โรคผื่นแพ้จากการสัมผัส Contact dermatitis

โรคผื่นแพ้จากการสัมผัสเป็นการแพ้ชนิดนี้เป็นแบบ T-cell mediated reactionโดยเฉลี่ยผู้ใหญ่จะใช้สารเคมีกับร่างกายอย่างน้อย 7 ชนิดได้แก่ น้ำหอม moisturizers, ครีมกันแสง, สบู่, ครีมนวดผมหรือแชมพูสระผม ครีมดับกลิ่น, และเครื่องสำอาง ที่พบบ่อยที่สุดคือแพ้น้ำหอม ผู้ที่แพ้น้ำหอมควรใช้เครื่องสำอางที่ไม่มีน้ำหอม ตำแหน่งที่แพ้บ่อยที่สุดคือ หน้า ริมฝีปาก ตา หู การแพ้จากการสัมผัสมีสองชนิดคือ

  1. Irritant dermatitis เกิดจากการระคายเช่นการใช้น้ำหอม สบู่ ผงซักฟอก ครีมดับกลิ่น เครื่องสำอาง พวกนี้จะเกิดผื่นหลังจากสัมผัสไม่นานเช่นภายใน 1-2 วันหลังสัมผัส
  2. Allergic contact dermatitis การแพ้เกิดจากการสัมผัสมักจะเกิดหลังจากสัมผัสเป็นระยะเวลามากกว่า 1 สัปดาห์ลักษณะจะเป็นผื่นแดง บวม คัน และอาจจะมีถุงน้ำ เช่นการแพ้สายรองเท้า สายนาฬิกา

การรักษาโรคผื่นแพ้จากการสัมผัส

ต้องหลีกเลี่ยงสารที่ก่อภูมิแพ้อย่างน้อย 4 สัปดาห์เพื่อให้ภูมิลดลง และเพื่อให้ผื่นหาย การป้องกันผื่นแพ้จากการสัมผัสสามารถทำได้โดย

  • ให้ล้างเสื้อด้วยน้ำสะอาด 2 ครั้งหลังจากซักด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม
  • ให้เลือกซื้อเสื้อผ้าที่เป็นสีธรรมชาติ หลีกเลี่ยงผ้าที่อัดกลีบ อาจจะใช้ผ้าไหมและผ้า polyester 
  • เสื้อผ้าใหม่ให้ซัก 5 ครั้งก่อนใส่
  • สบู่ แชมพูและครีมนวดผมไม่ควรมีน้ำหอม
  • หลีกเลี่ยงน้ำหอม โคโลน หลังโกนหนวด
  • ไม่ใช้น้ำยาทาเล็บหรือ hair spray

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นผื่นอักเสบที่มือ

ขณะที่ผิวหนังมีการอักเสบ ความแข็งแรง, ความสามารถในการเป็นเกราะกำบังร่างกายของชั้นผิวหนังจะเสียไป ทำให้เกิดอาการระคายเคือง, อักเสบและแพ้ได้ง่ายกว่าปกติ ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผิวหนังกลับสู่สภาพปกติ จึงควรทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  1. ถ้าทราบว่าแพ้สารใดสารหนึ่งโดยเฉพาะ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารนั้น การล้างมือ
  • ไม่ควรล้างมือด้วยน้ำอุ่น, น้ำร้อน
  • ใช้สบู่เพียงเล็กน้อย
  • หลังการล้างมือควรใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้งโดยไม่ลืมซับบริเวณซอกนิ้วมือให้แห้งด้วย
  • ไม่ควรล้างมือบ่อยเกินไปคือไม่ควรเกิน 2-3 ครั้งต่อวัน
  1. เลือกใช้สบู่อ่อนที่ปลอดน้ำหอม หรือน้ำยาทำความสะอาดมือที่ปลอดสี,ยาฆ่าเชื้อ, ยาดับกลิ่น, วิตามิน
  2. ไม่ใช้แอลกอฮอล์ หรือผงซักฟอก, น้ำยาทำความสะอาด ล้างมือ
  3. ควรถอดแหวนออกขณะทำงานบ้าน, ล้างมือ เพราะอาจมีสบู่คั่งค้างอยู่บริเวณใต้แหวนทำให้ผื่นอักเสบที่มือกำเริบได้
  4. ใช้ครีมทามือบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้มือแห้ง โดยเลือกครีมที่ปลอดน้ำหอม, ไม่มีส่วนประกอบของสารที่ท่านแพ้ผสมอยู่
  5. พยายามเลี่ยงงานบ้าน, งานอดิเรกที่ต้องสัมผัสกับพวกสารตัวทำละลาย (solvent), กาว, ขี้ผึ้ง (wax), epoxy resin
  6. ถุงมือ
  • เลือกใช้ถุงมือพลาสติก (vinyl) หรือถุงมือพีวีซี (PVC) จะดีกว่าถุงมือ ยางลาเท็กซ์(ถุงมือแพทย์) ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแพ้ยางได้
  • ไม่ควรใส่ถุงมือนานกว่า 15-30 นาทีต่อครั้ง เพราะจะก่อให้เกิดความอับชื้น, ระคายได้
  • ถ้ามีเหงื่อออกมากให้ใส่ถุงมือผ้าขาวไว้ข้างในถุงมืออีก 1 ชั้นเพื่อดูดซับเหงื่อ ถ้าทำงานแห้งๆที่มีฝุ่น, สกปรก เลือกใส่ถุงมือผ้าสีขาวเพื่อป้องกันไม่ให้มือสกปรก จะทำให้ไม่ต้องล้างมือบ่อย
  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของเหล่านี้ด้วยมือเปล่า

 

  • อาหาร : น้ำผลไม้, เปลือกผลไม้โดยเฉพาะตระกูลส้ม มะนาว ส้มโอ , เนื้อสัตว์, เนื้อปลา ,ผักโดยเฉพาะหัวหอมใหญ่,กระเทียม
  • น้ำยาทำความสะอาด ผงซักฟอก น้ำยาขัดเงา น้ำมันก๊าด ทินเนอร์
  • น้ำมันใส่ผม, โลชั่นใส่ผม, ยาย้อมผม ให้ใช้ไม้พันสำลี, แปรงทา ยาสระผม ใส่ถุงมือสระ
  • งานบ้าน ให้ใช้แปรงด้ามยาวในการล้างจาน,ทำความสะอาดถ้าเป็นไปได้ ควรใช้เครื่องซักผ้า, เครื่องล้างจาน

คำแนะนำสำหรับผู้ที่แพ้รองเท้า

  • ถ้าสงสัยว่าผื่นที่เท้าเกิดจากการแพ้รองเท้า ควรเลือกใส่รองเท้าที่ทำให้แพ้ได้ น้อยที่สุดคือ รองเท้าที่ทำจากไม้หรือพลาสติก เช่น โพลีไวนิลคลอไรด์, โพลียูรีเทน
  • ถ้ามีอาการน้ำเหลืองแฉะ, เยิ้ม ควรประคบด้วยน้ำเกลือครั้งละ 10-15 นาที วันละ 3-4 ครั้ง และทายา ตามที่แพทย์สั่ง
  • พยายามลดการเสียดสีจากรองเท้า เช่น ใช้สารทาช่วยหล่อลื่น, ใส่รองเท้าที่ไม่คับเกินไป สวมใส่ถุงเท้า,ถุงน่อง
  • ภาวะเหงื่อออกมากที่เท้าจะทำให้เกิดการแพ้รองเท้าได้มากขึ้น ควรใช้ยาทาช่วยลดเหงื่อ เช่น 20% Aluminium chloride, Drysol หรือแป้งโรยในถุงเท้า เช่น Zeasorb
  • ท่านที่แพ้ยาง : เลือกใส่รองเท้าที่ทำจากหนัง เช่น รองเท้าหนัง moccasin ที่ไม่มีแผ่นรองด้านใน, ส้นข้างนอก หรือใช้รองเท้าพลาสติก, ไม้
  • ท่านที่แพ้หนัง : ใช้รองเท้าทำจากพลาสติก, ผ้า, ไม้ ควรดึงแผ่นรองด้านในที่เป็นหนังออก
  • ท่านที่แพ้ PTBR-FR (กาวนีโอพรีน) :พยายามเลือกรองเท้าที่ไม่ใช้กาว เช่น เย็บด้วยมือ หรือใช้กาวยูรีเทนแทน

รายละเอียดและรูปภาพคลิกที่นี่