ลองโควิด


ลองโควิดคืออะไร | อาการของลองโควิด | สาเหตุของกลุ่มอาการ ลองโควิด | ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะลองโควิด | เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นลองโควิด | ภาวะแทรกซ้อนของโควิด-19 | เมื่อเป็นโควิด-19 จะมีปัญหากับอวัยวะใดบ้าง |


ลองโควิด

ลองโควิด เป็นอาการของผู้ที่ติดเชื้อโควิด แต่ยังคงมีอาการของโควิดนานเกิน 12 สัปดาห์

โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ ผู่ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ และสามารถหายได้เอง อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ และมักจะหายขาดภายใน 12 สัปดาห์  แต่มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งยังคงมีอาการของโรคโควิด19 นานกว่า 12 สัปดาห์ เราเรียกว่า ลองโควิด (Long COVID) หรือ

ลองโควิดคืออะไร

เป็นกลุ่มอาการของโรคโควิด19ที่คงอยู่นานมากกว่า 12 สัปดาห์ อาการจะพบได้หลายอวัยวะและหลายระบบ สาเหตุเนื่องจากร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้หมด หรือเกิดจากขบวนการอักเสบอย่างต่อเนื่อง

ผู้ที่เป็นลองโควิดคือผู้ที่มีอาการต่อเนื่องหลังจากการติดเชื้อโควิด19ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม

  • กลุ่มมีอาการต่อเนื่อง(Ongoing symptomatic COVID)หมายถึงมีอาการต่อเนื่องมากกว่า4สัปดาห์แต่ไม่ถึง 12 สัปดาห์
  • กลุ่มอาการหลังติดเชื้อเรื้อรัง (Post-COVID Syndrome ) กลุ่มนี้จะมีอาการของโควิดมากกว่า 12 สัปดาห์ โดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการของลองโควิด

อาการของลองโควิดแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราแบ่งอาการตามระบบดังนี้

อาการระบบหายใจของลองโควิด

  • เหนื่อย หายใจเร็ว
  • ไอ
  • จุกๆในหน้าอก
  • เจ็บหน้าอก
  • ออกซิเจนในเลือดต่ำ

อาการทางระบบหัวใจของลองโควิด

• ความดันโลหิตสูง  
• ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว  
• เจ็บหน้าอก

อาการทั่วๆไปของลองโควิด

  • อ่อนเพลีย
  • ไข้
  • ปวดตามตัว

อาการทางระบบประสาทของลองโควิด

  • สมองล้าหรือ Brain fog คือสภาวะสมองล้า เพราะการทำงานอย่างหนักจนทำให้รู้สึกมึนหัว รู้สึกตื้อ หรือฟุ้งๆ ความจำสั้น ไม่สามารถโฟกัสกับอะไรได้ รวมไปถึงการบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานในระยะยาว ไปจนถึงเป็นตัวเริ่มต้นของโรคร้ายแรงต่างๆ อย่างโรคเครียด หรืออาจถึงขั้นเกิดสภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยอันควรได้
  • สมองเสื่อม Cognitive deficits สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ ความฉลาด ความสามารถในการปรับตัว
  • หน้ามืดเวลาลุกยืนเร็วๆ
  • ปวดศีรษะ
  • จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
  • นอนไม่หลับ
  • ชาหรือปวดเหมือนเข็มแทง


อาการทางระบบทางเดินอาหารของลองโควิด

  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้
  • ท้องร่วง
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด

อาการระบบกล้ามเนื้อของลองโควิด

  • ปวดข้อ
  • ปวดกล้ามเนื้อ

อาการทางจิตของลองโควิด

  • มีอาการซึมเศร้า
  • มีอาการวิตกกังวล
  • นอนไม่หลับ

อาการทางหูคอจมูกของลองโควิด

  • มีเสียงในหู
  • ปวดหู
  • เจ็บคอ
  • จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

อาการทางผิวหนังของลองโควิด

  • ผื่นที่ผิวหนัง

อาการที่พบได้บ่อยของโรคนี้คือ:

  • อ่อนเพลีย
  • หายใจไม่อิ่ม จุกแน่หน้าอก
  • ไอ
  • ปวดข้อ
  • เจ็บหน้าอก
  • มีปัญหาเรื่องความจำ และสมาธิ
  • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
  • ไม่ได้กลิ่น ไม่รับรส
  • ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล
  • ไข้
  • เวียนศีรษะ หน้ามืด
  • นอนไม่หลับ
  • เบื่ออาหาร ท้องร่วง ปวดท้อง

สาเหตุของกลุ่มอาการ ลองโควิด

สำหรับสาเหตุของอาการลองโควิดยังไม่มีการรายงานแน่ชัด แต่จากผลการศึกษาคาดว่า มีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้

  • ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพในการต่อสู้เชื้อโรคลดลง
  • การกำเริบของโรค หรือเกิดการติดเชื้อซ้ำ
  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หลังนอนพักรักษาตัวมานาน ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย
  • มีการอักเสบอย่างต่อเนื่อง หรือเกิดลิ่มเลือด และมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ภาวะเครียดหลังเจอเรื่องร้ายแรง (Post-Traumatic Stress)

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะลองโควิด

จากการเปรียบเทียบผลสำรวจในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรค COVID-19 จะพบว่าผู้ที่ติเชื้อแบบอาการไม่รุนแรง มักหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ หรืออาจใช้เวลาในการฟื้นตัวนานถึง 6 สัปดาห์หลังติดเชื้อครั้งแรก

  • การศึกษาในปี 2563 ของประเทศอิตาลี ที่พบว่ากว่า 87.4% ของผู้ป่วยที่ผ่านการรักษาโรค COVID-19 ยังคงมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ภายใน 2 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล
  • แต่ในปี 2564 กลับมีรายงานว่า กว่า 3 ใน 4 ของผู้ป่วย COVID-19 ที่รักษาในโรงพยาบาล ณ เมืองหวู่ฮั่น ยังคงมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ภายใน 6 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล
  • ในขณะที่งานวิจัยทางการแพทย์ชิ้นหนึ่งของสหราชอาณาจักร (UK) พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย COVID-19 ในอังกฤษที่ตรวจไม่พบเชื้อแล้วถูกปล่อยตัวจากโรงพยาบาลให้กลับบ้าน ยังคงมีอาการยาวนานถึง 3 เดือน และด้วยอาการของ COVID-19 ที่ต้องใช้เวลาฟื้นตัวกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป สถาบันแห่งชาติเพื่อการดูแลสุขภาพและความเป็นเลิศ (NICE) จึงเรียกอาการเรื้อรังนี้ว่า “ภาวะลองโควิด" (LONG COVID)

จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลองโควิดได้แก่

  • ผู้สูงอายุ อายุมากขึ้นจะพบมากขึ้น อายุที่พบบ่อย 35-69 ปี เป็นหญิง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ หรือผู้ที่ไม่สามารถออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีอาการหลายระบบระหว่างที่ติดเชื้อโควิดโดยเฉพาะอาการเสียงแหบ หายใจลำบาก
  • ดัชนีมวลกาย ร้อยละ68จะมีดัชนีมวลกาย 30.2
  • ผู้ที่มีโรคแทรกซ้อนระหว่างติดเชื้อโควิด
  • โรคประจำตัวก่อนป่วยได้แก่โรคทางระบบหายใจประมาณร้อยละ23 อาการทางสุขภาพจิตได้แก่ อาการซึมเศร้า และวิตกกังวล
  • และเพศหญิง
  • ร้อยละ75ของผู้ป่วยลองโควิดไม่ได้นอนโรงพยาบาลขณะป่วย
  • อาการของผู้ป่วยลองโควิดได้แก่ อ่อนเพลีย(80) ระบบหายใจได้แก่หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก(59) ระบบประสาท(59) ปวดกล้ามเนื้อ และไม่ได้กลิ่น

ความรูนแรงระหว่างติดเชื้อหรือระยะเวลาที่มีอาการไม่มีความสัมพันธ์กัลการเกิดภาวะลองโควิด 

ถึงไม่มีเชื้อแต่หากมีอาการเหล่านี้ ก็ควรไปพบแพทย์

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นลองโควิด

สำหรับผู้ที่หายจากการติดเชื้อโควิดแต่ยังมีอาการหลายอย่างไม่หาย ทำให้เกิดความกังวลว่าตนเองหายจากโควิดหรือยัง หรือติดเชื้อโควิดใหม่ เมื่อไปพบแพทย์แพทย์จะทำการซักประวัติและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอาการตั้งแต่เริ่มติดเชื้อจนถึงปัจจุบัน พร้อมกับตรวจร่างกาย เช่น วัดความดันโลหิต, วัคอุณหภูมิร่างกาย, ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ, ตรวจการทำงานของปอด ตรวจการทำงานของหัวใจ, เจาะเลือดเพื่อตรวจดูค่าการทำงานของตับ ไต ธาตุเหล็ก ตรวจเม็ดเลือด และอาจรวมถึงการตรวจเอ็กซเรย์ทรวงอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือตรวจปัสสาวะด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะตรวจไม่พบเชื้อโควิด

แต่ร่างกายยังอาจฟื้นฟูได้ไม่เต็มร้อย ดังนั้นผู้ที่หายจากโควิดจะต้องดูแลตนเองหลังออกจากโรงพยาบาล โดยเลือกกินอาหารดีต่อสุขภาพ นอนหลับให้เพียงพอ งดดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ จำกัดปริมาณคาเฟอีน และหากสังเกตเห็นว่ามีอาการผิดปกติควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาให้ตรงกับสาเหตุของอาการที่เป็นอยู่

ผู้ที่ติดเชื้อโควิด19 ไม่ว่าจะรุนแรงมากหรือน้อย หรือมีโรคประจำตัวสามารถเกิดภาวะลองโควิดได้ แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการโอกาสที่จะเกิดลองโควิดมีน้อย เราจะสงสัยว่าเป็นกลุ่มลองโควิดจะต้องมี

  • ป่วยเป็นโรคโควิด19ที่มีอาการ 
  • มีอาการต่อเนื่อง12สัปดาห์หลังจากวินิจฉัยโรคโควิด 
  • อาการจะเกิดได้หลายอวัยวะได้แก่ สมอง หัวใจ ปอด และจิตใจ

  • แพทย์จะเจาะเลือดตรวจ
  • ตรวจหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ วัดความดันโลหิต
  • ตรวจรังสีทรวงอก

จะตรวจเพื่อหาสาเหตุของอาการต่างๆ หากไม่สามารถหาสาเหตุของอาการจึงจัดว่าเป็น ลองโควิด

หากเริ่มสังเกตว่าตนเองมีอาการผิดปกติรุนแรง เช่น อาการหายใจไม่ออกแย่ลงกว่าเดิม, เริ่มมีภาวะสับสน มีปัญหาการรับรู้ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางกายส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง หรือมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการได้ยิน การมองเห็น หรือการพูด นี่เป็นสัญญาณว่าควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

การป้องกันภาวะลองโควิด

เมื่อท่านเป็นโรคโควิด19 ท่านก็จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลองโควิดยังไม่มียาหรือการรักษาใดๆที่จะลดการเกิดลองโควิดวิธีการที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันการเกิดการติดเชื้อโควิด เพราะผู้ที่ฉีดวัคซีนจะมีโอกาสเกิดการติดเชื้อประมาณร้อยละ5 เมื่อติดแล้วก็จะมีอาการไม่มาก หายเร็ว และมีโอกาสเกิดภาวะลองโควิคต่ำ

 

ภาวะหลังติดเชื้อโควิด โพสต์โควิด (Post-COVID Conditions) 

  • อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ และมักจะหายขาดภายใน 12 สัปดาห์ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพที่เรียกว่า ‘ลองโควิด’ (Long COVID) 
  • ภาวะลองโควิด เป็นกลุ่มอาการที่สามารถพบได้นานตั้งแต่ระดับสัปดาห์หรือระดับเดือนหลังติดเชื้อไวรัส และถึงแม้ตอนแรกจะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการก็สามารถพบภาวะนี้ได้ โดยอาการที่พบค่อนข้างหลากหลาย

การรักษาภาวะโพสต์โควิด

ภาวะโพสต์โควิดจะต้องวินิจฉัยแยกออกจากโรคที่มีอันตรายอื่นหรือสาเหตุอื่นก่อน ควรปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล ซึ่งจะซักประวัติ วัดความดันโลหิต / ชีพจร เจาะเลือดตรวจ หรือเอกซเรย์ปอด โดยภาวะนี้มักดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น แต่ละโรงพยาบาลควรจัดทีมสหวิชาชีพติดตามอาการของผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว  การฉีดวัคซีนหลังติดเชื้อโควิดก็ทำให้ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งมีอาการดีขึ้น

และวิธีการป้องกันภาวะโพสต์โควิดที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อโควิด-19

ภาวะแทรกซ้อนของโควิด-19

ผลข้างเคียงจากโรคโควิด

ผู้ป่วยโควิด-19 อาจมีภาวะแทรกซ้อนหลายระบบ ได้แก่ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (ประมาณ 15% ของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ) ระบบหัวใจและหลอดเลือด ไตวายเฉียบพลัน ตับอักเสบเฉียบพลัน ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท / จิตใจ และภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด  

รวมทั้งกลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (Multisystem inflammatory Syndrome: MIS) เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ หรือ ‘แพ้ภูมิตัวเอง’ โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ถ่ายเหลว ไตวาย ช็อก หลังป่วยเป็นโควิด-19 และหายแล้วประมาณ 2-4 สัปดาห์ ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าภาวะแทรกซ้อนในระบบต่างๆ จะสามารถพบได้นานกี่เดือน

ผลข้างเคียงจากการรักษาโควิด-19

บางอาการอาจคล้ายกับผลข้างเคียงจากการนอนโรงพยาบาลนานด้วยโรคอื่น ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงมักต้องรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต เมื่อพ้นระยะวิกฤตมาแล้วจะเกิดภาวะ ‘หลัง ICU’ (Post-intensive Care Syndrome: PICS) เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาวะเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู

เมื่อเป็นโควิด-19 จะมีปัญหากับอวัยวะใดบ้าง

แม้ว่าโรคโควิด-19จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับปอด แต่ก็สามารถเกิดอวัยวะอื่นๆซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะ ลองโควิด อวัยวะที่อาจจะกระทบได้แก่

  • หัวใจ จากการตรวจหัวใจหลังจากหายจากโรคโควิดหลายเดือน พบว่ามีการเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจแม้ว่าผู้ป่วยจะเป็นโควิดที่มีอาการน้อยซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย และโรคแทรกซ้อนในอนาคต
  • ปอด ปอดบวมในโรคโควิดจะทำให้เกิดังผืดซึ่งจะทำให้เกิดปัญหากับโรคปอดในอนาคต
  • สมอง โรคโควิด สามารถทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย โรคลมชัก โรค Guillain-Barre syndrome และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์กินสันและโรคสมองเสื่อม
  • ผู้ป่วยโรคโควิดทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดลิมเลือด ลิ่มเลือดขนาดใหญ่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หากลิ่มเลือดอุกกั้นหลอดเลือดเล็กจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับความเสียหาย นอกจากนั้นยังเกิดลิ่มเลือดใน ปอด เท้า ตับ ไต และทำให้มีการหลั่งสารออกจากผนังหลอดเลือดซึ่งจะเกิดปัญหาต่อตับและไตในอนาคต
  • ปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ และอ่อนเพลีย ผู้ป่วยที่รักษาในห้องผู้ป่วยหนัก และใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มนี้จะเกิดอาการ develop post-traumatic stress syndrome เกิดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล นอกจากนั้นยังเกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า chronic fatigue syndrome ซึ่งผู้ป่วยจะเกิดอาการอ่อนเพลีย นอนพักก็ไม่ดีขึ้นซึ่งจะส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิตและสภาพจิตใจ

 

สอบถามได้ที่นี่ เพิ่มเพื่อน

https://www.scientificamerican.com/article/a-tsunami-of-disability-is-coming-as-a-result-of-lsquo-long-covid-rsquo/

https://www.uclahealth.org/medical-services/long-covid

https://www.yourcovidrecovery.nhs.uk/what-is-covid-19/long-covid/

https://www.nhs.uk/conditions/coronavirus-covid-19/long-term-effects-of-coronavirus-long-covid/

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/infections-and-poisoning/coronavirus-covid-19/coronavirus-covid-19-longer-term-effects-long-covid

https://www.yourcovidrecovery.nhs.uk/what-is-covid-19/long-covid/

https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronavirus/in-depth/coronavirus-long-term-effects/art-20490351

https://www.medicalnewstoday.com/articles/long-covid#management
https://www.nhs.uk/conditions/coronavirus-covid-19/long-term-effects-of-coronavirus-long-covid/
https://www.bhf.org.uk/informationsupport/heart-matters-magazine/news/coronavirus-and-your-health/long-covid