ยาลดไขมัน Pravastatin

โรคไขมันในเลือดผิดปกติหรือ dyslipidemia เป็นโรคหนึ่งในกลุ่มโรค NCD เมื่อมีไขมันชนิดต่างๆ เหล่านี้ในเลือดผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือดมีการสะสมของไขมันในหลอดเลือด เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ซึ่งจะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองอุดตัน ไขมันในเลือดจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ โคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ หากค่าไขมันทั้งสองชนิดนี้สูงกว่าเกณฑ์ปกติก็ถือว่าเป็นโรคไขมันในเลือดผิดปกติ 

โคเลสเตอรอลในเลือดยังแบ่งได้อีกหลายชนิด แต่มีอยู่ 2 ชนิดที่ควรรู้จัก คือ LDL (low density lipoprotein) -cholesterol หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่าไขมันตัวร้าย เนื่องจากพบว่า LDL ที่มากเกินไปจะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบในหลอดเลือด นำไปสู่การสะสมของไขมันทำให้เกิดการอุดตันหลอดเลือดได้ ส่วนไขมันตัวดี หรือ HDL (high density lipoprotein) -cholesterol มีหน้าที่ทำความสะอาดหลอดเลือดจากการสะสมของโคเลสเตอรอลที่มากเกินไป จึงช่วยปกป้องหลอดเลือดจากกระบวนการอักเสบและการอุดตัน ดังนั้น หากมี LDL ในเลือดสูงกว่าปกติจะถือว่าผิดปกติ แต่หากมี HDL ในเลือดน้อยกว่าค่าปกติจึงจะถือว่าผิดปกติ 

Pravastatin จะออกฤทธิ์โดยการลดระดับไขมันเลว (LDL cholesterol) และเพิ่มระดับไขมันดี( HDLcholesterol) และยังช่วยลดระดับของ triglycerides ซึ่งเป็นไขมันที่เป็นอันตราย การลดระดับ LDL cholesterol และไขมัน triglycerides จะช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดในสมอง และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้

รูปแบบของยา

ยา Pravastatin มีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็น ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 10,20,40,และ 80 มิลลิกรัม/เม็ด

ขนาดของยา Pravastatin ที่ใช้ในการรักษา

ขนาดของยาที่คุณใช้ขึ้นอยู่กับสุขภาพ อายุ และยาอื่น ๆ ที่คุณกำลังรับประทานอยู่ แพทย์อาจให้เริ่มรับประทานยาจากขนาดต่ำก่อนแล้วจึงค่อยเพิ่มขนาดยาขึ้น คุณควรรับประทานยานี้ในเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน และอย่ารับประทานยามากกว่าหรือน้อยกว่าที่แพทย์สั่ง

ขนาดรับประทาน เช่น

  • ผู้ใหญ่อายุมากกว่า18 ปีขึ้นไป: รับประทาน 10 – 40 มิลลิกรัม วันละ1 ครั้งรับประทานยาก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ โดยขนาดรับประทานสูงสุดไม่เกิน 80 มิลลิกรัม/วัน
  • เด็กอายุ 8–13 ปี: รับประทาน 10 – 20 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
  • เด็กอายุ 14–18 ปี: รับประทาน 10 – 40 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
  • ผู้ป่วยต้องมารับการตรวจเลือด ดูระดับไขมันในเลือดตามแพทย์สั่งทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการรักษา

  • การปรับยาจะปรับทุก 4 สัปดาห์ หรือมากกว่า ขนาดของยาขึ้นกับระดับของไขมันในเลือด โรคประจำตัวผู้ป่วย ยาที่ผู้ป่วยรับประทาน

สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคไต ที่มีความรุนแรงโรคระดับปานกลางจนถึงขั้นรุนแรง แพทย์อาจเริ่มใช้ยานี้ในขนาดน้อยๆก่อน เช่น 10 มิลลิกรัม/วัน

ข้อบ่งชี้ในการให้ยา Pravastatin

ข้อห้ามการใช้ยา Pravastatin

  • แพ้ยา Pravastatin
  • ผู้ที่มีโรคตับกำเริบ
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ยานี้สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ หรือกำลังให้นมบุตร ยานี้สามารถซึมผ่านทางน้ำนมของมารดาและเข้าสู่ทารกได้

ข้อควรระวังการใช้ยา Pravastatin

  • ห้ามหยุดรับประทานหรือรับประทานยานี้ต่อเนื่องด้วยตนเอง การปรับเปลี่ยนขนาดรับประทานเอง จะส่งผลต่อการรักษา รวมถึงอาการข้างเคียงต่างๆที่อาจเกิดตามมา
  • ห้ามดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะที่ใช้ยานี้ ด้วยจะเป็นเหตุให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นมาก
  • หยุดการใช้ยานี้ทันหากมีอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง หรืออาการบวม ใบหน้า คอ ปากมีอาการบวม และรีบนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับและหรือโรคไต ด้วยอาจเป็นเหตุให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้สูงอายุ เพราะจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มวัยอื่น
  • ยา Pravastatin อาจจะทำให้เกิดอาการหลงลืม เมื่อหยุดยาอาการจะกลับปกติ
  • ยา Pravastatin อาจจะทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลเฉลี่ยสูงขึ้น
  • เมื่อให้ยา Pravastatin ในคนที่อายุมากกว่า 65 ปีจะเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อสลาย rhabdomyolysis
  • ผู้ที่มีโรคตับ และหรือโรคไตจะเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อสลาย

ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากแพทย์จ่ายยา pravastatin

  • โรคตับ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • ชัก
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • โรคไทรอยด์
  • โรคไต
  • กำลังวางแผนตั้งครรภ์
  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด
  • โรคประจำตัวเช่น โรคตับ โรคไต โรคต่อมไทรอยด์
  • ประวัติการดื่มสุรา

ผลข้างเคียงที่รุนแรงของยา pravastatin

หากคุณมีอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที

  • ปวดกล้ามเนื้อ, อ่อนแรงหรือปวดตามร่างกาย
  • มีไข้
  • อ่อนเพลีย
  • ตัวเหลืองตาเหลือง
  • คลื่นไส้
  • ปวดบริเวณท้องด้านบนขวา
  • อ่อนเพลียหรืออ่อนแรงอย่างรุนแรง
  • ปัสสาวะสีดำ
  • ช้ำหรือเลือดออกผิดปกติ
  • เบื่ออาหาร
  • มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด
  • มีลมพิษหรือผื่นคัน
  • หายใจหรือกลืนลำบาก
  • เสียงแหบ
  • คอ ใบหน้า ลิ้น ริมฝีปาก ตา มือ เท้า ข้อเท้าบวม

ปฏิกิริยาระหว่างยา pravastatin กับยาตัวอื่น

ห้ามให้ยา pravastatin ร่วมกับยา

  • gemfibrozil
  • red yeast rice

เกิดผลข้างเคียงรุนแรง ควรเลี่ยงไปใช้ยาอื่น

  • colchicine
  • cyclosporine
  • eltrombopag
  • eluxadoline
  • fenofibrate
  • fenofibrate micronized
  • fenofibric acid
  • gemfibrozil
  • ivacaftor
  • niacin

เกิดผลข้างเคียงให้ติดตามโดยใกล้ชิด

  • axitinib
  • bezafibrate
  • boceprevir
  • bosutinib
  • carbamazepine
  • caspofungin
  • cholestyramine
  • clarithromycin
  • clotrimazole
  • crizotinib
  • daclatasvir
  • daclizumab
  • daptomycin
  • darunavir
  • digoxin
  • eliglustat
  • erythromycin base
  • erythromycin ethylsuccinate
  • erythromycin lactobionate
  • erythromycin stearate
  • flibanserin
  • glyburide
  • indinavir
  • ivacaftor
  • ketoconazole
  • lanthanum carbonate
  • lomitapide
  • mesterolone
  • metyrapone
  • mifepristone
  • mipomersen
  • nelfinavir
  • ombitasvir/paritaprevir/ritonavir
  • ombitasvir/paritaprevir/ritonavir & dasabuvir
  • paclitaxel
  • pazopanib
  • pioglitazone
  • ponatinib
  • ranolazine
  • repaglinide
  • rifampin
  • ritonavir
  • rosiglitazone
  • sacubitril/valsartan
  • saquinavir
  • sildenafil
  • simeprevir
  • sofosbuvir/velpatasvir
  • tacrolimus
  • telithromycin
  • telmisartan
  • valsartan
  • vemurafenib