การวัดอุณภูมิ

ร่างกายเรามีกลไกที่จะรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เมื่ออากาศร้อนร่างกายจะขับความร้อนออกจากร่างกาย โดยการที่เส้นเลือดที่ผิวหนังมีการขยายตัวทำให้เกิดการระบายออก นอกจากนั้นยังมีการขับเหงื่อเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันเมื่อร่างกายเย็น หลอดเลือดที่ผิวหนังจะหดตัว กล้ามเนื้อจะมีการสั่นเพื่อสร้างความร้อนขึ้นมาเราจะวัดอุณหภูมิได้ที่ไหนบ้าง

  • วัดอุณหภูมิทางปากซึ่งมีอุณหภูมิปกติ 36.8 °C (98.2 °F) บวกลบ .6 °C
  • วัดอุณหภูมิทางรักแร้ซึ่งมีอุณหภูมิปกติ 36.4 °C (97.6 °F)
  • หรือวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก หรือช่องคลอด 37.6 °C (99.6 °F)

เมื่อไรจึงจะเรียกว่ามีไข้

หากคุณวัดอุณหภูมิได้เกิน 37.5 °C จะถือว่าคุณมีไข้

สาเหตุของไข้

ไข้อาจจะเกิดได้หลายสาเหตุดังนี้

เด็กอมปรอท
ปรอท
ปรอทวัดที่หู
ปรอท
  • การติดเชื้อไม่ว่าจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสหรือเชื้อรา อาจจะติดเชื้อเฉพาะที่ เช่นฝี หรือ หนอง หรือผิวหนังอักเสบ
  • ยาบางชนิดทำให้เกิดไข้ได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาเสพติด ยาแก้แพ้
  • ร่างกายได้รับอันตราย เช่น อุบัติเหตุ เส้นเลือดสมองแตกหรือตีบ
  • โรคบางชนิดทำให้เกิดไข้ เช่นต่อมไทรอยด์เป็นพิษ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อุปกรณ์สำหรับวัดอุณหภูมิมีกี่ชนิด

  • ปรอทสำหรับวัดไข้ชนิดมาตราฐานทำจากแก้วและมีปรอทอยู่ข้างใน
  • ปรอทวัดไข้ที่หู ทำจากplastic หลักการใช้แสง infrared ในการวัดไข้ โดยการใส่เข้าไปในรูหู อ่านผลเร็วเป็นตัวเลข
  • ปรอทวัดไข้ชนิด electronic สามารถวัดไข้ได้ทั้งทางปาก ทวารหนัก และช่องคลอกบอกลเป้นตัวเลข
  • ปรอทวัดไข้โดยการแตะที่หน้าผาก

วิธีการวัดความดันอุณหภูมิ

การวัดอุณหภูมิทางปาก

เป็นตำแหน่งที่นิยมวัดมากที่สุด การวัดตำแหน่งนี้ผู้ป่วยต้องหายใจทางจมูกได้ และไม่ดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็น หรือสูบบุหรี่ก่อนวัดประมาณสามสิบนาที

  1. ใส่ปลายปรอทไว้ใต้ลิ้นข้างใดข้องหนึ่ง
  2. ปรอทบางชนิดจะส่งเสียงเตือนเมื่ออ่านอุณหภูมิได้ หรือรอจนกระทั่งอุณหภูมิคงที่ นำปรอทมาอ่านค่า
  3. ทำความสะอาดปรอทด้วน้ำสบู่แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง

การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก

เป็นตำแหน่งที่วัดอุณหภูมิได้แม่นยำที่สุด เหมาะสำหรับการวัด ทารก เด็กเล็กที่อมปรอทไม่ได้ หรือผู้ใหญ่ที่อมปรอทไม่ได้ วิธีการวัดมีดังนี้

  1. ทายาหล่อลื่นที่ปลายปรอทอาจจะใช้ KY gelly เพื่อให้สอดปรอทได้ง่ายขึ้น
  2. ให้เด็กนอนคว่ำที่หน้าขาหรือนอนคว่ำบนเตียง
  3. แง้มแก้มก้น ใส่ปรอทเข้าไปในรูทวารประมาณครึ่งถึงหนึ่งนิ้ว ใช้สองนิ้วจับปรอทตรงใกล้รูทวาร
  4. มืออีกข้างปล่อยแก้มก้น
  5. รอจนสัญญาณเตือนหรืออุณหภูมิไม่ขึ้น
  6. นำมาอ่านผล
  7. อุณหภูมิที่วัดได้จะสูงกว่าที่วัดได้ทางปากประมาณ 0.6 °C
  8. นำไปทำความสะอาด
  9. ไม่ควรนำปรอทที่วัดทางทวารหนักมาวัดที่ปาก

วิธีการวัดไข้ที่รักแร้

การวัดไข้ที่รักแร้จะให้ผลไม่แม่นยำ หากวัดจากปากหรือก้นไม่ได้ค่อยวัดที่รักแร้ ค่าอุณหภูมิที่วัดจากรักแร้จะต่ำกว่าที่วัดจากปากประมาณ0.6 °C

  1. ใส่ปรอทไว้บนสุดของซอกรักแร้
  2. ปล่อยแขนลงแนบลำตัว
  3. รอสักครู่หรือจนอุณหภูมิไม่ขึ้น
  4. นำปรอทมาอ่านผล

การวัดความดันที่หู

  1. ตรวจสอบปรอทว่าสะอาด หากมีสิ่งสกปรกต้องเช็ดออก
  2. เปิดเครื่องวัด
  3. หากเป็นเด็กให้ดึงติ่งหูไปข้างล่างและออกหลัง แล้วใส่เครื่องวัดเข้าไปในรูหู
  4. หากเป็นผู้ใหญ่ให้ดึงขึ้นและไปข้างหลัง
  5. กดปุ่มวัดอุณหภูมิ
  6. นำปรอทออกมาและอ่านผล

ข้อผิดพลาดของการตรวจ

การวัดอุณหภูมิอย่างถูกต้องจะทำให้เราติดตามโรคได้อย่างใกล้ชิด ข้อผิดพลาดเหล่านี้จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด

  • ขณะวัดไข้ทางปาก ปากหุบไม่สนิท หรือหายใจทางปาก
  • ใส่ปรอทไว้ในปากไม่น่นพอ
  • ใส่ปรอทไม่ถูกที่
  • ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ
  • วัดอุณหภูมิหลังสูบบุหรือหรือดื่มน้ำอุ่นใน 20นาที
  • วัดไข้หลังอาบน้ำอุ่น

การคลำชีพขจร การวัดอุณหภูมการนับการหายใจ การวัดความดันโหิต

เพิ่มเพื่อน