โรคไข้เลือดออกแบ่งออกเป็นสามระยะ


แบ่งออกเป็น 3 ระยะดังต่อไปนี้ ระยะไข้สูง ระยะวิกฤติ/ช็อค และระยะฟื้นตัว

1ระยะไข้สูง

  • ลักษณะเป็นไข้สูงเฉียบพลัน 39-41 องศาเป็นเวลา 2-7 วัน ผู้ป่วยที่เป็นเด็กอาจจะมีอาการชักได้ หน้าจะแดง ไม่มีน้ำมูกหรือไอ ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร อาเจียน เลือดออก ตับโตและกดเจ็บ แต่ตัวไม่เหลือง มีผื่นตามตัว ส่วนใหญ่จะไม่มีน้ำมูไหลหรือไแทำให้แยกจากไข้หวัด
  • ในระยะไข้ อาการทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยได้แก่อาการเบื่ออาหาร อาเจียน บางรายมีอาการท้องร่วงร่วมด้วย ในระยะแรกจะปวดทั่วไป แต่ต่อมาจะปวดชายโครงข้างขวาเนื่องจากตับโต
  • ไข้ส่วนใหญ่จะอยู่ลอย 2-7 วัน ประมาณร้อยละ 70 จะมีไข้ 4-5 วัน รายที่มีอาการเร็วที่สุดคือ 2 วัน ร้อยละ 15 จะมีไข้เกิด 7 วัน
  • อาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุดคือจุดเลือดออกตามผิวหนังเนื่องจากเส้นเลือดเปราะ หรือทำ การทำ tourniquet test จุดเลือดออกจะพบตามแขน ขา ลำตัว รักแร้อาจจะมีเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด

2ระยะวิกฤติหรือระยะช็อค

  • ระยะวิกฤติหรือระยะช็อคมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับที่ไข้เริ่มจะลง เกิดจากการรั่วของพลาสม่า โดยจะรั่วประมาณ 24-48 ชั่วโมง ประมาณหนึ่งในสามจะมีอาการรุนแรง มีภาวะความดันโลหิตต่ำเนื่องจากเกิดการรั่วของพลาสมาไปยังปอด หรือช่องท้องซึ่งจะเกิดพร้อมๆกับไข้ลง ซึ่งอาจจะเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3-8 ของไข้ ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพขจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ความดันโลหิตลดลงมากกว่า 20 มม ปรอท ผู้ไข้เลือดออกที่อยู่ในภาวะช็อกจะรู้สติดี พูดรู้เรื่อง อาจจะบ่นกระหายน้ำบางรายอาจจะมีภาวะปวดท้อง ภาวะช็อกจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลงอย่างรวดเร็ว รอบปากเขียว ผิวสีม่วง ตัวเย็น วัดความดันไม่ได้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตใน 12-24 ชั่วโมง
  • ในรายที่ไม่รุนแรงผู้ป่วยจะดีขึ้น บางรายอาจจะมีเหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพขจรเบา เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาไม่รุนแรงจึงไม่เกิดอาการช็อก

ระหว่างการเกิดภาวะช็อกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ

  1. มีการรั่วของพลาสมาทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ซึ่งมีหลักฐานคือ
  • ระดับควาเข้มของเลือด(Hematocrit Hct)เพิ่มขึ้นก่อนเกิดภาวะช็อก และขณะช็อก และยังอยู่ในระดับสูงหากยังมีการรั่วของพลาสมา
  • มีน้ำในช่องปอดและช่องท้อง
  • ระดับโปรตีนและไข่ขาวในเลือดต่ำเนื่องจากรั่วออกไป
  • หากเราใส่สายเข้าในหัวใจ จะพบว่าแรงดันในหัวใจต่ำซึ่งบ่งบอกว่ามีปริมาณน้ำในระบบไหลเวียนลดลง
  • ตอบสนองต่อการให้น้ำเกลือ
  1. ความต้านทาน(peripheral resisitance) ในระบบไหลเวียนเพิ่ม ดังจะเห็นได้ว่าความแตกต่างระหว่าความดันโลหิต ขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวแคบ เช่น 100/90(ปกติต้องต่างกันประมาณ 30 )

3ระยะพักฟื้น

  • ระยะพักฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อคเมื่อไข้ลดลงอาการจะดีขึ้น ผู้ป่วยเริ่มอยากจะรับประทานอาหาร เริ่มปัสสาวะมากขึ้น ชีพขจรช้าลง
  • ส่วนผู้ป่วยที่ช็อก หากได้รับการรักษาที่ทันเวลาจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว การรั่วของพลาสมาจะหยุด ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ชีพขจรช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น ผู้ป่วยจะอยากรับประทานอาหาร ระยะฟื้นตัวใช้เวลา 2-3 วัน

รวมระยะเวลาของการเป็นไข้เลือดออกใช้เวลา 2-7 วัน

การเปลี่ยนแปลงทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ

  • เม็ดเลือดขาวจะต่ำกว่าปกติ[<5,000] แต่ในวันแรกอาจจะสูงเล็กน้อยอาจจะมีเม็ดเลือดขาวชนิด polymorphonucleus [PMN] ประมาณร้อยละ 70-80 เมื่อไข้ลงจะกลายเป็น lymphocyte
  • เกล็ดเลือด(platelet)ต่ำลงอย่างรวดเร็วน้อยกว่า 100,000 และต่ำอยู่3-5 วัน
  • ความเข้มของเลือด(Hemoconcentration)เพิ่มขึ้น เช่นจาก 40%เป็น 44 %
  • ในระยะช็อกเลือดจะออกง่ายเนื่องจากกลไกการแข็งตัวของเลือดเสียไป
  • การตรวจรังสีของปอดอาจจะพบว่ามีน้ำในช่องปอด
  • การตรวจการทำงานของตับพบว่ามีการอักเสบโดยมีการเพิ่มขึ้นของ sgot,sgpt ประมาณ2-3 เท่า

ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtourniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง การรับรู้อาการช็อกระยะเริ่มแรก วิธีการดูแลผู้ป่วย