โรคด่างขาว(Vitiligo)

 

โรคด่างขาว หรือ ทางการแพทย์ เรียกว่า “Vitiligo” นั้น เป็นโรคที่ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงเป็นผื่นขาว ขอบเขตชัดเจนซึ่งเป็นผลมาจากเซลล์สร้างเม็ดสี ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีเรียกว่า เมลานิน (Melanin) ลดจำนวนลง
สาเหตุการเกิดโรคด่างขาวยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐาน 3 ข้อ ได้แก่

  1. เกี่ยวข้องกับภาวะออโตอิมมูน คือ การสร้างแอนติบอดี ต่อ แอนติเจน ของกระบวนการสร้างเม็ดสี และยังมีความสัมพันธ์กับโรคออโตอิมมูนต่าง ๆ เช่น
  • โรคของต่อมไทรอยด์
  • โรคเบาหวาน
  • โรคแอดดิสัน (Addison disease)
  1. เชื่อว่าเกิดจากการกระตุ้นปลายประสาท ทำให้มีการหลั่งสาร (neurochemical mediator) ที่ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี หรือยับยั้งการสร้างเมลานิน
  2. เชื่อว่าในกระบวนการสร้างเม็ดสี อาจมีการสะสมของสารบางอย่าง (metabolite) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสีได้

นอกจากนี้ยังมีหลายการศึกษา ซึ่งแสดงว่าปัจจัยทางพันธุกรรม (genetic predisposing) มีผลเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค

อาการของโรคด่างขาว

ด่างขาว

ผู้ป่วยที่เป็นโรคด่างขาว ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติทางผิวหนัง นอกจากรอยโรคของผิวหนัง ซึ่งจะมีลักษณะเป็นผื่นสีขาว คล้ายสีชอล์ก ขอบเขตชัดเจน มีขนาดตั้งแต่หลายมิลลิเมตร ถึงลายเซนติเมตร เส้นขนบริเวณผื่นอาจพบว่ามีสีขาวร่วมด้วย

ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ บริเวณด้านนอกข้อศอก, เข่า, หลังมือ, รอบตา, รอบปาก, ข้อมือด้านใน
โดยรอยโรคพบว่า เป็นเฉพาะที่ (localized) บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย เกิดกระจายทั่วตัว (generalized) หรือเป็นมากเกือบทั้งตัว (universal) ก็ได้



  การรักษาโรคด่างขาวมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการกระจายของรอยโรค การรักษาต่าง ๆ ได้แก่

  1. การใช้ยาเฉพาะที่ ได้แก่
  • ยาทาสเตียรอยด์ (topical corticosteroid)
  • ยาทารักษาโรคด่างขาว ก่อนตากแดด เช่น topical khellin ซึ่งโดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยให้ทายาบริเวณที่เป็น ก่อนตากแดด 30 นาที โดยนั่งให้แดดส่องบริเวณด่างประมาณ ๑o-๑๕ นาที
  • ยาในกลุ่มที่ใช้ปรับภูมิคุ้มกันของร่างกาย (immune modifier) เช่น pimecrolimus, tacrolimus
  1. การฉายแสง (PUVA, Photochemotherapy) ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีรอยโรคเป็นบริเวณกว้าง
  2. การฉีดสเตียรอยด์ ใช้รักษาผู้ป่วยโรคด่างขาวที่มีการลุกลามของโรคอย่างรวดเร็ว
  3. การปลูกถ่ายผิวหนังใหม่ (Sution blister transplantation)
  4. การใช้สารที่ทำให้ผิวหนังปกติเป็นสีขาวทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการรักษาใหม่ ๆ ในปัจจัย ได้แก่
  • การใช้เลเซอร์บางตัว ในการรักษาผู้ป่วยโรคด่างขาว ได้แก่ Excimer laser (wavelength 308 mm.) ซึ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีรอยโรคเฉพาะที่ พบว่าได้ผลดี โดยทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • การใช้ narrow-band UVB phototherapy (wavelength 311 mm.)

การดำเนินโรคโรคด่างขาวและการพยากรณ์โรค
การดำเนินโรคของโรคด่างขาว ไม่สามารถคาดการณ์ได้ โดยทั่วไป รอยโรคจะลามช้า ๆ แต่ในบางช่วงจะลามเร็ว หรือบางช่วงรอยโรคจะคงที่ก็ได้ การกลับมาของเซลล์สร้างเม็ดสี (repigmentation) อาจเกิดได้เอง แต่เกิดได้น้อย ดังนั้น โดยทั่วไปจึงต้องให้การรักษาผู้ป่วย
เมื่อทราบเช่นนี้แล้วนะคะ หากไม่แน่ใจว่าเป็นโรคด่างขาวหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์นะคะ

เพิ่มเพื่อน