นในพื้นที่นั้นๆ เข้าสู่ระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จนกลายเป็นปัญหาทางมลภาวะทางอากาศนั่นเอง

วิธีป้องกันตัวเองจาก PM 2.5 ในระดับสูงนอกบ้าน

ขั้นตอนแรกในการป้องกันตัวเองจากระดับมลพิษฝุ่นละอองอันตรายนอกบ้านด้วยการรู้ว่าค่า PM 2.5 ในพื้นที่ที่คุณอยู่ หรือพื้นที่ที่คุณจะไปอยู่ในระดับอันตรายเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ใด Air4Thai รวบรวมข้อมูลคุณภาพอากาศจากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศ คุณสามารถตรวจสอบสภาพคุณภาพอากาศในปัจจุบัน และที่คาดการณ์ไว้ในพื้นที่ของคุณได้  คุณภาพอากาศแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยพิจารณาจากจำนวนไมโครกรัมของสารก่อมลพิษประเภทหนึ่งๆ ต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์เมตร (ug/m3) สารก่อมลพิษแต่ละประเภทมี "จุดพัก" แยกเป็นของตนเอง หารด้วย ug/m3 โดย PM 2.5 และ PM 10 จะมีประเภทของตนเอง นี่คือหมวดหมู่สำหรับ PM 2.5

หากดัชนีคุณภาพอากาศในพื้นที่ของคุณแสดงระดับมลพิษที่สูงขึ้น ให้จำกัดเวลากลางแจ้งและลดระดับกิจกรรมกลางแจ้ง เนื่องจากระดับการออกแรงที่สูงขึ้นจะเพิ่มอัตราการหายใจ และการสัมผัสกับมลพิษ ระมัดระวังเป็นพิเศษหากคุณเป็นโรคหอบหืด หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด  คุณยังสามารถตรวจสอบเพื่อดูว่าระดับมลพิษลดลงในบางช่วงเวลาของวันหรือไม่ และวางแผนกิจกรรมของคุณในช่วงเวลาดังกล่าว

ฝุ่น PM2.5

8วิธีป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5

1.ลดการสัมผัสกับอนุภาคมลพิษในยานพาหนะ

การเผาไหม้ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลในยานยนต์ก่อให้เกิดสารมลพิษอนุภาคส่วนใหญ่ในอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมในเมือง เนื่องจากอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดมลพิษ (รถยนต์) การสัมผัสกับอนุภาคภายนอกอาคารสูงสุดมักเกิดขึ้นเมื่อขับรถบนถนน วิธีการลดการสัมผัสฝุ่นพิษในยานพาหนะ:

2.ลดมลพิษPM2.5ในอาคาร  

3.ลดการเข้ามาของPM2.5นอกบ้านเข้ามาในบ้านของคุณ

4.ลดการสัมผัสกับอนุภาคมลพิษ PM2.5กลางแจ้ง

5.สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน

เนื่องจากเป็นเรื่องยากมากที่จะหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกวันและการสัมผัสกับหมอกควัน การสวมหน้ากากป้องกัน PM2.5 จึงถือเป็นวิธีป้องกันที่สะดวกและมีประสิทธิภาพที่สุด หน้ากากต้องปิดจมูกและปากให้มิดชิด เลือกหน้ากากคุณภาพสูงที่สามารถกรอง PM2.5 ได้ เช่น ชนิด N95 ที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 0.3 ไมครอนได้มากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ อย่าลืมเปลี่ยนหน้ากากทุกวันเพื่อสุขอนามัย

6.กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต้องมีการเตรียมพร้อมทางการแพทย์

หากคุณมีอาการแพ้ โดยเฉพาะฝุ่น จมูกอักเสบ หอบหืด เยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้แน่ใจว่าคุณมียาไว้ใกล้มือเมื่อสัมผัสกับ PM2.5 กลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ปรึกษาแพทย์หากเกิดอาการกำเริบ

7.พักผ่อนให้เพียงพอและดูแลร่างกายให้ฟิตอยู่เสมอ

รักษาสุขภาพให้แข็งแรงเป็นสิ่งที่จำเป็น การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอคือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงและไม่เจ็บป่วยจากมลภาวะต่างๆ อย่างไรก็ตาม โปรดหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬากลางแจ้งจนกว่าคุณภาพอากาศจะดีขึ้น การนอนหลับสนิทยังช่วยซ่อมแซม และเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับวันพรุ่งนี้

8.ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ

ฝุ่นพิษสามารถเข้ามาในบ้านแม้ว่าคุณจะปิดประตูและหน้าต่าง การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรอง PM2.5 จะช่วยลดฝุ่นพิษภายในบ้าน ท่านจะต้องเลือกขนาดของเครื่องฟอกให้เหมาะกับขนาดของห้อง  ที่สำคัญต้องเปลี่ยนแผ่นกรองตามการใช้งาน/ตามระยะเวลา

เลือกเครื่องฟอกอากาศให้เหมาะกับขนาดห้องของคุณ

เราสามารถแบ่งประเภทของเครื่องฟอกอากาศออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ โดยขนาดของเครื่องฟอกอากาศเองมีดังนี้

ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศบริเวณไหนดี?

การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการวางเครื่องฟอกอากาศมีความสำคัญพอๆ กับการค้นหาสเปกที่เหมาะสม สถานที่ที่ดีที่สุดในการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศคือบริเวณที่คุณใช้เวลามากที่สุด เช่น ห้องนอนหรือสำนักงาน หากคุณเลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีล้อเสริม คุณสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องไปยังที่ใดก็ได้ที่คุณต้องการ และตั้งเครื่องให้ห่างจากกำแพงประมาณ 2 ฟุต

วิธีการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

ประเภทของหน้ากากอนามัยและการเลือกใช้ให้เหมาะสม

1. หน้ากากอนามัยชนิด N95

เป็นหน้ากากอนามัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีมาตรฐาน และได้รับการยอมรับว่า สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน เหมาะสำหรับการสวมใส่เพื่อป้องกันมลพิษ ฝุ่น PM 2.5 ควันพิษ ไอเสียรถยนต์ และไอระเหยของสารเคมีต่างๆ

2. หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น

หรือที่เรียกกันว่า “หน้ากากอนามัยทางการแพทย์” เป็นหน้ากากอนามัยที่คนส่วนมากคุ้นเคยกันดี เพราะหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง เน้นในด้านการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอ หรือจาม จากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา

อย่างไรก็ตาม หากเป็นเชื้อไวรัสหรือฝุ่นละอองที่มีอนุภาคเล็กระดับไมครอน อาจไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5

3. หน้ากากอนามัยแบบผ้าฝ้าย

หน้ากากอนามัยชนิดนี้มีระดับความป้องกันไม่แตกต่างจากหน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ เน้นการป้องกันการกระจายของน้ำมูก หรือน้ำลาย จากการไอ หรือจาม สามารถป้องกันฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอนขึ้นไป จึงไม่เหมาะสำหรับใช้เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5

หน้ากากอนามัยแบบผ้าฝ้ายมีข้อดีคือ ประหยัดกว่าการใช้หน้ากากอนามัยแบบอื่น เพราะสามารถนำไปซักกับน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้

สรุป

ฝุ่น PM 2.5 เป็นมลพิษต่ออากาศและร่างกาย ควรป้องกันตนเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ หรือที่เรียกว่า “หน้ากากอนามัย N95” ก่อนออกจากอาคารทุกครั้ง

แต่หากไม่มีหน้ากากอนามัย N95 สามารถใช้หน้ากากอนามัยประเภทอื่นทดแทนไปก่อนได้ อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น หรือแบบผ้าฝ้าย สามารถช่วยป้องกันได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น และควรใส่ให้ถูกวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน

วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 คือการแก้ไขที่ต้นเหตุ ดังนั้น เราควรร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วยการลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 เช่น ไม่เผาไหม้ขยะ หรือหันไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะกันมากขึ้น เพื่อควบคุมฝุ่น PM 2.5 ไม่ให้เกินมาตรฐานนั่นเอง

ทบทวนวันที่ 2/22566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน