ภาวะโภชนาการและการตั้งครรภ์

 

ภาวะโภชนาการของแม่จะมีผลถึงทารก ดังนั้นคนที่วางแผนจะตั้งครรภ์จะต้องดูแลตัวเองเรื่องโภชนาการก่อนการตั้งครรภ์

กรดโฟลิก Folate

กรดโฟลิก Folate เป็นวิตามินที่มีความสำคัญในการสังเคราะห nucleic acids และ amino acids มีหลักฐานชัดเจนว่าการขาดกรดโฟลิกจะทำให้เกิดโรค neural tube defects และ spina bifida และปากแหว่งเพดานโหว่ การให้วิตามินเสริมดูเหมือนไม่ยาก แต่ข้อเท็จจริงพบว่าร้อยละ 50 ของหญิงตั้งครรภ์ไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน กรดโฟลิก

คำแนะนำ

  • คนท้องที่ไม่มีความเสี่ยงควรจะได้รับกรดโฟลิกปริมาณ 0.4 มก
  • คนท้องที่มีความเสี่ยง เช่นเคยคลอดบุตรที่มีความพิการควรจะได้รับวันละ 4 มก
  • แนะนำให้วิตามินเสริมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
  • รับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกสูงเช่น ผักขม ถั่วต่างๆข้าวโพด ส้ม หน่อไม้ฝรั่ง asparagus, broccoli,

วิตามินเอและอนุพันธ์

สำหรับผู้ที่ชอบรับประทานวิตามินหลายชนิดและปริมาณมากอาจจะทำให้ส่งผลต่อคุณแม่ และทารก วิตามินที่ละลายน้ำอาจจะไม่มีผลมาก ส่วนวิตามินที่ละลายในไขมันเช่น วิตามินเออาจจะทำให้เกิดความพิการกับทารก

  • วิตามินเอจะละลายในไขมันและถูกเก็บสะสมในไขมัน วิตามินเอระดับสูงเป็นระยะเวลานานจะทำให้ทารกพิการ ช่องสมองโต ศีรษะเล็ก หัวใจผิดปกติ
  • รับประทานวิตามินมาก (>15 mg/d)จะทำให้เนื้อเยื่อมีหินปูนเกาะ
  • รับประทานไอโอดินมากจะทำให้เกิดคอพอกเป็นพิษ
  • รับประทานสังกะสีมากกว่า 45 mg/d จะทำให้คลอดก่อนกำหนด
  • รับประทาน fluoride มากกว่า (>2 mg/L) ทำให้เกิด dental fluorosis ฟันของทารก

ธาตุเหล็ก Iron

ขณะตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากแม่จะต้องสร้างเม็ดเลือดแดงสำหรับการตั้งครรภ์ และการสร้างเม็ดเลือดของทารก ประมาณว่าคนตั้งครรภ์ต้องการธาตุเหล็กวันละ 7 mg/d โลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย อัตราการเสียชีวิตของทารกสูงขึ้น

คำแนะนำ

  • ควรจะมีการเสริมธาตุเหล็กตั้งแต่เดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์
  • ให้ธาตุเหล็กวันละ 30 มก
  • การให้ธาตุแคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยมจะลดการดูดซึมของธาตุเหล็ก

ผลต่อสุขภาพทารกจากรังสี | ผลกระทบจากโลหะหนัก | ยาฆ่าแมลงมีผลต่อทารกหรือไม่ | ผลกระทบจากสารเคมี | ผลกระทบจากยา | nutrition | สารเสพติด |

 

 

เพิ่มเพื่อน