หงอนไก่ Condyloma Acuminata

 

โรคหงอนไก่เป็นโรคผิวหนังที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ human papillomavirus (HPV) type 6 or 11 การติดเชื้อนี้มักจะไม่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วน HPV types 16, 18, 31, 33, and 35 ก็สามารถทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ และพบว่ายังทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ผิวหนัง ทำให้เกิดตุ่มเนื้อขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ ส่วนหนึ่งเป็นแล้วหายเองได้

การติดต่อโรคหงอนไก

เชื้อโรคนี้สามารถติดต่อได้ 3 วิธี

  • จากเพศสัมพันธ์โดยมีการสัมผัสระหว่างผิวหนังกับผิวหนัง เป็นทางติดต่อที่พบบ่อยที่สุด
  • ติดต่อโดยการใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่นเสื้อผ้าหรือผ้าเช็ดตัว สบู่อาบน้ำ
  • ติดต่อโดยการสัมผัสหรือเกา แล้วไปสัมผัสบริเวณอื่น

ระยะฟักตัวใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน

อาการของโรคหงอนไก่

  • ในผู้ใหญ่รอยโรคมักจะเกิดบริเวณ ต้นขา บริเวณอวัยวะเพศ ก้น ทวารหนัก
  • ในเด็กอาจจะเกิดที่แก้ม ลำตัว แขน ขา
  • ลักษณะผิวในระยะแรกจะเป็นผื่นสีออกน้ำตาลไปทางชมพู เมื่อผื่นมีขนาดใหญ่จะมีสีน้ำตาลผื่นนูนหนาขึ้น อาจจะทำให้เกิดอาการบริเวณผื่นได้เล็กน้อย
  • สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ผื่นจะมีขนาดใหญ่
  • หากหูดโตขึ้นจะมีลักษณะคล้ายดอกกระหล่ำ ซึ่งจะพบได้ที่ปลายอวัยวะเพศ อัณฑะ และทวารหนัก ส่วนผู้หญิงจะพบได้บริเวณแคม ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก
  • นอกจากนั้นหูดยังสามารถพบได้บริเวณปากมดลูก ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ

 

การวินิจฉัยโรคหงอนไก่

ดูได้จากลักษณะของผื่น หรืออาจจะตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

การรักษาโรคหงอนไก่

  • โรคส่วนใหญ่หายได้เอง แต่การตัดออกจะป้องกันการแพร่กระจายไปส่วนอื่น
  • การกำจัดอาจจะใช้การผ่าตัดเอาออก ใช้ laser หรือจี้ด้วยไฟฟ้า
  • หรืออาจจะใช้สารเคมีเช่น podophyllin, cantharidin, phenol, silver nitrate, trichloracetic acid or iodine
  • ใช้ความเย็นจี้ Cryotherapy
  • สำหรับคนที่ตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้ใช้ยาทา

วิธีการใช้สารเคมีจี้ออก

  • การใช้ Podofilox 0.5% solution or gel โดยใช้ cotton bud ทาหูดวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 วันและพัก 4 วันหากยังไม่หลุดให้ทาซ้ำ
  • การใช้ Imiquimod 5% cream ทาวันละครั้งก่อนนอน ทา 3วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 16 สัปดาห์ ใช้สบู่ล้างออกหลังจากทาไปแล้ว 6-10 ชั่วโมง
  • การใช้ Podophyllin resin 10%--25% ทาบริเวณที่เป็น แล้วปล่อยให้แห้งหลังจากนั้น 4 ชั่วโมงจึงล้างออก ทาสัปดาห์ละครั้ง
  • การใช้กรด Trichloroacetic acid (TCA) or Bichloroacetic acid (BCA) 80%--90% ทา บริเวณที่ถูกทาจะมีสีขาว อย่าทาเป็นบริเวณกว้างเกินไป ทาสัปดาห์ละครั้ง

การป้องกันโรคหงอนไก

  • การสวมถุงยางจะป้องกันได้เฉพาะผิวหนังขององคชาติและช่องคลอดเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันผิวหนังบริเวณอื่น
  • ช่วงที่เป็นโรคไม่ควรจะมีเพศสัมพันธ์
  • ให้มีสามีหรือภรรยาคนเดียว