น้ำเดินก่อนกำหนดหรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด

ปกติถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่จะมีอาการปวดท้องคลอดเล็กน้อยถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด หรือน้ำเดินก่อนกำหนดหมายถึงการที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ความถี่ของโรคพบได้ร้อยละ 3 ของการตั้งครรภ์ และเป็นสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนด การที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดอาจจะก่อนให้เกิดโรคแทรกซ้อนคือ เด็กไม่แข็งแรง ทารกติดเชื้อ มีการลอกของรกก่อนกำหนด หรืออาจจะรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิต

โครงสร้างของมดลูกขณะตั้งครรภ์

มดลูก

มดลูกของคนที่ตั้งครรภ์จะประกอบไปด้วย ชั้นที่สำคัญไล่จากนอดไปสู่ทารกดังนี้

  • ชั้นนอกสุดคือชั้นผิวหนัง
  • ต่อมาเป็นกล้ามเนื้อหน้าท้อ
  • ชั้นต่อมาเป็นมดลูก uterine wall
  • ชั้นต่อมาเป็นถุงน้ำคร่ำ amniotic sac
  • ต่อเป็นรก placenta
  • ต่อมาจะถึงตัวเด็ก fetus

การที่ถุงน้ำคร่ำแตกหมายถึงถุง amniotic sac แตกทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกจากมดลูก เชื้อโรคจากภายนอกจะมีโอกาศเข้าไปในมดลูก ซึ่งอาจจะทำให้มีการอักเสบของมดลูก และตัวเด็ก

การที่น้ำเดินก่อนกำหนดจะเกิดผลเสียอะไรบ้าง

การที่น้ำเดินก่อนกำหนดอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ

  • มีการกดสายสะดือทำให้ทารกขาดเลือดขาดออกซิเจน ซึ่งอาจจะทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์
  • เชื้อเร็ดรอดเข้าไปในมดลูกทำให้ทารกและแม่มีการติดเชื้อ
  • คลอดก่อนกำหนด ซึ่งหากอายุครรภ์น้อยๆอาจจะมีความพิการของปอดและสมอง

การที่มีน้ำเดินหมายถึงน้ำคร่ำหรือไม่

การที่มีน้ำเดินออกมาจากช่องคลอดไม่ได้หมายถึงว่าจะเป็นถุงน้ำคร่ำแตก จะต้องมีการตรวจยืนยันว่าใช่น้ำคร่ำหรือไม่ การตรวจดังกล่าวได้แก่

  • การวัดความเป็นกรดหรือด่าง
  • การนำน้ำนั้นมาทำ fern test หากให้ผลบวกแสดงว่าเป็นน้ำคร่ำ
  • การตรวจภายในเพื่อดูว่าน้ำที่เดินออกจากปากมดลูกหรือไม่ โดยการตรวจภายในและให้ผู้ป่วยไอ หากมีน้ำเดินจะพบว่าน้ำออกจากปากมดลูก
  • ตรวจดูปากมดลูกว่ามีการถ่างขยายมากน้อยแค่ไหน
  • การตรวจ Ultrasound

นอกจากน้ำเดินแล้วแพทย์จะต้องติดตามว่า มดลูกมีการบีบตัวหรือไม่ มีการตกเลือดหรือไม่ และมีไข้หรือไม่

สาเหตุของน้ำเดินก่อนกำหนด

สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบ แต่หากคุณมีภาวะดังต่อไปนี้คุณจะเสี่ยงต่อน้ำเดินก่อนกำหนด

  • สูบบุหรี่
  • มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธุ์
  • เคยน้ำเดินก่อนกำหนดมาก่อน
  • เคยมีประวัติตกเลือดขณะตั้งครรภ์มาก่อน

หากมีน้ำเดินก่อนกำหนดจริงจะต้องทำอย่างไรบ้าง

ในการรักษาหรือดูผู้ที่รที่มีน้ำเดินก่อนกำหนดจะต้องดูอายุครรภ์ว่าตั้งครรภ์กี่สัปดาห์ เพราะอายุครรภ์จะบอกว่าเด็กโตพอที่จะคลอดออกมาแล้วมีชีวิต

ผู้ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์

โดยปกติผู้ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาหฺ์และมีน้ำเดินก่อนกำหนด มักจะคลอดภายใน 1 สัปดาห์ เด็กที่คลอดมามักจะมีความผิดปกติของ โรคปอด การพัฒนาของสมอง มีพิการของสมอง ทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Potter's syndrome

ผู้ที่มีอายุครรภ์อายุ 24-31 สัปดาห์

ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์มักจะมีความพิการ หรืออาจจะเสียชีวิต ดังนั้นหากมีน้ำเดินก่อนกำหนดในช่วงอายุครรภ์ดังกล่าว แพทย์จะพยายามให้อายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์จึงจะให้คลอด แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และให้ยา steriod เพื่อเร่งให้ปอดเด็กแข็งแรง ระหว่างนี้แพทย์จะเฝ้าระวังดังต่อไปนี้

  • ติดตามเรื่องไข้หากคุณแม่มีไข้มากกว่า 38 องศาแพทย์จะเร่งให้คลอดเพราะว่านั่นหมายถึงมีการติดเชื้อของมดลูก
  • ติดตามการเต้นของหัวใจแม่และเด็ก หากหัวใจเด็กเต้นเร็วหรือช้า แสดงว่าเด็กเริ่มจะมีปัญหาจำเป้นต้องเร่งคลอด
  • การบีบตัวของมดลูก
  • อาการปวดท้องของคุณแม่ หากปวดมากขึ้นแสดงว่าอาจจะมีปัญหา
  • เจาะเลือดคุณแม่เป็นระยะว่ามีการติดเชื้อหรือไม่

หากมีอาการต่อไปนี้ควรจะเร่งการคลอด

  • มีการติดเชื้อของมดลูก chorioamnionitis
  • รกลอกตัว
  • เด็กมีสัญญาณชีพไม่ปกติ

ผู้ที่มีอายุครรภ์ 32-33 สัปดาห์

เด็กอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ซึ่งปอดเริ่มจะแข็งแรงสามารถคลอดออกมาได้ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องเจาะเอาน้ำคร่ำมาพิสูจน์ว่าปอดเด็กแข็งแรงพอ ดังนั้นเด็กในกลุ่มนี้สามารถคลอดออกมาได้ แต่ในกรณีที่ไม่ได้เจาะน้ำคร่ำว่าปอดแข็งแรงพอหรือไม่ แนะนำว่าให้ยา steroid และยาปฏิชีวนะ 48 ชมแล้วจึงไปคลอด

อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไป

หากอายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์ขึ้นไปแพทย์จะแนะนำให้เร่งคลอดเพราะหากไม่เร่งจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

เพิ่มเพื่อน