อาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง
ประเทศไทยได้มีการแนะนำอาหารหรือสมุนไพรเพื่อลดระดับความดันโลหิต เช่นการรับประทานกระเทียม ใบขึ่นช่าย หญ้าหนวดแมว หรืออีกหลายอย่าง แต่ยังไม่ได้มีการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อเร็วๆนี้ได้มีการวิจัยบทบาทของอาหารต่อความดันโลหิตที่เรียกว่า The Approaches Dieatary Stop Hypertension เป็นการศึกษาแผนการรับประทานอาหารร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ ซึ่งให้ผลดีต่อการรักษาความดันโลหิตสูง และยังป้องกันความดันโลหิต บทความนี้เป็นของต่างประเทศผู้เขียนจะไม่เปลี่ยนแปลงสูตรอาหารที่กล่าวไว้ ผู้อ่านต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้สอดคล้องกับผลการวิจัย
ความดันโลหิตคืออะไร
ความดันโลหิตเป็นแรงดันของเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด จะวัดออกมาเป็นค่า มิลิเมตรปรอทการวัดความดันจะวัดออกมาสองค่าคือค่าตัวบนหรือที่เรียกว่า Systolic เป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว ส่วน Diastolic เป็นความดันตัวล่างเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราจะขึ้นๆลงๆ เวลาหลับความดันโลหิตจะต่ำกว่าเวลาตื่น เวลาตกใจ กลัว ดีใจ เครียด เหนื่อย ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ความดันโลหิตที่สูงไม่ยอมลงเรียกความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงจะมีผลเสียต่อร่างกายคือ คนที่เป็นความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการ แต่หากไม่รักษาจะทำให้หัวใจโตและหัวใจวายในที่สุด ผลจากความดันก็ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างไม่พอก็ทำให้เกิดโรคกับอวัยวะนั้น เช่นโรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ เราสามารถที่จะควบคุมความดันโลหิตโดยวิธีการดังนี้
ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยผัก ผลไม้ และมีเกลือน้อย
ดื่มสุราให้ลดลง
รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
ตารางแสดงระดับความดันโลหิตของผู้ใหญ่ |
||||
ระดับความรุนแรง |
ความดันSystolic มม.ปรอท |
Diastolic มม.ปรอท |
วิธีการปฏิบัติตัว | |
ปกติ | <120 | และ | <80 |
ความดันโลหิตของคุณปกติ |
Prehypertension | 120-139 | หรือ | 80-89 |
ความดันโลหิตของคุณอาจจะมีปัญหา ให้คุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพ งดสุรา |
Hypertension | >140 | หรือ | >90 |
ปรึกษาแพทย์ |