การฝากครรภ์ Prenatal care

 

คุณผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์เพื่อประเมินว่าจะต้องดูแลเป็นพิเศษอะไรบ้าง แพทย์จะซักประวัติโรคประจำตัวโรคทางกรรมพันธุ์ ยาที่ใช้ ประวัติการแท้ง การคลอดบุตรก่อนกำหนด เพื่อวางแผนการรักษา แต่ในความเป็นจริงมักมาฝากครรภ์ หลังจากทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรจะรีบฝากครรภ์เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์

เมื่อท่านฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะประวัติ การเจ็บป่วยในอดีตโรคประจำตัวประวัติการเจ็บป่วยของครอบครัว  ประวัติการเจ็บป่วยของสามี ยาที่ใช้อยู่หรือใช้เป็นครั้งคราว และทดสอบการตั้งครรภ์

การตรวจร่างกาย

แพทย์จะวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะตรวจภายในเพื่อวัดขนาดของมดลูกเพื่อประเมินอายุครรภ์ ตรวจวัดความกว้างของช่องเชิงกรานว่ากว้างพอจะคลอดเองได้หรือไม่ ตรวจหามะเร็งปากมดลูก

 

การตรวจวินิจฉัยอย่างอื่น

เมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรกแพทย์จะตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มคือ

  • CBC เพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และดูกลุ่มเลือด ถ้าซีดแพทย์จะให้ยาบำรุงเลือด
  • ดูกลุ่มเลือด Rhesus (Rh)
  • ตรวจดูว่ามีภูมิต่อโรคหัดเยอรมัน
  • ตรวจดูว่ามีภูมิต่อโรคไวรัสตับอักเสบบี
  • ตรวจดูว่ามีภูมิต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่นโรคซิฟิลิส
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อดูว่ามีโรคไต หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบหรือไม่ 

ตารางการตรวจสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์

อายุครรภ์ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเมื่อมีข้อบ่งชี้
ฝากครรภ์ครั้งแรก
8-18 สัปดาห์
24-48 สัปดาห์
32-36 สัปดาห์
การตรวจพิเศษ
  • HIV
  • Thalassemia
การตรวจขณะคลอด
  • การตรวจวัดการเต้นหัวใจเด็ก

 ควรแจ้งแพทย์กรณีใดบ้าง

  • เลือดหรือน้ำออกจากช่องคลอด
  • บวมหน้าและนิ้ว
  • ปวดศีรษะอย่างมาก
  • คลื่นไส้อาเจียนไม่หาย
  • มึนงง
  • ตามองไม่ชัด
  • ปวดท้องหรือตะคริวหน้าท้อง
  • ไข้สูงหนาวสั่น
  • เด็กดิ้นน้อยลง
  • ปัสสาวะออกน้อยลง
  • การเจ็บป่วยอื่นๆ

การตรวจต่าง ๆ

     

จำนวนวันหลัง ประจำเดือนครั้งสุดท้าย  

ระดับของฮอร์โมน hCG   

สิ่งที่เห็นได้จากการตรวจ อัลตร้าซาวด์

       34 +/- 2        914 +/- 106         ถุงน้ำคร่ำ
       40 +/- 3        3783 +/- 683         fetal pole
       47 +/- 6          3178 +/- 2898         หัวใจเด็กเต้น
ตารางที่ 1.2 แสดงผลการตรวจอัลตร้าซาวด์ในระยะต่างๆของการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์  

 

เพิ่มเพื่อน