ยารักษาเบาหวาน Glibenclamide

ยานี้ลดน้ำตาลในเลือดโดยกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน และช่วยให้ร่างกายใช้อินซูลินอย่างมีประสิทธิภาพ

ให้หยุดยานี้และไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการแพ้ยารุนแรง

  • เป็นลมพิษ หายใจลำบาก บวมหน้า ปาก และคอ

    ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์

    • คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง
    • ซีด อ่อนแรง สับสน
    • มีจ้ำเลือด เลือดออกง่าย

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาGlibenclamide

ยานี้ใช้รักษาเบาหวานประเภท 2 (ไม่ต้องใช้อินซูลิน) ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ด้วยอาหาร

ขนาดและวิธีการใช้ยาGlibenclamide

  • ให้เริ่มขนาดน้อย 2.5-5 มก ต่อวันโดยรับประทานก่อนอาหารมื้อหลักโดยทั่วไปรับประทานวันละครั้งพร้อมอาหารเช้า หรือวันละ 2 ครั้ง พร้อมอาหารเช้าและเย็น (กรณีขนาดรับประทานต่อวันสูง)
  • สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลต่ำจะให้ขนาด 1.25 มก
  • การปรับยาให้ปรับเพิ่มไม่เกิน 2.5 มกในแต่ละสัปดาห์
  • ขนาดยาไม่ควรเกิน 20 มกต่อวัน
  • ยานี้มีขายในรูปแบบยาเม็ดขนาด 5 มก.
  • ควรพบแพทย์ตามนัด โดยเฉพาะใน 2-3 สัปดาห์แรก อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาให้เหมาะสม
  • การเลื่อนเวลา หรืองดรับประทานอาหาร หรืออกกำลังกายหักโหมเกินปกติ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกิดอาการหน้ามืด เป็นลมได้
  • เมื่อรับประทานยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หน้าแดง เหงื่อแตก หายใจหอบและเร็ว ปวดศีรษะหรือคลื่นไส้ และอาจทำให้ควบคุมน้ำหนักยาก

ข้อห้ามในการให้ยาGlibenclamide


ผลข้างเคียงของยาGlibenclamide

ผลต่อระบบโลหิต

พบน้อยอาจจะรุนแรงเสียชีวิตได้ ผลข้างเคียงที่พบได้แก่ เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ โลหิตจาง ซึ่งจะมีอาการ จ้ำเลือด เลือดออกง่ายเช่นเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน เป็นหวัดง่าย

ผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน

แพ้ยาทำให้เกิดอาการหอบหืด ริมฝีปาก คอ ลิ้นบวม

ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ

ผลต่อการมองเห็น

การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลอย่างรวดเร็วอาจจะทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว

ผลต่อระบทางเดินอาหาร

อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน รู้สึกจุกเสียดแน่นท้อง อาจจะท้องร่วง

ผลต่อตับ

อาจจะทำให้เกิดตับอักเสบ เมื่อหยุดยาอาการจะดีขึ้น

ผลต่อผิวหนัง

อาจจะเกิดแพ้ยาชนิดรุนแรง เช่น erythema multiforme, Stevens-Johnson syndrome, erythema nodosum and exfoliative dermatitis หรือที่รุนแรงน้อยได้แก่ ผื่นคัน แพ้แสงแดด


สิ่งที่ต้องระวังมิให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • ผู้ป่วยสูงอายุ ขาดอาหาร หรือช่วยตัวเองไม่ได้กลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ออกกำลังกายมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ผู้ป่วยที่ไตวาย
  • ผู้ที่มีโรคต่อมหมวกไต

การใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่น

ทำให้ยา Glibenclamide ออกฤทธิ์มากขึ้นซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ

ยาที่เสริมฤทธิ์ได้แก่ ยารักษาโรคติดเชื้อ (เช่น: chloramphenicol, fluconazole, miconazole, sulphonamides ),ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID (เช่น.:phenylbutazone, salicylates),ยาต้านการแข็งตัวของเลือด warfarin ,ยาลดไขมัน (เช่น.clofibrate), ยาต้านซึมเศร้า(monoamine oxidase inhibitors, doxepin, nortriptyline), ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE-inhibitors เช่น captopril, enalapril,ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร H2- blockers, cimetidine, ranitidine,


เมื่อเกิดอาการข้างเคียงควรทำอย่างไร

  • อาการข้างเคียงที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติมีดังนี้: ปวดศีรษะ เหงื่อแตก สั่น กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว อ่อนเพลีย ปากหรือลิ้นชา สับสน ตาพร่า หากมีอาการดังกล่าวควรดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำหวาน หรืออมลูกกวาดหรือน้ำตาล และปรึกษาแพทย์
  • หากมีอาการจะเป็นลม ควรขอคนนำส่งแพทย์หรือโรงพยาบาลทันที
  • หากมีอาการต่อไปนี้ ได้แก่ มีผื่นคันหรือแดง ผิวไหม้แดดผิดปกติ ตาหรือผิวมีสีเหลือง อุจจาระสีซีด ปัสสาวะสีเข้ม มีไข้ เจ็บคอ ควรพบแพทย์ทันที

ข้อควรระวัง

  • ควรบอกแพทย์หรือเภสัชกรว่า กำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง
  • มีครรภ์หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร
  • มีโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคต่อมไทรอยด์
  • หากเกิดตั้งครรภ์ในระหว่างใช้ยา ให้หยุดยา และพบแพทย์ทันที

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์

สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท C