การทำกายภาพ Rehabilitation

 เป้าหมายสำคัญคือเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองและมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด 

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่สามารถให้การฟื้นฟูได้ดีเป็นผู้ป่วยที่สามารถที่จะรับรู้เข้าใจ และติดต่อคำบอกเล่าเพราะการเรียนรู้เป็นขั้นตอนการฝึกที่สำคัญของการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่มีผลการฟื้นฟูดีได้ผลดีจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. ข้อหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและสังคมที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  2. ข้อสองมีการฟื้นตัวของความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เร็วภายในหนึ่งถึงสองสัปดาห์
  3. ข้อสามมีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อลำตัวสะโพกหัวไหล่โดยเร็วโดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนต้นได้ภายในสองถึงสี่สัปดาห์
  4. ข้อที่สี่มีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อแต่ละมัดโดยเร็วสามารถควบคุมกล้ามเนื้อแต่ละมัดได้ภายในสี่ถึงหกสัปดาห์
  5. ข้อที่ห้ามีอารมณ์ดีไม่มีอาการซึมเศร้า
  6. ข้อที่หกมีการรับรู้ที่ดี

ผู้ป่วยที่ผลการฟื้นฟูได้ผลไม่ดีจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. ข้อที่หนึ่งผู้ป่วยอยู่ในระยะโคม่านานเกินไป
  2. ข้อที่สองอยู่ในระยะปวกเปียกนานเกินสองเดือน
  3. ข้อที่สามมีอาการเกร็งหรืออ่อนแรงกล้ามเนื้อต้นขา
  4. ข้อที่สี่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการขับถ่าย
  5. ข้อที่ห้าผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
  6. ก็ติหกผู้ป่วยที่มีความบกปล่องทางสายตา
  7. ข้อที่เจ็ดผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า
  8. ข้อที่แปดผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า
  9. ข้อที่เก้าผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมด้วยเช่นโรคหัวใจ

 

การจัดท่านอนของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

 

 

 

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่ไม่ได้มีการจัดถ้านอนมักจะนอนในสภาพขาแขนและสะโพกงอ เมื่อผู้ป่วยดีขึ้นจะไม่สามารถใช้แขนและขาข้างนั้นได้อย่างเต็มที่เนื่องจากข้อติด

การจัดท่านอนหงาย

  • ศีรษะหนุนหมอนใบเล็กๆ ไม่ให้ศีรษะยกสูงไป

  • จัดให้ศีรษะหมุนไปด้านที่อัมพาต

  • จัดตัวให้ตรง อย่าให้เอียงไปด้านที่เป็นอัมพาต

  • ข้อสะโพก ใช้หมอนบางๆหนุนหรือวางใต้สะโพกข้างที่อัมพาตเพื่อกันไม่ให้เชิงกรานแบะออกไปด้านหลัง

  • ข้อเข่าอยู่ในท่าเหยียดตรง หรืองอเล็กน้อย

  • ข้อเท้าใช้ foot board เพื่อป้องกันไม่ให้ปลายเท้าตก




ลักษณะของแขนสามารถจัดวางได้ 3 แบบ


มือและข้อมือควรจัดดังรูป 


การจัดท่านอนตะแคงข้างดี

  • นอนตะแคงเต็มตัว

  • ศีรษะโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย

  • ลำตัวตรง

  • แขนข้างอัมพาตจัดให้ไหล่งุ้มไปทางด้านหน้า ใช้หมอนรองแขน มือวางบนหมอน


การจัดท่านอนตะแคงทับข้างที่เป็นอัมพาต

  • จัดศีรษะโน้มไปด้านหน้า

  • ลำตัวตรง

  • แขน ไหล่ ข้างที่เป็นอัมพาตห่อมาทางด้านหน้า ช่วงปลายแขนอยู่ในท่าหงายมือ

  • ขาด้านหลัง ข้างอัมพาตจับเหยียด ข้อสะโพกตรง เข่างอเล็กน้อย

  • ขาข้างดีอยู่บนงอไปด้านหน้า ใช้หมอนรองรับไว้


การจัดท่านอนคว่ำ

  • ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องหายใจ และสามารถนอนคว่ำได้ ควรจัดให้นอนคว่ำวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ใช้หมอนรองเข้าเท้าไว



การป้องกันข้อติด


รูปแสดงการทำ passive range of motion เพื่อป้องกันข้อไหล่ แขนติด



แสดงการบริหารบริเวณนิ้วมือ



การบริหารขา




การเคลื่อนไหวบนเตียง

เมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว ควรสอนให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองในการเปลี่ยนท่านอน เช่นจากท่านอนไปเป็นท่าตะแคง

การตะแคงไปข้างที่ดี

  • สอนให้จับแขนข้างอัมพาตวางไว้บนทรวงอกหรือหน้าท้อง

  • สอดปลายขาที่ดีใต้เข่าที่เป็นอัมพาต เลื่อนเท้าที่ดีลงไปถึงข้อเท้าที่เป็นอัมพาต

  • ใช้ขาที่ดีค่อยๆยกขาข้างอัมพาตขึ้น แล้วค่อยๆตะแคงไปด้านที่ดี

  • ยกศีรษะ ไหล่ และตะแคงตัวไปด้านดี โดยใช้แขนข้างที่ดียันลงบนที่นอน มือจับขอบที่นอนไว้

การตะแคงตัวไปข้างที่เป็นอัมพาต

  • ใช้มือข้างดี อ้อมมาจับราวขอบเตียงหรือขอบที่นอนด้านตรงข้าม

  • ใช้แขนที่ดีดึงตัวให้ตะแคงไปด้านที่เป็นอัมพาต