ลูกดิ้น

ลูกดิ้นไม่ว่าจะเป็นคุณแม่คนใหม่หรือคุณแม่ที่เคยมีลูกแล้ว เมื่อตั้งครรภ์สู่ไตรมาสสองมักจะรอวันที่ลูกเริ่มดิ้น เป็นรู้สึกที่ประทับใจทั้งคุณแม่คนเก่าและคนใหม่ เมื่อลูกดิ้นครั้งแรกคุณแม่อาจจะแยกไม่ออกระหว่างเป็นก๊าซในท้องหรือลูกดิ้น แต่เมื่อผ่านไปคุณแม่จะเริ่มสังเกตเห็นถึงความแตกต่างของดิ้นกับแกสในท้อง

ลูกจะเริ่มดิ้นเมื่อไร

ปกติเด็กจะเริ่มเคลื่อนไหวเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 8-9 สัปดาห์ แต่เนื่องจากแขนขาเด็กมีขนาดเล็กคุณแม่อาจจะไม่รู้สึก เมื่อตั้งครรภ์ได้ 13-16 สัปดาห์ แต่สำหรับแม่มือใหม่อาจจะเริ่มรู้สึกเมื่อตั้งครรภ์ไปได้ 18-20 สัปดาห์ ดังนั้นคุณแม่ไม่ต้องไปกังวลว่าลูกดิ้นช้าเนื่องจากว่าระยะเวลาที่จะรู้ว่าลูกดิ้นในแต่ละคน ต่างกันมากโดยเฉลี่ยประมาณ 13- 25 สัปดาห์


ลูกดิ้น

ทำไมลูกถึงดิ้น

เมื่อเวลาผ่านไปเด็กก็จะเจริญเติบโตขึ้นมีการงอและยืดแขนขาทำให้คุณแม่รู้สึกว่าลูกถีบ ศอก หรือพลิกตัว เมื่อคุรแม่ตกใจลูกก็จะดิ้นตามอารมณ์หรือเสียงที่ดัง เมื่อคุณขยับ และลูกอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สบายลูกก็จะขยับตัว การรับประทานอาหารบางประเภทจะทำให้ลูกดิ้นมากขึ้น เมื่อคุณหลับคุณก็จะรู้สึกว่าลูกหลับด้วย

ลูกดิ้นบ่อยแค่ไหน

เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นคุณจะรู้สึกว่าลูกดิ้นบ่อยขึ้นและแรงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ไตรมาศ 3 การนับการดิ้นของลูกต้องนับเมื่อเริ่มเข้าสู่สัปดาห์ที่ 28 ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เริ่มแรก โดยการนับให้นับช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละวัน ให้นอนตะแคงซ้าย และให้นับว่าเด็กดิ้น 10 ครั้งใช้เวลานานเท่าใด

ลูกจะดิ้นบ่อยช่วงเวลาไหน

ลูกจะดิ้นบ่อยเมื่อเวลาที่คุณแม่รับอาหารโดยเฉพาะ อาหารที่หวาน อาหารที่เย็น หรือหลังจากที่คุณแม่มีกิจกรรม และประมาณสามทุ่มภึงตีหนึ่งเนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำ

วิธีการนับลูกดิ้น

การนับลูกดิ้นมีสำคัญมากเพราะจะเป็น ตัวช่วยประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์และเป็นการป้องกันเด็กตายในครรภ์มารดา ซึ่งการนับมีวิธีดังนี้

  1. ให้เริ่มนับลูกดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ  28 สัปดาห์
  2. ให้นับในช่วงที่คุณแม่จะสะดวกหรือว่าง ซึ่งวิธีการนับจะให้จำนวนลูกดิ้น 10 ครั้ง เป็นหลักจะไม่เจาะจงเวลา  การ นับจะนอนหรือนั่งก็ได้แล้วแต่สะดวก ถ้าอายุครรภ์มากๆ อาจจะให้นอนหงายไม่สะดวกก็ให้นอนตะแคงซ้ายก็ได้
  3. ให้ลงบันทึก วันที่/ เดือน /พศ. แล้วลงเวลาที่เริ่มนับไว้
  4. เริ่มนับการดิ้นของทารกในครรภ์ซึ่งจะหมายถึง การถีบ การเตะ  กระทุ้ง  โก่งตัว หมุนตัว แต่ถ้าเป็นการตอดต่อเนื่องยาวๆ หรือสะอึกไม่นับว่าเป็นการดิ้น โดยให้คุณแม่นับไว้ เมื่อครบ 10 ครั้งไว้ ให้ลงบันทึกเวลาที่ครบ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้น จนถึงเวลาสิ้นสุด

จะพบแพทย์เมื่อไร

  1. เมื่อคุณนับระยะเวลาดิ้นครบสิบครั้งเกิน 2 ชม ให้นับอีกครั้งหากการดิ้นของลูกยังใช้เวลาเกิน 2 ชม
  2. หรือเมื่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าระยะเวลาที่ใช้ในการดิ้นครบ 10 ครั้งนานขึ้น ถือว่าผิดปกติให้มาโรงพยาบาลทันที

เพราะคงจะเริ่มมีปัญหากับทารกในครรภ์ เช่น อาจจะมีสายสะดือพันคอ หรือ เด็กอาจจะเริ่มมีการขาดออกซิเจนได้. 

ตัวอย่างตารางสำหรับการบันทึก

  อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
วันที่/เดือน 12/3            
เวาลาที่เริ่มนับ 9.04            
เวลาที่สิ้นสุด 9.30            
ใช้เวลาในการดิ้น 10 ครั้ง 26            

ตัวอย่างสำหรับความผิดปกติที่ต้องไปโรงพยาบาล

วันอาทิตย์ ใช้เวลา 32 นาที

วันจันทร์ ใช้เวลา 45 นาที

วันอังคาร ใช้เวลา 75 นาที

วันพุธใช้เวลา 2 ชม 15 นาที

หากเป็นแบบนี้คุณแม่ควรไปพบแพทย์

กลับหน้าแรก

เพิ่มเพื่อน